LINE : ติดต่อผู้ดูแล

ยินต้อนรับเว็บไซต์ข่าวสารเพจข่าวท้องถิ่นบึงกาฬ

วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน 2024
ข่าวเด่นบึงกาฬ

จ.บึงกาฬ โครงการอ่างเก็บน้ำบึงโขงหลงตามแนวทางพระราชดำริพลิกพื้นที่แห้งแล้งสู่พื้นที่ชุ่มน้ำโลก(มีคลิป)

[videojs mp4=”http://122.155.92.12/centerapp/UploadFiles/Video/2559/10/28/Mobile/VNOHT591028001026001_28102016_044224.mp4″ width=”640″ height=”360″ autoplay=”true”]
ในปี พ.ศ.2520 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำริกับอธิบดีกรมชลประทาน และผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ให้พิจารณาวางโครงการพัฒนาบึงโขงหลงเพื่อนำน้ำจากบึงโขงหลงไปพัฒนาการเกษตรได้อย่างเต็มที่ โครงการชลประทานอ่างเก็บน้ำบึงโขงหลง จึงเกิดขึ้น เมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน 2522 เวลา 15.00 น. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์พระทื่นั่ง พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จากพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร ไปทอดพระเนตรโครงการชลประทานและทรงเยี่ยมราษฎร บริเวณอ่างเก็บน้ำบึงโขงหลง บ้านดอนกลาง ตำบลโพธิ์หมากแข้ง อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย ในขณะนั้น เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริ กรมชลประทานจึงได้พิจารณาวางโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำบึงโขงหลง ในปี พ.ศ.2523 และแล้วเสร็จในปีเดียวกัน “ทรงมีพระราชดำริวางโครงการพัฒนาอ่างเก็บน้ำบึงโขงหลงเพื่อป้องกันอุทกภัย และนำน้ำจากบึงไปพัฒนาการเกษตรให้ได้เต็มที่” โดยทำการเพิ่มระดับให้สูงขึ้นโดยประมาณระดับเก็บกักให้เท่ากับระดับน้ำนองสูงสุด เพื่อการอุปโภค-บริโภค เลี้ยงสัตว์ และการเพาะปลูก ตลอดจนแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดด้วย ในวันนี้เกษตรกรสามารถทำการเกษตรได้หลากหลาย และมีผลผลิตที่สูงขึ้น ยังมาซึ่งรายได้ที่มากขึ้นตามลำดับ ผลพลอยได้ในการท่องเที่ยวนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้ชาวบ้านในท้องที่มีรายได้มากขึ้นเช่นกัน เพราะบึงโขงหลงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่มีเสน่ห์ไม่เหมือนใคร และมีชื่อเล่นที่เรียกกันอย่างคุ้นหูว่า “ทะเลอีสาน”
“โครงการอ่างเก็บน้ำบึงโขงหลง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ” บ้านดอนกลาง ตำบลบึงโขงหลง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ ในปัจจุบันอ่างเก็บน้ำฯ นี้ มีความจุที่ระดับเก็บกัก 12 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับประโยชน์ 2,000 ไร่ เกษตรกรสามารถทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี อ่างเก็บน้ำบึงโขงหลง ขึ้นชื่อว่าบึง แน่นอนว่าที่นี่ย่อมมีบึงน้ำที่กว้างใหญ่ไพศาล เป็นวิวทิวทัศน์ที่งดงามอยู่หลายบึงด้วยกัน ที่บึงโขงหลงนี้ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติของจังหวัดบึงกาฬ ที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้บึงน้ำแห่งไหน และมีน้ำตลอดปีไม่เคยแห้งแล้ง นำมาซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพและมีระบบนิเวศที่ยิ่งใหญ่ ด้วยสายพระเนตรอันกว้างไกลทรงดำริให้สร้างฝายกั้นน้ำบึงโขงหลง ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจของประชาชนชาวบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ ที่มีบึงโขงหลง เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำระดับนานาชาติ อันดับที่ 1,098 ของโลก อันดับที่ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อันดับที่ 2 ของประเทศไทย เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ชาวอำเภอบึงโขงหลง ตลอดจนชาวบึงกาฬทุกหมู่เหล่า จะช่วยกันอนุรักษ์บึงโขงหลงแห่งนี้ให้มีความอุดมสมบูรณ์และยั่งยืนตลอดไป
[videojs mp4=”http://122.155.92.12/centerapp/UploadFiles/Video/2559/10/28/Mobile/VNOHT591028001026002_28102016_044225.mp4″ width=”640″ height=”360″ autoplay=”true”]
นายประภาส สมานทรัพย์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานบึงกาฬ กล่าวว่า โครงการอ่างเก็บน้ำบึงโขงหลงแห่งนี้ เริ่มขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินมาพิจารณาสถานที่บริเวณที่จะก่อสร้างฝายกักเก็บน้ำ ของอ่างเก็บน้ำบึงโขงหลง ในปี พ.ศ.2522 หลังจากนั้นกรมชลประทานได้สนองพระราชดำริสำรวจออกแบบและดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ.2523 และแล้วเสร็จในปีเดียวกัน เมื่อก่อสร้างอ่างเก็บน้ำบึงโขงหลงแล้วก็สามารถเก็บกักน้ำได้ประมาณ 10 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่ผิวน้ำประมาณ 6,000 – 10,000 ไร่ ขึ้นอยู่กับระดับน้ำต่ำสุดและสูงสุด ก่อเกิดประโยชน์ให้กับประชาชนใน 3 ตำบลของ 2 อำเภอคือ อำเภอเซกา และอำเภอบึงโขงหลง ปัจจุบันแหล่งน้ำแห่งนี้ได้พัฒนาเป็นแหล่งน้ำที่มีการท่องเที่ยว มีการอนุรักษ์สัตว์น้ำ อนุรักษ์พันธุ์พืช และยังเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำโลกอีกด้วย
[videojs mp4=”http://122.155.92.12/centerapp/UploadFiles/Video/2559/10/28/Mobile/VNOHT591028001026003_28102016_044225.mp4″ width=”640″ height=”360″ autoplay=”true”]
ด้านนายสมศักดิ์ เพชรสมบัติ ชาวบ้านดอนกลาง ตำบลบึงโขงหลง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ กล่าวว่า ตอนที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จฯ มาดูที่บึงโขงหลงแห่งนี้เมื่อปี พ.ศ.2522 ช่วงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งไม่ทราบว่าพระองค์รู้ได้อย่างไรว่าที่บึงแห่งนี้เวลาฤดูแล้งน้ำจะแห้งเป็นลานกว้างไว้เลี้ยงสัตว์ พอท่านเสด็จฯ มาก็ได้ตรัสว่า จะมาทำโครงการกักเก็บน้ำเพื่อจะให้ราษฎรของพระองค์ได้มีที่อยู่อาศัย ได้มีที่อยู่ทำกิน มีพื้นที่ทำการเกษตร มีน้ำไว้ใช้ตลอดปี เช่นทุกวันนี้ในเขตเทศบาลจะใช้น้ำประปาจากอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ทั้งหมด ในภาคการเกษตรบริเวณใต้อ่างเก็บน้ำแห่งนี้จะได้รับประโยชน์หมดทั้งทำนาปลัง ปลูกพืชนานาชนิด ทำให้ราษฎรมีรายได้ขึ้นมามากมาย ในฐานะที่ตนเองเป็นพสกนิกรของพ่อหลวง ก็มีความปลาบปลื้ม ปิติยินดีแทนพี่น้องชาวอำเภอบึงโขงหลง ที่ได้รับประโยชน์จากแหล่งน้ำแห่งนี้ และในช่วงที่พระองค์ท่านได้เสด็จสวรรตพี่น้องหลายคนได้ร้องไห้โศกเศร้าเสียใจไปตามๆ กัน ซึ่งเป็นความรู้สึกลึกๆ ของพี่น้องชาวอำเภอบึงโขงหลง ถึงท่านจะจากไปบุญบารมีของพ่อหลวงท่านจะคุ้มครองเราอยู่ ถึงท่านจะเสด็จสวรรตไปแล้วท่านก็ยังอยู่ในใจของพวกเราชาวอำเภอบึงโขงหลงตลอดไป
[videojs mp4=”http://122.155.92.12/centerapp/UploadFiles/Video/2559/10/28/Mobile/VNOHT591028001026004_28102016_044225.mp4″ width=”640″ height=”360″ autoplay=”true”]
ขณะที่ นายศรียา ลาโพธิ์ ชาวบ้านดอนกลาง ตำบลบึงโขงหลง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ กล่าวว่า หลังจากที่พระองค์ท่านได้สร้างอ่างเก็บน้ำไว้ให้ พื้นที่ที่ไม่เคยทำไร่ ทำนา ก็ได้ทำ ได้อยู่ดีกินดีขึ้นมาตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ก็เพราะพ่อหลวงท่านให้มา ไม่เพียงแต่ราษฎรในพื้นที่แห่งนี้ที่ได้รับประโยชน์ พื้นที่ใกล้เคียงเช่น อำเภอเซกา ก็ได้รับประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ พ่อหลวงท่านมาชี้แนวทำฝายกั้นน้ำล้อมรอบหมู่บ้านแห่งนี้เอาไว้ มีน้ำใช้ ได้อยู่ดีกินดีก็เพราะพ่อหลวง ถ้าท่านไม่เสด็จมาในครั้งนั้น บ้านดอนกลางคงไม่ได้ตั้งอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ บุญคุณที่พ่อหลวงท่านทรงสร้างไว้ให้นั้น พวกเราไม่มีสิ่งใดที่จะเอามาเปรียบได้ และไม่มีใครทำให้ได้เท่าพ่อหลวง หลังจากทราบข่าวการเสด็จสวรรตนั้น ตนเองถึงกับพูดไม่ออกมันตื้นตันไปหมด ราวกับสูญเสียของรักที่ไม่มีอะไรจะมาเทียบได้ แต่ความดีของท่านที่ทำไว้ตนเองก็จะทำตามรอยเท้าพ่อที่ท่านเคยทำไว้
img_8549

ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : พิสิษฐ์ ดวงแก้วผู้เรียบเรียง : วรัญญา นันตาแก้วแหล่งที่มา : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดบึงกาฬ

‘>

ข่าวเด่นบึงกาฬ ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด