[videojs mp4=”http://122.155.92.12/centerapp/UploadFiles/Video/2560/11/13/Mobile/VNOHT601113001024401_13112017_054009.mp4″ poster=”http://122.155.92.12/centerapp/Common/GetFile.aspx?FileUrl=~/Uploads/Image/2560/07/19/PNOHT600719001019310.JPG” width=”640″ height=”360″]
(13 พ.ย. 60) ที่หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดบึงกาฬ นายพิสุทธิ์ บุษยพรรณพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ เป็นประธานการจัดทำการจัดทำบันทึกข้อตกลงและการส่งมอบเงินโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการฟื้นฟูอาชีพด้านการเกษตรกรแก่เกษตรผู้ประสบอุทกภัย ปี 2560 โดยมีตัวแทนเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ปี 2560 ในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬเข้าร่วมกิจกรรม
นายสำพรต จันทร์หอม เกษตรจังหวัดบึงกาฬ กล่าวว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2560 อนุมัติหลักการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนิน “โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการฟื้นฟูอาชีพด้านการเกษตรกรแก่เกษตรผู้ประสบอุทกภัย ปี 2560” เพื่อให้เกษตรกรที่ประสบอุทกภัยมีอาหารบริโภคในครัวเรือนหลังน้ำลด อันเป็นการลดรายจ่ายและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและฟื้นฟู ส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรแก่เกษตรกรที่ประสบอุทกภัย จากพายุเซินกา และตาลัสซึ่งเป็นโครงการที่มีหลักการและวิธีการที่ดี มีประสิทธิภาพ สามารถให้ชุมชนเป็นผู้กำหนดโครงการพัฒนาโดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และบริหารจัดการโครงการด้วยตนเองภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้วยการน้อมนำหลักการทฤษฎี และแนวทางการแก้ปัญหาด้านการเกษตรต่างๆ ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานไว้และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดการพัฒนาที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนแล้ว ยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกการทำงานในพื้นที่ ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเอง ได้ผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์และนำไปปฏิบัติจริงเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในการแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นและชุมชน อันจะส่งผลต่อเนื่องให้ภาคการเกษตรมีความ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
จังหวัดบึงกาฬ มีเกษตรกรได้รับความเดือดร้อนจากอุกภัยครั้งนี้ จำนวน 29 ชุมชน มีเกษตรที่เข้าร่วมโครงการเพื่อฟื้นฟูอาชีพ จำนวน 2,569 ราย งบประมาณได้รับการอนุมัติให้ช่วยเหลือเกษตรกร จำนวน 12,845,000 บาท โดยแยกโครงการตามประเภทกิจกรรมที่เกษตรกรขอรับการฟื้นฟู ดังนี้ 1. ด้านการปลูกพืชอายุสั้น จำนวน 5 โครงการ งบประมาณ 260,000 บาท 2. ด้านการลี้ยงสัตว์ จำนวน 27 โครงการ งบประมาณ 8,310,000 บาท 3. ด้านการผลิตอาหาร แปรรูปผลผลิต และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร จำนวน 2 โครงการ งบประมาณ 195,000 บาท 4. ด้านการประมง จำนวน 19 โครงการ งบประมาณ 4,080,000 บาท