จังหวัดบึงกาฬดึงส่วนราชการ ภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจเป็นแบบอย่างการจำกัดขยะแบบยั่งยืน
ที่ห้องสิรินธรวัลลี ศาลากลางจังหวัดบึงกาฬชั้น 4 นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ เป็นประธานในการลงนามบันทึกความเข้าใจจังหวัดบึงกาฬในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการการจัดการสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยจังหวัดบึงกาฬ ตามโครงการจังหวัดสะอาด ตามแนวทางประชารัฐ โดยมีตัวแทนส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคการศึกษา รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนในจังหวัดบึงกาฬ ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจในการจัดการขยะต้นทางในหน่วยงานของตัวเองเพื่อเป็นการรักษาความสะอาดลดปริมาณขยะและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับประชาชนทั่วไป
[videojs mp4=”http://122.155.92.12/centerapp/UploadFiles/Video/2561/07/13/Mobile/VNOHT610713001007001_13072018_110618.mp4″ poster=”https://scontent-cdg2-1.xx.fbcdn.net/v/t1.0-9/37074022_2088591341460250_6382012933009833984_o.jpg?_nc_cat=0&oh=a41ffd7fca6c292a4adae5dcce46c9df&oe=5BDB086B” width=”530″ height=”315″]
จังหวัดบึงกาฬได้จัดทำแผนปฏิบัติการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” และดำเนินการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ “ประเทศไทยไร้ขยะ” ตามแนวทาง “ประชารัฐ” และดำเนินการอำนาจหน้าที่ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ.2560 และให้เป็นไปตามแนวทางการพัฒนาจังหวัดบึงกาฬที่ว่า “สร้างวินัย สร้างบึงกาฬ” โดยให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ภาคการศึกษาและภาคศาสนาร่วมกันขับเคลื่อนโดยดำเนินการสนับสนุนและขยายผลให้มีการกำจัดขยะมูลฝอยตั้งแต่บ้านเรือน สถานศึกษา สถานประกอบการ รวมทั้งสถานบริการต่างๆ ทั้งในชุมชนและสถานที่ท่องเที่ยว ส่งเสริมให้เกิดกลไกการคัดแยกและนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ไห้มากที่สุด และเก็บรวบรวมกำจัดขยะอันตรายอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ สร้างจิตสำนึกให้กับเด็ก เยาวชนและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำจัดขยะและตระหนักถึงปัญหา รวมถึงการเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการลงนามความเข้าใจในวันนี้เพื่อให้เป็นไปตามตัวชี้วัดเป้าประสงค์คือ 1.ขยะมูลฝอยชุมชนที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2561 40 เปอร์เซ็นต์ ได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ 2.สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการทั่วประเทศ 20 เปอร์เซ็นต์ ได้รับการปรับปรุงแก้ไข ปิด หรือบำบัดฟื้นฟู 3.ขยะมูลฝอยชุมชนที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2561 30 เปอร์เซ็นต์ ถูกนำไปใช้ประโยชน์ 4.ครัวเรือน 50 เปอร์เซ็นต์ เข้าร่วมเครือข่าย “อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก” เพื่อส่งเสริมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย 5.หมู่บ้านชุมชน 100 เปอร์เซ็นต์ มีการจัดตั้งจุดรวมขยะอันตรายจากชุมชน 6.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 100 เปอร์เซ็นต์ มีภาชนะรองรับมูลฝอยแบบแยกเป็นประเภทในสวนสาธารณะและสถานที่ท่องเที่ยวทุกแห่ง 7.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งในเขตพื้นที่จังหวัดบึงกาฬมีข้อตกลงมอบหมายให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการเก็บขน กำจัดขยะมูลฝอยอันตรายชุมชนของจังหวัดบึงกาฬ 9. ส่งเสริมให้ชุมชน ครัวเรือน มีการดำเนินการจัดทำถังขยะอินทรีย์ หรือขยะเปียกครัวเรือนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของครัวเรือน
นอกจากนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬมอบหมายให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันอย่างจริงจังในการจัดการขยะโดยเริ่มต้นจากตนเองทำให้เป็นนิสัยไม่ใช่ทำเพราะคำสั่งอย่างเดียว ทุกหน่วยงานต้องบริหารจัดการเรื่องขยะในหน่วยงานของตนเอง ตั้งแต่การลดปริมาณขยะเปียก ขยะแห้งและจะต้องมีการคัดแยกขยะรวมถึงต้องมีการนำขยะมาใช้ประโยชน์ และมองไปถึงภาพรวมในการกำจัดขยะ ตั้งแต่ขยะที่เกิดบนพื้นดิน ใต้ดิน เช่น ตามท่อระบายน้ำต่างๆ และขยะบนอากาศ เช่น สายไฟฟ้า สายสัญญาณต่างๆ เถาวัลย์ที่เลื้อยตามเสาไฟ ต้องจัดการให้มีความเรียบร้อย ที่ผ่านมาจะต้องไม่มีการโยนความผิดให้ใคร ซึ่งต่อไปทุกภาคส่วนต้องมีการคุยกันและร่วมมือกันทำงาน หากมีปัญหาอะไรต้องคุยกัน ร่วมกันแก้ไข ไม่โยนความรับผิดชอบให้กัน ต้องมาช่วยกันแก้ไขปัญหาและช่วยกันพัฒนาบ้านเมือง