LINE : ติดต่อผู้ดูแล

ยินต้อนรับเว็บไซต์ข่าวสารเพจข่าวท้องถิ่นบึงกาฬ

วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2024
ข่าวเด่นบึงกาฬ

ประมงบึงกาฬ ลงพื้นที่ให้ความรู้เกษตรกรเลี้ยงปลากระชังแม่น้ำโขงในช่วงหน้าหนาว

[videojs mp4=”http://122.155.92.12/centerapp/UploadFiles/Video/2559/11/28/Mobile/VNOHT591128001016401_28112016_022515.mp4″ width=”640″ height=”360″ autoplay=”true”]
นายสุวิทย์ คชสิงห์ ประมงจังหวัดบึงกาฬ นำเจ้าหน้าที่สำนักงานประมงจังหวัดบึงกาฬ ลงพื้นที่ตรวจวัดสภาพน้ำ และให้ความรู้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลกระชังในแม่น้ำโขง เตือนให้ระวังการเลี้ยงปลาในช่วงฤดูหนาว ซึ่งจะทำให้น้ำในแม่น้ำโขงเย็นลงประกอบกับถ้ามีลมพัดแรง ปลาที่เลี้ยงไว้จะกินอาหารได้น้อยและโตช้า
สำหรับการลงพื้นที่ของประมงจังหวัดบึงกาฬ เพื่อพบเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระชังในตำบลบึงกาฬ และตำบลวิศิษฐ์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ที่ยึดอาชีพเลี้ยงปลานิลในแม่น้ำโขง โดยได้นำเจ้าหน้าที่ประมงจังหวัดตรวจวัดค่าน้ำ ให้ความรู้ และเตือนให้ระวังการเลี้ยงปลานิลในช่วงอากาศที่หนาวเย็น จะทำให้ปลานิลที่นำมาลงกระชังเลี้ยงไว้เกิดปัญหา เมื่ออากาศหนาวน้ำในแม่น้ำโขงเย็นลงทำให้ปลากินอาหารน้อยลงปลาโตช้า โดยแนะนำและออกประกาศแจ้งเตือนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไปแล้วว่า ในช่วงฤดูหนาวตามประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง การเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศไทย พ.ศ.2559 ฉบับลงวันที่ 31 ตุลาคม 2559 ประเทศไทยได้เข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว ซึ่งอุณหภูมิจะลดลงอยู่ในเกณฑ์ต่อเนื่อง อาจทำให้สัตว์น้ำที่เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ เกิดภาวะเครียดไม่กินอาหารและอาจตายได้ ทำให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้รับผลกระทบ
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับสัตว์น้ำ ที่ได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากภัยหนาว เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควรเตรียมการก่อนเกิดภัยหนาวดังนี้ 1. ติดตามสถานการณ์ข่าวสารต่างๆ อย่างใกล้ชิด 2. ให้จับสัตว์น้ำที่ได้ขนาด ตามที่ตลาดต้องการออกจำหน่ายก่อนหรือในช่วงที่เกิดภัยหนาว 3. ลดปริมาณการให้อาหารลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นอาหารสด เพื่อป้องกันน้ำเน่าเสีย เนื่องจากฤดูหนาว สัตว์น้ำจะอ่อนแอและกินอาหารน้อยลง 4. เพิ่มความสนใจ หมั่นสังเกตอาการต่างๆ ของสัตว์น้ำที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด หากมีอาการผิดปกติจะได้แก้ไข และรักษาได้ทันท่วงที 5. กรณีเกิดโรคระบาด ให้หยุดการเติมน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเข้าบ่อ และปรับสภาพน้ำโดยใช้เกลือประมาณ 100 กิโลกรัม/ไร่ ปูนขาวผสมน้ำสาด 60 -100 กิโลกรัม/ไร่ 6. ช้อนสัตว์น้ำที่ตายหรือป่วยใกล้ตายออกเท่าที่จะทำได้ ขจัดซากสัตว์น้ำที่ตายด้วยการฝังหรือเผาทิ้ง และ 7. กรณีที่มีปัญหาหรือความเสียหายต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ให้ติดต่อสำนักงานประมงอำเภอในพื้นที่ หรือสำนักงานประมงจังหวัด โทรศัพท์ 04-249-2473 เพื่อขอรับความช่วยเหลืออย่างถูกต้อง
%e0%b8%94%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b9%8c%e0%b9%82%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%94

‘>

ข่าวเด่นบึงกาฬ ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด