LINE : ติดต่อผู้ดูแล

ยินต้อนรับเว็บไซต์ข่าวสารเพจข่าวท้องถิ่นบึงกาฬ

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน 2024
ข่าวเด่นบึงกาฬ

ตลาดยางป่วนราคาดิ่งเหว สารพัดมาตรการรัฐล้มเหลว

ราคายางส่อเค้าป่วนอีก บอร์ดบริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศไม่ยอมลงมติจำกัดส่งออกยาง 4 ประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ อ้างขอดูสถานการณ์เพิ่มเติมอีก สารพัดมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรล้มเหลว ดันราคายางไม่ขึ้น

แหล่งข่าวจากการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เมื่อวันที่ 3 พ.ย.60 คณะกรรมการบริหาร บริษัท ร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด (IRCo) ได้ประชุมเรื่องการจำกัดปริมาณการส่งออกยางพาราของทั้ง 4 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม ที่มีปริมาณการผลิตยางพาราสูงถึง 73% ของผลผลิตทั่วโลก เป็นวาระเร่งด่วน เนื่องจากขณะนี้ราคายางแผ่นรมควันอัดก้อนเข้าถึงจุดเส้นตายที่เคยตกลงในที่ประชุมรัฐมนตรีสภาไตรภาคียางระหว่างประเทศ (ITRC) 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซียและมาเลเซีย ที่ประชุมไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ โรงแรมแชงกรี-ลา กำหนดให้สมาชิกต้องจำกัดปริมาณการส่งออกที่ กก.ละ 1.5 เหรียญสหรัฐ ซึ่งราคาซื้อขายยางแผ่นรมควันชั้น 3 ของไทยผ่านตลาดกลางยางพาราในภาคใต้ เมื่อวันที่ 2 พ.ย.ที่ผ่านมา อยู่ที่ กก.ละ 46 บาทเศษ

 

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า การประชุมในประเด็นการจำกัดปริมาณการส่งออกยางของคณะกรรมการบริหารบริษัท IRCo ล่าสุดยังไม่มีการตกลงในรายละเอียดว่าจะจำกัดปริมาณการส่งออกแต่ละประเทศเท่าใด และจะเริ่มเวลาไหน โดยขอเวลาพิจารณาดูสถานการณ์ยางเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย

“ประเด็นการจำกัดส่งออกยางของ 4 ประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ได้รั่วไหลออกไป ทำให้นักเก็งกำไรซื้อขายยางในตลาดซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้าเซี่ยงไฮ้หยุดทุบราคา และดันราคารับซื้อในวันที่ 1-2 พ.ย.ที่ผ่านมาเพิ่มอีกตันละ 600 หยวน แต่ราคาประมูลยางแผ่นรมควันชั้น 3 ในไทย ช่วงวันที่ 31 ต.ค.-2 พ.ย. 2560 กลับลดลงจาก กก.ละ 51 บาทเศษ เหลือ กก.ละ 46 บาทเศษ เพราะมีผู้ส่งออกจำนวนมากที่ไปขายล่วงหน้าไว้ในราคาต่ำฉวยโอกาสกดราคารับซื้อ ทำให้ กยท.ต้องเข้าไปประมูลในวันที่ 2 พ.ย.แทน เพื่อมิให้ราคายางตกลงไปมากกว่านี้ หลังจากที่เกษตรกรบางกลุ่มเรียกร้องให้ บริษัท ร่วมทุนยางพาราไทย จำกัด ที่ กยท.ร่วมทุนกับ 5 บริษัทผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่ วงเงินรวม 1,200 ล้านบาทหยุดรับซื้อในราคาชี้นำผ่านตลาดกลางยางพาราทั้ง 6 แห่งทั่วประเทศ” แหล่งข่าวกล่าว

5 มาตรการดันราคายางไม่ขึ้น

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า ในปีงบประมาณ 2560 ที่ผ่านมา รัฐบาลมีนโยบายและมาตรการในการส่งเสริมสนับสนุนแก่ทุกภาคส่วน เพื่อสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาอาชีพการทำสวนยาง ตลอดจนเพิ่มมูลค่าการใช้ยางให้มากยิ่งขึ้น เพื่อกระตุ้นความต้องการใช้ และส่งผลต่อราคายางในที่สุด

ได้แก่ 1.โครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง สิ้นสุดโครงการเดือน ก.ย. 2560 เนื่องจากราคายางต่ำกว่าต้นทุนการผลิตที่ กก.ละ 63 บาทเศษ ซึ่ง กยท.ได้จ่ายเงินแก่เกษตรกรสวนยางเป็นเงิน 6,436 ล้านบาท จำนวน 7.15 แสนครัวเรือน และจ่ายเงินแก่เกษตรกรคนกรีดยาง 4,094 ล้านบาทจำนวน 6.78 แสนครัวเรือน 2.โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรวบรวมยางพารา 3.โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการกิจการยาง(น้ำยางข้น) 1 หมื่นล้านบาท โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี  4.โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการกิจการยาง(ยางแห้ง) วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท

นอกจากนี้ มาตรการดึงหน่วยงานรัฐจัดซื้อยางใช้ในประเทศ กยท.ได้สรุปตัวเลขแล้ว พบว่าการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ ปี 2560 แบ่งเป็นมีความต้องการใช้น้ำยางข้น ปี 2560 จำนวน 22,321 ตัน และปริมาณการใช้ยางแห้ง 2,953.16 ตัน รวมทุกงบประมาณทั้งสิ้น 16,925 ล้านบาทแต่มีการใช้น้ำยางข้นจริงในปี 2560 จำนวน10,213.49 ตัน ใช้ยางแห้งจริงปี 2560จำนวน 1,453.48 ตัน งบประมาณรวมทั้งสิ้น 15,074 ล้านบาท สำหรับปี 2561 ปริมาณความต้องการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ เป็นน้ำยางข้น 9,916.832 ตัน น้ำยางแห้ง 1,132.39 ตัน รวมงบประมาณทั้งสิ้น 11,589 ล้านบาท

หนุนใช้ยางพาราสร้างถนน

ด้าน นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า กรมได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การศึกษาวิจัยและพัฒนา ร่วมกับกยท. เพื่อส่งเสริมการใช้ยางพาราภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น ตามที่รัฐบาลตั้งเป้าจำนวน 9,000 ตันต่อปี ในการบูรณะซ่อมแซมผิวถนนในรูปแบบพาราสลาลี่ซีล และพาราแอสฟัลต์ คิดเป็น 5% ของงานก่อสร้างถนน แต่เนื่องจากต้นทุนสูงจึงหารือกับ กยท.เปลี่ยนยางพาราน้ำเป็นยางพาราแผ่นมาพัฒนาใช้กับเสาหลักนำทาง ที่กั้นขอบทาง ทางเท้า และหลักกิโลเมตรแทน ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการแก้ไขราคายางให้มีเสถียรภาพ

“ปี 2561 เตรียมแผนใช้ปริมาณน้ำยางพาราข้น 4,586 ตัน ในการบูรณะซ่อมแซมผิวถนน และนำมาใช้ในก่อสร้างเสาหลักนำทาง เบื้องต้นที่ทำได้เร็ว คือ เสาหลักนำทางประมาณ 15 กิโลเมตรใช้ยางพารา 1 ต้น งบฯในการจัดซื้อยางจากงบฯเหลือจ่ายไม่เกิน 500 ล้านบาท ตั้งเป้าปี 2561 ใช้ประมาณ 120,000-130,000 ต้นทั่วประเทศ ต้นทุนต่อต้นประมาณ 2,600-2,700 บาท แม้ว่าต้นทุนยางพาราจะแพงกว่า แต่สามารถช่วยรับซื้อยางจากเกษตรกรได้มากกว่าเดิม” นายธานินทร์กล่าว

นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันใช้ยางพาราบูรณะซ่อมแซมถนนอย่างเดียว ยังไม่ได้นำไปใช้กับผลิตภัณฑ์อื่น โดยในปี 2561 ตั้งเป้าใช้น้ำยางพาราฉาบผิวถนนเป็นยางดิบ 7,530 ตันยางข้น 3,756 ตัน คิดเป็นวงเงิน 391 ล้านบาท (กิโลกรัมละ 52 บาท) ขณะที่ปี 2560 ใช้ยางดิบ 7,172 ตัน ยางข้น 3,586 ตัน คิดเป็นวงเงิน 358 ล้านบาท (กิโลกรัมละ 50 บาท)

‘>

ข่าวเด่นบึงกาฬ ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด