[videojs mp4=”http://122.155.92.12/centerapp/UploadFiles/Video/2560/07/06/Mobile/VNOHT600706001030701_06072017_062746.mp4″ width=”640″ height=”360″]
วันนี้ (6 ก.ค. 60) เวลา 10.00 น. ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ นายจำรัส กังน้อย นายอำเภอเมืองบึงกาฬ เปิดโครงการปฐมนิเทศและมอบหนังสือประจำตัวผู้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทน ตามมาตรา 36 ของ พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ.2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ให้กับเกษตรกร โดยการให้ทุนปลูกแทนสวนยางเก่า หรือสวนยางทรุดโทรมเสียหาย ด้วยยางพันธุ์ดี หรือไม้ยืนต้นชนิดอื่นๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจรวมถึงการปลูกพืชแบบผสมผสานในวงเงิน 16,000 บาท/ไร่ ซึ่งมีเกษตรกรชาวสวนยางที่เข้าร่วมขอทุนเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทนจากรุ่นปี 2554 ถึง 2560 ทั้งสิ้นจำนวน 816 ราย คิดเป็นเนื้อที่ 8,058.35 ไร่ และในโครงการครั้งนี้มีเกษตรกรที่ได้รับการขออนุมัติพร้อมทั้งเข้าร่วมโครงการปฐมนิเทศจำนวน 105 ราย
ในการรับมอบหนังสือประจำตัวผู้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทนครั้งนี้ เกษตรกรที่เข้าโครงการและร่วมงานจะได้ทราบถึงขั้นตอนการปลูกสร้างสวนยางอย่างถูกวิธี รวมถึงกระบวนการดำเนินการต่างๆ ในระหว่างการรับทุนการปลูกแทนจากการยางแห่งประเทศไทยสาขาบึงกาฬ จนสวนพ้นสงเคราะห์หรือสามารถเปิดกรีดได้ และการอบรมให้ความรู้กับเกษตรกรชาวสวนยางพารา เรื่องการปลูกไม้ผล ทั้งระยะการปลูก การดูแลรักษาจนสามารถจำหน่ายผลผลิตได้
นายฐิติวุฒิ จอดนอก ผอ.การยางแห่งประเทศไทยจังหวัดบึงกาฬ กล่าวว่า การขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทน ต้องมีต้นยางเก่าอายุกว่า 25 ปีขึ้นไปหรือต้นยางทรุดโทรมเสียหายหรือต้นยางที่ได้ผลน้อยไม่คุ้มค่ากับการบำรุงรักษา สวนยางที่อยู่ในหลักเกณฑ์ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทนจะต้องไม่เป็นที่ดินหวงห้ามของทางราชการ ส่วนคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์ที่ได้รับการพิจารณาให้ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทน ต้องเป็นผู้ขึ้นทะเบียนไว้กับการยางแห่งประเทศไทยในฐานะเป็นเจ้าของสวนยางผู้เช่าหรือผู้ทำสวนยาง
การให้การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทนมีให้เลือก 5 แบบ คือ แบบที่ 1 ปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดี (ต้นยางชำถุง) แบบที่ 2 ปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดี (ติดตาในแปลง) แบบที่ 3 ปลูกแทนด้วยไม้ยืนต้นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ไม้ผล ได้แก่ ทุเรียน เงาะ มังคุด ลำไย มะม่วง มะพร้าว ลองกอง ฝรั่ง ขนุน กาแฟ เป็นต้น แบบที่ 4 ปลูกแทนด้วยปาล์มน้ำมัน และแบบที่ 5 ปลูกแทนแบบเกษตรผสมผสาน
นอกจากนี้ ภายในงานยังได้มอบเงินช่วยเหลือทายาทเกษตรกรชาวสวนยางที่เสียชีวิตจำนวน 3,000 บาท ทั้งสิ้น 3 ราย และส่งมอบป้ายตามโครงการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม (Csr) ให้กับนางละมุน สายทอง เกษตรกรตำบลโป่งเปือย อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ เป็นครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ 2560 ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย
[videojs mp4=”http://122.155.92.12/centerapp/UploadFiles/Video/2560/07/06/Mobile/VNOHT600706001030701_06072017_062746.mp4″ width=”640″ height=”360″]
‘>