[videojs mp4=”http://122.155.92.12/centerapp/UploadFiles/Video/2559/09/28/Mobile/VNOHT590928001010801_28092016_021209.mp4″ width=”640″ height=”360″ autoplay=”true” loop=”true”]
วันนี้ 28 กันยายน เมื่อเวลา 07.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.บึงกาฬ ว่าเกษตรกรหลายตำบลที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงได้ปรับพื้นดินริมตลิ่งเพื่อปลูกมันแกวหรือมันเพา หลังระดับน้ำโขงลดช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมของทุกปี โดยใช้เวลาปลูกประมาณ 3 เดือน ก็สามารถเก็บผลผลิตออกขายทำเงินช่วงหน้าหนาวได้ มันเพาหรือมันแกวถือเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง ที่ทำเงินหมุนเวียนปีละหลายล้านบาท ซึ่งการจำหน่ายจะขายส่งให้พ่อค้าคนกลาง บางส่วนยังขายตามตลาดริมทาง (มันแกว) หรือชาวบ้านเรียกกันว่ามันเพา เป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของชาวจังหวัดบึงกาฬ ปลูกง่าย เหมาะที่จะปลูกในที่ดินร่วนปนทรายแถบริมฝั่งแม่น้ำโขง โดยเฉพาะในฤดูแล้ง เนื่องจากมีความชื้น ไม่ต้องรดน้ำ ไม่ต้องดูแล หากปีไหนน้ำไม่ท่วมริมตลิ่ง ชาวบ้านจะปลูกหมุนเวียนได้ตลอดปี
ด.ต.นาวิน บรรเทา ผบ.หมู่ (สส) สภ.เมืองบึงกาฬ อายุ 42 ปี ซึ่งใช้เวลาว่างจากงานราชการ หันมาเป็นเกษตรกรปลูกมันแกวขายซึ่งทำมาแล้วกว่า 11 ปี กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ในช่วงเดือนกันยายนถึงธันวาคมของทุกปี เกษตรกรในตำบลบึงกาฬ และตำบลใกล้เคียงที่มีพื้นที่ติดริมแม่น้ำโขง จะใช้โอกาสช่วงที่แม่น้ำโขงลดลงหรือช่วงปลายฝนต้นหนาว ปลูกมันแกวหรือมันเพาขายสร้างรายได้ แต่ละปีสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมันแกวไม่น้อย สำหรับพันธุ์ที่ใช้ปลูกในปีนี้ใช้พันธุ์เบา ซื้อมาในราคาปี๊บละ 2,500 บาท มีน้ำหนักราว 14 กิโลกรัม ที่ดิน 1 ไร่ ใช้ 4-5 ปี๊บ ผลผลิตสามารถเก็บได้ในช่วงปลายเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ทุกปีๆ ซึ่งจะมีพ่อค้าคนกลางมารับไปขายทั้งขายในพื้นที่และส่งขายในตลาดต่างพื้นที่ในราคามัดละ 20-100 บาทตามขนาด หรือขายส่งทั่วไปกิโลกรัมละ 10 บาท เกษตรกรบางรายขายได้เงินปีละ 1-1.5 แสนบาทสำหรับระยะการปลูก 3 เดือนในทุกปีจะมีเงินหมุนเวียนในจังหวัดปีละไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท
‘>