LINE : ติดต่อผู้ดูแล

ยินต้อนรับเว็บไซต์ข่าวสารเพจข่าวท้องถิ่นบึงกาฬ

วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน 2024
ข่าวเด่นบึงกาฬ

ยางใต้ร้อง กยท.รับผิดชอบราคาดิ่ง นครพนม-บึงกาฬคึกคัก แห่ขายหลังราคาพุ่ง

วันที่ 21 ธันวาคม ได้มีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ “สุนทร รักษ์รงค์” หรือนายสุนทร รักษ์รงค์ นายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ โพสต์ข้อความพร้อมมีการแชร์และโพสต์ข้อความต่อท้ายเป็นจำนวนมาก โดยเนื้อหาดังกล่าวระบุ “เมื่อวานได้แสดงความยินดีกับราคายางที่ดีขึ้นในช่วงนี้ “ 16 ธ.ค.59 ราคายางเพิ่งแตะถึง 80 บาท และพี่น้องชาวสวนยาง เริ่มมีรอยยิ้มเป็นครั้งแรก หลังผ่าน 2 ปี แห่งสถานการณ์วิกฤตราคายางพาราตกต่ำ…แต่แล้ว 19 ธ.ค.59 การยางแห่งประเทศไทย(กยท.) ได้เปิดรับสมัครผู้สนใจเพื่อประมูลยางในสต๊อค 3.1 แสนตัน โดยอ้างว่าให้มีผลกระทบต่อกลไกตลาดให้น้อยที่สุด ผลปรากฎว่าราคายางดิ่งลงต่อเนื่องติดต่อกัน 2 วันแล้ว ทำให้ความฝันและกำลังใจของพี่น้องชาวสวนยางกำลังสลาย จะเป็นอย่างนี้อีกนานเท่าไหร่ ราคายางจะเหลือเท่าใด หากราคายางตกต่ำอีกครั้งเพราะการระบายสต๊อกยางของ กยท….ใครจะรับผิดชอบ ?”

นายสุนทรระบุว่า สมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ เคยเสนอต่อรัฐบาล ให้นำยางในสต๊อค 3.1 แสนตันมาใช้ในประเทศ และประกาศเป็น dead stock เพื่อป้องกันการเอาสต๊อคยางมาอ้างว่าส่งผลกระทบในเรื่องราคาและเพื่อมิให้ใครมาทำมาหากินกับสต๊อกยางล๊อตนี้อีกเราเดินทางมาไกล เพื่อที่จะวกกลับไปสู่วงจรอุบาทว์ในรูปแบบเดิมๆอย่างนั้นหรือครับ? พี่น้องชาวสวนยาง

ด้านนายมนัส บุญพัฒน์ นายกสมาคมคนกรีดยางและชาวสวนยางรายย่อย เปิดเผยว่า สองวันที่ผ่านมาฝนตกติดต่อกัน และวันนี้เป็นวันที่ 3 ยางเริ่มจะไม่มีอีกแล้วเนื่องจากกรีดไม่ได้ เหลือเพียงยางในสต็อตของสหกรณ์ที่นำออกมาขาย ราคายางยังดิ่งลงมาอีก วันนี้ต้องให้ผู้ว่า กยท.ออกมารับผิดชอบด่วน และประกาศต่อที่สาธารณะว่าทำอย่างนี้ทำไม จับตัวไอ้โม่งที่รับงานมาด้วยว่าเป็นใคร กยท.ต้องรับผิดชอบ

201612210809272-20130906165707

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ยางพาราในภาคอีสานนั้น ที่สหกรณ์กองทุนสวนยางหนองหัวช้าง ตำบลหนองหัวช้าง อำเภอพรเจริญ  จังหวัดบึงกาฬ เริ่มคึกคักตั้งแต่เช้ามีเกษตรกรชาวสวนยางทยอยนำน้ำยางสด บรรทุกใส่รถมาเทขายกันจำนวนมาก เนื่องจากเกษตรกรเริ่มมีกำลังใจ หลังราคายางพาราปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกวัน หลังจากที่สำนักงานตลาดกลางยางพาราจังหวัดสงขลา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ออกมาระบุว่า ราคายางพาราวานนี้(20 ธ.ค.59)ได้มีการขยับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยทั้งยางแผ่นดิบ ยางแผ่นร่มควัน และน้ำยางสด โดยราคายางแผ่นดิบขยับขึ้น 74.12 บาท ราคายางแผ่นรมควัน 76.21 บาท น้ำยางสด 66.50 บาท เศษยาง 100 % ณ โรงงาน 62.00 บาท อีกทั้ง ขณะนี้สวนยางพาราส่วนใหญ่เริ่มเข้าสู่หน้าหนาว ทำให้น้ำยางออกมากกว่าช่วงปกติ จึงส่งผลดีต่อเกษตรกรชาวสวนยางพาราของจังหวัดบึงกาฬ ทั้งนี้อาจสืบเนื่องจากภาวะขาดแคลนยางด้วย ประกอบกับในภาคใต้มีสถานการณ์ น้ำท่วมพื้นที่ปลูกยางด้วย ทำให้ปริมาณน้ำยางออกสู่ตลาดน้อย จนทำให้มีการแย่งกันซื้อยางจนส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น

201612210809271-20130906165707

ด้านองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ ก็ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางพารา หันมาขายน้ำยางสด เพราะราคาสูงกว่าการขายยางก้อนถ้วย เพราะปัจจุบันชาวสวนยางมีทางเลือกมากขึ้นเพราะไม่ต้องทำเป็นยางแผ่นก็สามารถขายน้ำยางสดได้โดยตรง การขายน้ำยางสดช่วยให้ชาวสวนยางสามารถลดต้นทุนและเวลาได้มาก จึงเป็นแรงกระตุ้นให้ตลาดน้ำยางสดขยายตัวมากขึ้น

เช่นเดียวกับที่จังหวัดนครพนม ที่เริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังมีการประกาศปรับราคาซื้อยางพาราเพิ่มขึ้นแบบเท่าตัว  ทำให้ยางพาราแผ่นดิบ มีราคาเพิ่มขึ้นจากปกติ ประมาณ กิโลกรัมละประมาณ 30 -40 บาท เพิ่มเป็นกิโลกรัมละ 60 -70 บาท  ส่วนยางพาราก้อนถ้วย จากราคากิโลกรัมละประมาณ 20 บาท เพิ่มเป็น 30 -35 บาท  ส่วนน้ำยางสดจากราคากิโลกรัมละประมาณ 20 -30 บาท เพิ่มเป็น กิโลกรัมละ 50 -60 บาท ส่งผลให้เกษตรกรต่างพากันแห่นำยางพาราไปขาย สร้างรายได้หมุนเวียนสะพัด

201612210905341-20111216140823

นายวิชิต  สมรฤทธิ์  อายุ 56 ปี เกษตรกรสวนยางพารา ชาว อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ในฐานะคณะกรรมการเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางภาคอีสาน  กล่าวว่า  ในช่วงนี้ถือว่าเป็นเรื่องดีสำหรับชาวสวนยางพารา หลังประสบปัญหาราคาตกต่ำมายาวนาน ขาดทุนหนัก บางรายถึงขั้นต้องเป็นหนี้สิน ซึ่งช่วงนี้มีการปรับราคายางพาราขึ้นเท่าตัว ทำให้เร่งนำยางพาราไปขาย  ซึ่งในส่วนของ จ.นครพนม มีพื้นทีปลูกมากกว่า 3 แสนไร่ เปิดกรีดประมาณ 2 แสนไร่ หลังมีการปรับราคายางเพิ่มขึ้น คาดว่าจะมีเงินหมุนเวียนสะพัดไม่ต่ำกว่า วันละ 10 ล้านบาท  แต่ทางเกษตรกรยังมีความกังวลว่า จะมีราคาผันผวน ยังไม่มั่นใจว่าราคายางจะทรงตัว หากมีเกษตรกรนำยางพารามาขายจำนวนมาก  จึงอยากให้รัฐบาลหาทางแก้ไขถาวร เพื่อป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้นในระยะยาว เพราะในการปรับราคาอาจเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อนายทุนที่มีการรับซื้อสต็อกยางพาราปล่อยอกมาขาย

อย่างไรก็ตาม นายวิชิตกล่าวว่า อยากให้รัฐบาลหาทางช่วยเหลือ ให้สามารถช่วยเกษตรกรได้อย่างทั่วถึง และเร่งหาแนวทางในการแปรรูปยางพาราไว้ใช้ในประเทศให้มากที่สุด รวมถึงหาทางชะลอส่งออก เพื่อดึงราคายางพารา เพราะหากไม่แก้ไขจริงจัง จะกลายเป็นนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อนายทุน ได้โอกาสกดราคาซื้อจากเกษตรกร และในการช่วยเหลือจะต้องมองภาพรวม ให้ทุกภาคให้ได้ประโยชน์ด้วยกัน   เพราะปัจจุบันภาคอีสานมีเกษตรกรจำนวนมากที่ปลูกยางพารา วอนหาทางแก้ไขเร่งด่วน

 

ข่าวมติชนออนไลน์ http://www.matichon.co.th/news/401480’>

ข่าวเด่นบึงกาฬ ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด