LINE : ติดต่อผู้ดูแล

ยินต้อนรับเว็บไซต์ข่าวสารเพจข่าวท้องถิ่นบึงกาฬ

วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2024
ข่าวเด่นบึงกาฬ

บึงกาฬ จนท.พร้อมทีมเเพทย์เข้าช่วยชีวิต ‘ช้างป่างาเดียว’ บาดเจ็บหนักจากการต่อสู้สำเร็จ (ภาพชุด)

นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 อุดรธานี (รักษาการหัวหน้าชุดพญาเสือ)พร้อมกำลังชุดปฏิบัติการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว เจ้าหน้าที่สถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวง และทีมสัตวแพทย์ จากกรมอุทยาน กว่า 30 นาย เข้ารักษาอาการบาดเจ็บของช้างป่าภูวัวเพศผู้อายุ 15-20 ปี หนักกว่า 7 ตันหลังได้รับบาดเจ็บที่ขาหลังข้อพับที่เกิดจากการต่อสู้กันของช้างป่า ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จ.บึงกาฬ

[videojs mp4=”http://122.155.92.12/centerapp/UploadFiles/Video/2561/05/26/Mobile/VNOHT610526001009401_26052018_044924.mp4″ poster=”https://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2018/05/S1520006-728×410.jpg” width=”530″ height=”315″]

เมื่อเวลา 07.00 น. วันที่ 26 พฤษภาคม จากกรณีเจ้าหน้าที่สถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวง และเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการลาดตระเวนของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว ติดตั้งกล้องดักสัตว์บริเวณป่าต้นน้ำห้วยทราย ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จนสามารถจับภาพช้างป่าเพศผู้ โตเต็มวัย จำนวน 1 ตัว มีลักษณะเด่น คือ มีงาทางด้านขวาข้างเดียว เดินลงมากินน้ำ และพบว่าช้างป่าตัวดังกล่าวมีอาการบาดเจ็บที่ขาหลังทางด้านซ้าย การเดินของช้างเคลื่อนที่ค่อนข้างลำบาก แสดงว่ามีอาการบาดเจ็บอย่างรุนแรงและเรื้อรัง จึงได้รายงานให้สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 อุดรธานี หน่วยงานต้นสังกัดที่รับผิดชอบทราบเมื่อวันที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมา

หลังจากได้รับรายงาน นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 อุดรธานี (รักษาการหัวหน้าชุดพญาเสือ) ได้สั่งการให้ นายทวีป คำแพงเมือง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จ.บึงกาฬ จัดเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบและติดตามพฤติกรรมของช้าง พร้อมประเมินอาการบาดเจ็บ เพื่อเตรียมการรักษา ซึ่งจากการติดตามหาช้างป่าตลอดทั้ง 3 วัน พบว่าช้างป่าตัวดังกล่าวมีอาการบาดเจ็บอย่างรุนแรงจำเป็นจะต้องรีบดำเนินการรักษาโดยด่วน จึงรายงานกลับไปที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 อุดรธานีพร้อมกับได้ขอรับการสนับสนุนเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญในการรักษาจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ออกมาช่วยกันรักษา

ต่อมาวันที่ 25 พ.ค. นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 อุดรธานี (รักษาการหัวหน้าชุดพญาเสือ)ลงพื้นที่พร้อมนายจิรชัย อาคะจักร หัวหน้าสถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวง จ.เลย นายพิทักษ์ ยิ่งยง หัวหน้าเขตเขาเขียว – เขาชมภู่(สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 ศรีราชา) สพ.ญ.สุภกานต์ แก้วโชติ นายสัตวแพทย์ชำนาญการ สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กลุ่มงานเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และนายทวีป คำแพงเมือง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จ.บึงกาฬ พร้อมกำลังชุดปฏิบัติการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว เจ้าหน้าที่สถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวง เจ้าหน้าที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 อุดรธานี และทีมสัตวแพทย์จากกรมอุทยาน กว่า 30 นาย ออกติดตามพฤติกรรมและประเมินอาการบาดเจ็บ พร้อมเตรียมทำการรักษา

โดยได้แบ่งชุดปฏิบัติการออกเป็น 4 ทีม พร้อมนำอุปกรณ์ทางการแพทย์เข้าพื้นที่ โดยตลอดทั้งวันต้องเดินเท้าติดตามช้างตั้งแต่บริเวณห้วยทราย ซึ่งห่างจากจุดพิทักษ์ป่าชะแนน เข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว กว่า 5 กิโลเมตร ผ่านแหล่งน้ำ ดงป่าไผ่ที่หนาทึบอีกกว่า 2 กิโลเมตร จนพบกับช้างป่าที่บาดเจ็บ หลังจากทีมแพทย์ชุดแรกพบเจอช้างป่า แล้วประเมินอาการออกมาว่าไม่สามารถยิงยาสลบได้ เนื่องจากช้างมีอาการเคลียดที่ถูกกดกัดและการติดตามของเจ้าหน้าที่ ประกอบกับอากาศที่ร้อน หากยิงยาสลบเข้าไปจะทำให้ช้างมีภาวะแทรกซ้อน หรือทำให้ช็อกอาจจะล้มได้ จึงตัดสินใจไม่ยิงยาสลบ ล้มเลิกภารกิจการช่วยเหลือ แต่ยังจัดชุดเจ้าหน้าที่เฝ้าติดตามดูอาการช้างป่าตลอด 24 ชั่วโมง

ซึ่งในเช้ามืดวันนี้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายได้ประชุมทำความเข้าใจ และวางแผนการปฏิบัติงานเข้าช่วยเหลือรักษาช้างป่า อีกครั้ง พร้อมกับทำพิธีขอขมาเจ้าป่าเจ้าเขา บอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทาง ก่อนจะส่งทีมชี้เป้าพร้อมทีมแพทย์ชุดยิงยาสลบ เคลื่อนเข้าพื้นที่หาเป้าหมาย ท่ามกลางฝนฟ้าที่ตกลงมาปรอยๆ ง่ายต่อการยิงยาสลบกระทั่งเวลาประมาณ 8.30 น.เจ้าหน้าที่สามารถยิงยาสลบเข้าไปที่บริเวณหลังช้างได้สำเร็จ พร้อมกับทีมแพทย์เดินเท้าเข้าพื้นที่ ตามหลังช้างเพื่อรอให้ยาสลบออกฤทธิ์ ผ่านเข้าไปในป่าไผ่ที่รกทึบนานกว่า 40 นาทีเมื่อไปถึงจุดที่ช้างป่าล้มตัวลงนอน เพราะฤทธิ์ยาสลบ ซึ่งห่างจากฐานปฏิบัติการถ้ำพระ 4-5 กิโลเมตรเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ และส่วนที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือรักษาอาการบาดเจ็บ โดยช้างมีขนาดใหญ่อายุประมาณ 15-20 ปี น้ำหนักราว 7 ต้น พบว่าบริเวณก้นเหนือหางขึ้นไปมีบาดแผลเป็นรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร 1 แผลลึกประมาณ 2 นิ้ว บริเวณสะโพกหลังด้านขวาอีก 1 แผล และบริเวณขาขวาด้านหลังตรงข้อพับอีก 1 แผลซึ่งเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ช้างป่าเดินไม่สะดวก มีอาการติดเชื้ออักเสบ จึงรีบให้น้ำเกลือเข้าที่หลังใบหู ปลายขาซ้าย และทำความสะอาดแผล ฉีดยาแก้ปวด แก้อักเสบ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทุกคนต้องทำงานด้วยความเร่งรีบและระมัดระวัง หวั่นช้างป่าตัวอื่นจะเข้ามาสมทบ กระทั่งยาสลบใกล้จะหมดฤทธิ์ จึงถอนกำลังทุกส่วนออกมาโดยปลอดภัย



นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 อุดรธานี (รักษาการหัวหน้าชุดพญาเสือ) ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนหลังจากการรักษาช้างป่าได้สำเร็จ ว่า ภารกิจในครั้งนี้ถือว่าสำเร็จลุลวงไปด้วยดี ตลอด 2 วันที่ทีมแพทย์เข้าตดตามรักษาอาการบาดเจ็บของช้างป่างาเดียว ซึ่งชุดทีมสเคาหน้า ทีมชุดยิงยาสลบของคุณหมอ แล้วก็เจ้าหน้าที่ที่ดูพฤติกรรมของช้าง เข้ายิงยาสลบได้ตั้งแต่เช้า แล้วทีมแพทย์ก็เข้าไปรักษาบาดแผล

โดยสรุปแล้วช้างตัวนี้ได้รับบาดเจ็บจากภัยธรรมชาติ ไม่ได้เกิดจากฝีมือมนุษย์ หรือถูกคนทำร้าย ซึ่งดูจากลักษณะของบาดแผลและจากการลงมติร่วมกับทีมแพทย์ที่รักษาเห็นพ้องต้องกันว่าบาดแผลเกิดจากการต่อสู้กันของช้าง แผลถูกแทงด้วยงา ตั้งแต่โคนหาง สะโพกขวา และก็ข้อเท้า รวม 3 จุดด้วยกัน ก็เป็นแผลลึกน่าจะมีการอักเสบเป็นเหตุทำให้ช้างเดินได้ช้าลง และก็มีความเหนื่อยล้า ซึ่งแพทย์ได้ทำการรักษาตามอาการให้ยาแก้อักเสบ แก้ปวด หลังจากรักษาเสร็จเราก็เห็นว่าช้างสามารถลุกขึ้นยืนได้ปกติ แต่ก็จะต้องดูอาการไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งหลังจากนี้จะมีเจ้าหน้าที่ชุดเฝ้าระวังของเขตภูวัว ติดตามดูพฤติกรรมว่าหลังจากได้รับการรักษาช้างป่าจะเดินได้ไกลกว่าเดิมหรือไม่ และดูลักษณะการเดินของขาหลังว่าเดินได้คล่องเหมือนเดิมหรือไม่ ซึ่งอาจจะใช้เวลาอีกหลายวัน หรือ 1-2 สัปดาห์

ด้าน สพ.ญ.สุภกานต์ แก้วโชติ นายสัตวแพทย์ชำนาญการ สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กลุ่มงานเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวว่า จากที่ได้รับรายงานในพื้นเบื้องต้นทราบว่าช้างมีอาการบาดเจ็บขาลาก ซึ่งก็ไม่ทราบสาเหตุเกิดจากอะไร ก็ได้ส่งทีมติดตามพร้อมชุดยิงยาสลบ เพื่อประชิดตัววางยาทำแผล เนื่องจากว่าเราไม่ทราบว่าแผลเกิดจากอะไร เช่น เกิดจากลูกปืน หรือเกิดจากการทำร้ายหรือเปล่า ซึ่งหลังจากเห็นแผลแล้วก็น่าจะเกิดจากการสู้กันของช้างป่า มีอยู่ 3 จุดใหญ่ๆ มีอาการปานกลางถึงหนัก มีแผลที่ค่อนข้างสำคัญคือเกิดอยู่ช่วงข้อเข่าขาหลังด้านขวา ตรงนี้เองที่ทำให้ช้างเดินขาลาก และช่วงโคนหางซึ่งแรกกระแทกตรงนั้นอาจจะเป็นไปได้ที่จะทำให้กระดูกเชิงกรานอาจจะมีปัญหา แต่ไม่มีกระดูกหักหรือโผล่ออกมา การทำงานของทีมแพทย์ก็มีทำความสะอาดแผล ล้างแผล เอาพวกคราบหนอง พวกหนอนแมลงวัน ที่อยู่ในแผลออก เพื่อให้แผลเกิดการสมานแล้วก็ให้ยาฆ่าเชื้อออกฤทธิ์ได้นานถึง 2 สัปดาห์ แล้วก็ให้ยาแก้ปวดลดอักเสบออกฤทธิ์ได้ 2-3 วัน และให้ยาปฏิชีวนะเติมที่ให้สมดุลกับน้ำหนักตัวของช้างที่มีปริมาณมากกว่า 7 ต้น หลังจากนี้การพื้นตัวของช้างก็จะดีขึ้นตามลำดับ หลังจากนี้เจ้าหน้าที่ก็จะติดตามอาการอย่างใกล้ชิดว่าช้างสามารถกินได้ปกติดีหรือไม่



ขอขอบคุณทีมา ข่าวมติชนออนไลน์ เข้าอ่านข่าวต้นฉบับได้ที่  https://www.matichon.co.th/region/news_972286‘>

ข่าวเด่นบึงกาฬ ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด