[videojs mp4=”http://122.155.92.12/centerapp/UploadFiles/Video/2559/08/18/Mobile/VNOHT590818001015701_18082016_022056.mp4″ width=”640″ height=”360″ autoplay=”true” preload=”true” loop=”true”]
แม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้น เปลี่ยนเป็นสีแดงขุ่น ทำให้ปลาตายจำนวนมาก
หลังจากที่มีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้นวัดได้ที่ระดับ 10.90 เมตร แม้ว่าน้ำระดับนี้จะยังไม่ถึงขั้นวิกฤติแต่น้ำฝนก็ได้กัดเซาะหน้าดินและดินริมตลิ่งพัดพามากับตะกอนดินไหลลงมาสู่น้ำโขงทำให้น้ำโขงมีสีแดงขุ่นเมื่อน้ำเปลี่ยนสีกะทันหันได้ส่งผลกระทบอย่างแรงต่อเกษตรกรที่เลี้ยงปลานิลในกระชังในแม่น้ำโขง สภาพน้ำที่เปลี่ยนสีอย่างกะทันหันทำให้ปลาไม่คุ้นเคยกับน้ำโดยเฉพาะปลาโตที่เตรียมจับขาย ปลาปรับสภาพไม่ทันประกอบกับมีตะกอนดินมาติดที่บริเวณเหงือก ของปลาทำให้ระบบหายใจไม่สะดวกจึงเกิดการน๊อคน้ำตายเป็นจำนวนมาก อีกทั้งน้ำโขงไหลเชี่ยวแรง ปลาเริ่มทยอยตายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆซึ่งปลาล็อตนี้เกษตรกรเลี้ยงไว้รอจับขายช่วงปีใหม่หวังทำกำไรเมื่อปลาต้องมาตายลงอย่างกระทันหันทำให้เกษตรกรต้องขาดทุน
นายวัชระ อุ่นใจ ชาวบ้านพันลำเจ้าของกระชังปลา เล่าว่าตนเองเลี้ยงปลาไว้นิลจำนวน 30 กระชัง/ละ 1,000 ตัวมีทั้งปลาขนาดเล็กไปจนถึงปลาที่โตเต็มที่ขนาดน้ำหนัก 8 ขีดถึง 1 กิโลกรัม พร้อมที่จะจับขายกิโลกรัมละ 65-70 บาท แต่ก็มาเจอกับสภาพน้ำโขงที่สูงขึ้นกะทันหันทำให้ปลาตายไปแล้วกว่า 3 ตันหรือราว 3,000 กิโลกรัมคิดเป็นเงินก็ราว 2 แสนบาท ปลาที่ตายก็นำมาทำปลาร้าไว้ขายหรือไม่ก็จำหน่ายในราคาถูกให้กับชาวบ้านเพื่อลดการขาดทุน ส่วนปลาที่เหลืออยู่ก็ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
ด้านนายสุวิทย์ คชสิงห์ ประมงจังหวัดบึงกาฬ ได้นำเจ้าหน้าที่จากสำนักงานประมงจังหวัดบึงกาฬลงพื้นที่ตรวจวัดคุณภาพของน้ำและวัดค่าความเป็นกรดด่าง พบว่าคุณภาพเป็นปกติ ส่วนสาเหตุที่ทำให้ปลาตายน่าจะมาจากปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เฉลี่ยวันละประมาณ 1 เมตรและมีสีแดงขุ่น มีตะกอนดินเป็นจำนวนมากไหลเข้ามาอุดที่เหงือกของปลาทำให้ระบบการหายใจของปลาติดขัดทยอยตายขึ้นมาเรื่อยๆ ซึ่งก็ได้ให้คำแนะนำแก่เกษตรกรโดยให้งดอาหาร งดปริมาณการเลี้ยงลง เพิ่มอ๊อกซิเจนให้กับปลาให้มากขึ้น และหากน้ำโขงลดลงภายใน 2-3 วันนี้ ก็จะสามารถลดการตายของปลาได้มากขึ้น