วันนี้ (6 ธ.ค. 2560) ผู้สื่อข่าว ONBnews รายงานว่า ที่ห้อง MR216 ศูนย์นิทรรศการและประชุมไบเทค บางนา จัดงานสัมมนาวิชาการระดับชาติ เรื่องความปลอดภัยทางถนน มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย ได้ร่วมกับศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน กรมขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐภาคเอกชน ร่วมจัดสัมมนาวิชาการระดับชาติ เรื่อง ความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 13 ภายใต้แนวคิด “ลงทุนเพื่อความปลอดภัยทางถนนที่ยั่งยืน” ในระหว่างวันที่ 6-7 ธ.ค.นี้
โดย นายสุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกล่าวเปิดงานว่า การป้องกันและลดความสูญเสียจากการอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่รัฐบาลตระหนัก ถือเป็นในนโยบายที่ได้ประกาศไว้ตามแผน “ทศวรรษแห่งการปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2554-2563” เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2563
ทางรัฐบาลจะจะเร่งพัฒนาและเพิ่มการลงทุนเพื่อความปลอดภัยทางถนนที่ยั่งยืนในเรื่องที่เป็นหัวใจสำคัญ เพื่อไปสู่เป้าหมายแห่งการสร้างถนนปลอดภัย ได้แก่
1.สนับสนุนกลไกศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) ระดับจังหวัด อำเภอ
2. ปรับปรุงระเบียบงบประมาณของ ศปถ.อปท.
3. ให้กระทรวงแรงงาน เพิ่มบทบาทเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.)
4. เพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย
5. ส่งเสริมความปลอดภัยใยกลุ่มเสี่ยงหลัก โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ รถจักรยาน และคนเดินถนน
6.ให้เด็กมีการเรียนรู้เรื่องความปลอดทางถนน
7. สนับสนุนให้มีกลไกการสอบสวนสาเหตุ การติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ
พ.ต.อ.สรรธาน อินทรจักร์ รอง ผบก.ภ.จว.บึงกาฬ
พร้อมด้วย พ.ต.ท.สันติสุข สุทธิกุลสมบัติ รอง ผกก.สืบสวน ภ.จว.บึงกาฬ พ.ต.ท.ประคอง สรรศรี สว.ฝอ.ฯ ร.ต.อ.อุดร ศรีทุมมา รองสว.จร.สภ.เมืองบึงกาฬ และนายเสน่ห์ พนมเริงศักดิ์ นายกสมาคมกู้ภัยนทีธรรมบึงกาฬ
เข้าร่วมประชุมงานสัมมนาอุบัติเหตุชาติ ครั้งที่ ๑๓ ณ ศูนย์ประชุมและสัมมนาทางวิชาการ ไบเทค บางนา กรุงเทพฯ
ขณะเดียวกัน นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน สถานการณอุบัติเหตุทางถนน ถือเป็นปัญหาสำคัญของโลก โดยแต่ละปีมีผู้คนทั่วโลกกว่า 1.3 ล้านต้องจบชีวิตลง และอีกกว่า 50 ล้านคนได้รับบาดเจ็บ จนองค์การสหประชาชาติกำหนดให้ปี 2554-2563 เป็นทศวรรษแห่งการปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยทางถนน เพื่อให้ประเทศสมาชิกร่วมกันกำหนดมาตรการที่เหมาะสม เพื่อลดอัตราผู้เสียชีวิตลงครึ่งหนึ่ง
ทั้งนี้ ประเทศไทยยังคงติดอันดับต้นๆ ที่มีอัตราการเสียชีวิตจากอถบัติเหตุ โดยตัวเลขเสียชีวิตจากข้อมูลใบมรณะบัตรเฉลี่ย 14,000 – 15,000 คน/ปี เฉลี่ยวันละ 40-50 คน และเมื่อตรวจสอบข้อมูล 3 ฐาน (มรณบัตร ตำรวจ และประกันภัย) จึงพบว่ายอดเสียชีวิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 33 หรือเฉลี่ย 20,000 ราย/ปี โดยมีมูลค่าความสูญเสียถึง 5 แสนบาท หรือ 6% GDP การสัมมนาในครั้งนี้ จึงต้องการเน้นย้ำความสำคัญในเรื่องการลงทุนผ่านเสาหลักต่างๆ และสอดคล้องกับทิศทางเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งของระบบบริหารจัดการการบังคับใช้กฎหมาย ที่สำคัญคือมีแนวทางและแผนงานในการลงทุนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยบนนถนนที่ยั่งยืน
นอกจากนี้ ภายในงานดังกล่าวยังมีการจัดพิธีมอบโล่และประกาศเกียรติคุณ แก่สื่อมวลชนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพสื่อด้านความปลอดภัยทางถนน Road Safety Journalism Fellowship : Slow Speed Save Life ในปี2559 (รุ่นที่ 1) และปี 2560 (รุ่นที่ 2) ทั้ง 2 รุ่น จำนวน 32 คน และองค์กรต้นสังกัด 17 องค์กร ที่จัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.), องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.), World Health Organization (WHO),Bloomberg Philanthropies, สนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจร (สอจร.), ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) และภาคีเครือข่าย
ซึ่งโครงการพัฒนาศักยภาพสื่อในครั้งนี้ เกิดขึ้นเพื่อสร้างการตื่นรู้ในสังคม เกี่ยวกับเรื่องอุบัติภัย รวมทั้งความปลอดภัยทางถนน ผ่านการนำเสนอข่าวเชิงลึกของผู้สื่อข่าว สร้างการรับรู้ของประชาชนถึงความรุนแรงของอุบัติเหตุในประเทศไทย ที่มีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับ 2 ของโลก เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนของประชาชนที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หวังลดสถิติอุบัติเหตุทางถนน และลดจำนวนผู้บาดเจ็บผู้เสียชีวิตในประเทศลงได้
‘>