LINE : ติดต่อผู้ดูแล

ยินต้อนรับเว็บไซต์ข่าวสารเพจข่าวท้องถิ่นบึงกาฬ

วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน 2024
ข่าวเด่นบึงกาฬ

มหาดไทยสั่ง 4 จังหวัดคุมเข้ม”ไวรัสซิกา”เขตพื้นที่สีแดงรวมจังหวัดบึงกาฬ

Nation TV – เว็บไซต์สถานีข่าวอันดับ 1 ของเมืองไทย “ปลัดก.มหาดไทยทำหนังสือถึงผู้ว่าฯ 4 จังหวัดทั้งจันทบุรี เพชรบูรณ์ บึงกาฬและเชียงใหม่ ให้ประสานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด พร้อมสั่งให้ทุกอำเภอจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิการะดับอำเภอ หลังสหภาพยุโรปชี้สถานการณ์ไวรัสซิกาในไทยอยู่ระดับสีแดงผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 26 ส.ค.2559 นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทยได้ทำหนังสือด่วนที่สุดถึงผู้ว่าราชการจ.จันทบุรี เพชรบูรณ์ บึงกาฬและเชียงใหม่ มีใจความว่า ด้วยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหภาพยุโรปเผยแพร่ข้อมูล ณ วันที่ 19 ส.ค.2559 ในเวบไซต์ระบุว่าสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสซิกาของประเทศไทยอยู่ในระดับสีแดงคือ มีการแพร่กระจายของโรคกว้างขวางในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา กระทรวงมหาดไทยจึงขอให้สั่งการให้จังหวัดสนับสนุนกระทรวงสาธารณสุขในการป้องกันและแก้ปัญหาโรคดังกล่าวโดยให้จังหวัดเร่งประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ให้ประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจและไม่ตื่นตระหนกโดยมีเนื้อหาสำคัญคือ ป้องกันด้วยการไม่ให้ยุงกัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย แนะนำให้ผู้เดินทางไปประเทศที่มีการแพร่ระบาดป้องกันตนเองมิให้ยุงกัดโดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ระยะฟักตัว 3-12 วัน เฉลี่ย 4-7 วัน ร้อยละ 80 ไม่แสดงอาการ การสังเกตอาการเจ็บป่วยผู้ติดเชื้อ เช่น มีไข้ ผื่นแดง เยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ อ่อนเพลีย ปวด ศีรษะนอกจากนี้ ให้จังหวัดประสานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและสั่งให้ทุกอำเภอจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิการะดับอำเภอโดยให้มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนบุคลากร อุปกรณ์เครื่องพ่นหมอกควัน และการดำเนินการของทุกตำบล หมู่บ้านให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา และให้จังหวัดแจ้งศูนย์ระดับอำเภอบูรณาการความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคีต่างๆเช่น สถานศึกษา สถานพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรรม บุคลากรด้านสาธารณสุขผู้นำชุมชนอย่างต่อเนื่อง”

640_j5baafgcfgcbc6ab8ei5a

14067587_930984880357655_7282386531900360277_n

 

ไวรัสซิกา

ไวรัสซิกา หรือ ไข้ซิกา เป็นอีกหนึ่งโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ แม้จะยังไร้วัคซีนป้องกัน แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถหายได้เองภายใน 7 วัน ที่ต้องระวังคือเด็กทารกที่หากติดเชื้อแล้วอาจทำให้มีศีรษะเล็กกว่าปกติ

ถ้าว่ากันถึงภัยจากยุงลายที่เรารู้จักกันดีอย่างไข้เลือดออกแล้ว ยังมีอีกโรคหนึ่งชื่อ “ไวรัสซิกา” ที่เราควรรู้จักไว้ เพราะในช่วงปี 2558 โรคนี้ได้ระบาดหนักในแถบลาตินอเมริกา โดยเฉพาะประเทศบราซิลที่การระบาดรุนแรงจนต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และสถานการณ์ยังรุนแรงไม่หยุด ทำให้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศให้การระบาดของไวรัสซิกา เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ

ขณะที่ประเทศไทยก็พบผู้ติดเชื้อ แม้จะยังไม่ถึงขั้นมีการระบาด แต่กระทรวงสาธารณสุขก็ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสซิกาเป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ ดังนั้นได้เวลาแล้วที่เราควรจะทำความรู้จักกับเจ้าเชื้อไวรัสซิกากันแบบจริงจัง แม้จะยังไม่ใช่เรื่องใกล้ตัว แต่ก็ไม่ควรละเลยด้วยประการทั้งปวงค่ะ
ไวรัสซิกา โรคอันตรายไร้วัคซีนป้องกัน

ไวรัสซิกา คืออะไร ?

ไวรัสซิกา หรือไข้ซิกา เป็นเชื้อไวรัสในตระกูลเฟลวิไวรัส (flavivirus) มีลักษณะคล้ายคลึงกับ ไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้เลือดออก รวมทั้งไวรัสเวสต์ไนล์ที่เป็นสาเหตุของไข้สมองอักเสบ และเชื้อไวรัสไข้สมองอักเสบเจอีซึ่งทั้งหมดล้วนมียุงลายเป็นพาหะ เชื้อไวรัสซิกาถูกค้นพบครั้งแรกจากในน้ำเหลืองของลิงวอก ที่ถูกนำมายังป่าซิกาในประเทศยูกันดา เพื่อศึกษาไข้เหลือง เมื่อปี พ.ศ. 2490 และพบในคนเมื่อปี พ.ศ. 2511 ในประเทศไนจีเรีย เชื่อไวรัสซิกาพบได้ในประเทศแถบทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกา ทวีปเอเชียใต้ และหมู่เกาะในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก

ไวรัสซิกา โรคอันตรายไร้วัคซีนป้องกัน

 

ไวรัสซิกา กลุ่มเสี่ยงคือใคร

กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสซิกามากที่สุดคือ กลุ่มสตรีตั้งครรภ์ ซึ่งหากติดเชื้อแล้วจะทำให้ทารกในครรภ์ได้รับอันตรายด้วย คือจะทำให้เด็กมีศีรษะเล็กกว่าปกติ ดังนั้นจึงมีคำเตือนหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรเดินทางไปในประเทศที่มีการระบาดของโลก หรือหากเป็นประชากรในประเทศที่มีการระบาดก็ขอให้ชะลอการตั้งครรภ์ออกไปก่อน แต่หากหญิงตั้งครรภ์มีอาการไข้ ผื่นขึ้น ตาแดง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ต้องรีบพบแพทย์ เพื่อทำการเจาะเลือดตรวจหาเชื้อ 

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ป่วยที่มีไข้ออกผื่น กลุ่มเด็กทารกที่มีศีรษะลีบ และผู้ป่วยที่มีอาการปลายประสาทอักเสบ ก็ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงของโรคนี้

ไวรัสซิกา ติดต่อได้อย่างไร

ไวรัสซิกาเป็นเชื้อไวรัสที่มียุงลายเป็นพาหะ ดังนั้นการติดต่อจึงมาจากการถูกยุงที่มีเชื้อกัด นอกจากนี้ยังอาจติดต่อได้ทางเลือด หรือแพร่จากมารดาที่ป่วยสู่ทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตามในตอนแรกยังไม่มีรายงานว่าพบการแพร่เชื้อจากคนสู่คน กระทั่งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา ยืนยันว่า พบผู้ติดเชื้อไวรัสซิกาจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อที่เดินทางกลับมาจากประเทศที่ไวรัสชนิดนี้ระบาด นั่นแสดงว่าโรคนี้สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์

ไวรัสซิกา อาการเป็นอย่างไร

องค์การอนามัยโลกระบุว่า มีผู้ติดเชื้อราว 1 ใน 4 ที่จะแสดงอาการออกมาให้เห็นหลังได้รับเชื้อ ซึ่งจะปรากฏอาการคล้ายคลึงกับอาการของโรคไข้เลือดออก ได้แก่ มีผื่นแดงขึ้นตามตัว ไข้ขึ้นสูง เยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ รู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว และปวดหัว แต่อาการเหล่านี้สามารถทุเลาลงภายในเวลา 2-7 วัน หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที ไม่รุนแรงเท่าโรคไข้เลือดออก

แต่ถ้าหากปล่อยไว้ อาการอาจจะรุนแรงจนถึงขั้นทำให้ระบบการทำงานของสมองผิดปกติได้ ทั้งนี้หากเป็นผู้ป่วยหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ เชื้อไวรัสดังกล่าวอาจจะทำให้เกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์ ซึ่งจะทำให้ทารกมีความผิดปกติที่ศีรษะ โดยจะมีกะโหลกศีรษะและสมองที่เล็กกว่าปกติ

ภาพจาก paho.org

ไวรัสซิกา รักษาอย่างไร

แม้จะเป็นโรคที่ไม่รุนแรง แต่โรคไวรัสซิกา ก็ยังเป็นโรคที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน หรือวิธีการรักษาที่แน่ชัด ทำได้แค่เพียงรักษาตามอาการเช่นเดียวกับโรคไวรัสอื่น ๆ ที่มียุงลายเป็นพาหะ ดังนั้นผู้ป่วยควรพักผ่อนมาก ๆ และดื่มน้ำให้เพียงพอ ทานยาตามแพทย์สั่ง นอกจากนี้ก็ยังควรระมัดระวังไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่ไม่พึงประสงค์อื่น ๆ อีกด้วย

ไวรัสซิกา ป้องกันได้อย่างไร

วิธีป้องกันที่ดีที่สุดของโรคไวรัสซิกา หรือไข้ซิกาก็คือพยายามอย่าให้ยุงกัด อีกทั้งยังควรกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้สิ้นซาก เพื่อเป็นการตัดวงจรการขยายพันธุ์และป้องกันโรคที่อาจมากับยุงลายนอกเหนือไวรัสซิกาได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคไข้เหลือง โรคไข้เวสต์ไนล์ และโรคชิคุนกุนยา นอกจากนี้ถ้าอยากทราบวิธีป้องกันไม่ให้ยุงกัดด้วยวิธีธรรมชาติละก็ลองตามไปอ่านที่นี่ได้เลย 12 วิธีป้องกันยุงกัดส่งตรงจากธรรมชาติ ปราศจากสารเคมี

ไวรัสซิกา โรคอันตรายไร้วัคซีนป้องกัน

สถานการณ์ของไวรัสซิกาในต่างประเทศ

จากรายงานของขององค์การอนามัยโลกพบว่าเชื้อไวรัสซิกาได้ระบาดในแถบทวีปอเมริกาใต้อย่างหนักมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 โดยเฉพาะในประเทศบราซิลและโคลอมเบีย ซึ่งประเทศบราซิลถือเป็นประเทศที่มีการระบาดหนักที่สุดจนถึงขั้นต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน หลังพบเด็กทารกแรกเกิดติดเชื้อและมีความผิดปกติทางสมองเกือบ 4 พันราย ส่วนในประเทศโคลอมเบียมีการคาดการณ์ว่าการระบาดของไวรัสซิกาอาจทำให้มีผู้ป่วยถึง 600,000-700,000 คน ทางกระทรวงสาธารณสุขโคลอมเบียจึงออกประกาศแนะนำให้สตรีเลื่อนการตั้งครรภ์ออกไป 6-8 เดือนเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อไวรัสดังกล่าว

ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขของสหรัฐอเมริกา ก็วิตกกังวลกับสถานการณ์การระบาดดังกล่าว จึงออกประกาศเตือนให้หญิงที่ตั้งครรภ์และบุคคลทั่วไปเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรค

ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศให้การระบาดของไวรัสซิกา เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ โดย แพทย์หญิงมาร์กาเร็ต ชาน ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ระบุว่า การประกาศครั้งนี้เพื่อทำให้นานาชาติร่วมมือในการปรับปรุง และส่งเสริมการตรวจหาผู้ติดเชื้อ อีกทั้งเพื่อให้เกิดการเร่งมือด้านการพัฒนาวัคซีนและการวินิจฉัยโรคที่ดีกว่าเดิม แม้ยังไม่จำเป็นต้องออกข้อจำกัดด้านการค้าและการเดินทาง

          ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก ระบุด้วยว่า การประกาศภาวะฉุกเฉินครั้งนี้สมเหตุสมผลแล้ว จากเหตุผลทั้งความเร็วของการระบาดของเชื้อไวรัสที่มียุงลายเป็นพาหะชนิดนี้ และข้อสงสัยที่ว่า มันอาจมีความเชื่อมโยงกับการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากของเด็กทารกที่เกิดมาพร้อมภาวะศีรษะเล็กในพื้นที่ที่ไวรัสนี้แพร่กระจาย ซึ่งการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ เป็นไปตามคำแนะนำของเหล่าคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญอิสระขององค์การอนามัยโลก

          สำหรับประเทศที่มีการระบาดของไวรัสซิกาตามรายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค หรือ CDC (Centers for Disease Control and Prevention) ประเทศสหรัฐอเมริกา (ข้อมูล ณ วันที่ 26 พฤษภาคม 2559) มีทั้งหมด 48 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในทวีปอเมริกา ทั้งอเมริกาเหนือ อเมริกากัน อเมริกาใต้

ไวรัสซิกา โรคอันตรายไร้วัคซีนป้องกัน

สถานการณ์ของไวรัสซิกาในประเทศไทย

ถ้าได้ติดตามข่าวคงพอทราบว่า เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 กองควบคุมโรคของไต้หวัน ได้ออกมาประกาศว่าพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิกา 1 ราย เป็นชายไทยที่เดินทางเข้าไปทำงานในไต้หวันผ่านทางสนามบินนานาชาติเถาหยวนเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2559 โดยได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสซิกาหลังจากเจ้าหน้าที่สนามบินพบว่าชายดังกล่าวมีไข้สูงผิดปกติจึงนำตัวไปตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยอย่างละเอียด ส่วนผู้ร่วมเดินทางมาด้วยกันอีก 2 คน เมื่อตรวจแล้วก็ไม่พบเชื้อดังกล่าวแต่อย่างใด

ในส่วนของประเทศไทยเอง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า จริง ๆ แล้วไวรัสซิกาสามารถพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย โดยพบรอยโรคมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 แต่มาพบผู้ป่วยรายแรกเมื่อปี พ.ศ. 2555 และตั้งแต่นั้นมาก็พบผู้ป่วยเฉลี่ยปีละ 2-5 ราย ซึ่งผู้ป่วยทุกรายหายได้เอง และยังไม่เคยมีรายงานการติดเชื้อไวรัสซิกาในหญิงตั้งครรภ์ จนทำให้เด็กเกิดความพิการ

จากนั้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559 กรมควบคุมโรคแถลงว่าพบผู้ป่วยชาย 1 ราย แต่เข้ารับการรักษาจนหายดีแล้ว อย่างไรก็ตามแม้จะยังไม่พบการระบาดในประเทศไทย แต่กระทรวงสาธารณสุขก็ได้ออกประกาศจัดให้ “โรคติดเชื้อไวรัสซิกา” เป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ

ต่อมาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2559 ได้พบผู้ป่วยไวรัสซิกาที่ ต.เชียงดา อ.สร้างคอม จ.อุดรธานี หลังเดินทางกลับมาจากไต้หวัน

          ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก เพราะถือเป็นสถานการณ์ปกติ โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยไวรัสซิกาสามารถหายได้เองใน 7 วัน ส่วนที่เกิดการระบาดจนองค์การอนามัยโลกออกมาประกาศว่าเป็นภาวะฉุกเฉิน เพราะเด็กที่คลอดออกมามีความพิการทางสมอง จึงต้องออกประกาศดังกล่าว โดยกำชับให้มีการดูแลหญิงตั้งครรภ์เป็นพิเศษแล้ว

นอกจากนี้ยังไม่ต้องกังวลว่าโรคนี้จะมาในลักษณะข้ามประเทศ หรือ Case Import เพราะในประเทศก็พบเจอได้ เพียงแต่ควบคุมได้

ได้รู้จักกันมากขึ้นแล้วกับโรคไวรัสซิกา คราวนี้ก็อยู่ที่ตัวของเราเองนี่ล่ะค่ะที่จะต้องดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองให้ดี ยิ่งถ้าหากใครที่ต้องเดินทางไปในประเทศที่มีการระบาดก็ควรใส่ใจสุขภาพให้มาก ไม่อยากเจ็บป่วยทีหลังก็อย่าชะล่าใจนะคะ

 
 
อัพเดทข่าว ไวรัสซิกา ทั้งหมดคลิกเลย
 

 ***หมายเหตุ : อัพเดทข้อมูลล่าสุดเมื่อเวลา 11.11 น. วันที่ 30 พฤษภาคม 2559

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
กรมควบคุมโรค
Taiwan Centers for Disease Control
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
krobkruakao.com
World Health Organization
paho.org

‘>

ข่าวเด่นบึงกาฬ ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด