สปป.ลาว เตือนชาวบ้านริมแม่น้ำโขงเฝ้าระวัง หลังเขื่อนไซยะบุรี เตรียมทดลองปั่นกระแสไฟฟ้าส่งไทย ทำระดับน้ำสูงขึ้น-ลดลงอย่างรวดเร็ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ข่าว “Laoedaily” ของ สปป.ลาว ได้แจ้งข่าวเฝ้าระวังระดับน้ำโขงจะผันผวน ระหว่างวันที่ 15-29 กรกฎาคม 2562 นี้ เนื่องจากเขื่อนไซยะบุรี กำลังจะเริ่มขั้นตอนการทดลองการปั่นกระแสไฟฟ้า และทำให้ระดับน้ำโขงสูงขึ้นและลดลงอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ รายงานข่าวดังกล่าว ได้แจ้งเตือนให้ประชาชนชาวเมืองปากลาย แขวงไซยะบุรี ซึ่งมีเขตแดนติดต่อกับ จ.เลยของประเทศไทย ให้เตรียมการรับมือ และเฝ้าระวังปัญหาที่จะเกิดจากระดับน้ำที่จะสูงขึ้นและลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงทดลอง ปิด-เปิด ประตูระบายน้ำของเขื่อนไซยะบุรี
สำหรับเขื่อนไซยะบุรี มีกำลังผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ 1,275 MW โดยคาดว่าการทดลองปั่นกระแสไฟนั้น เพื่อเร่งให้ทันกำหนดการผลิตไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในเดือนตุลาคม 2562
สอดคล้องกับที่ นายไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัว “Chainarong Setthachua” เตือนประชาชนชาวไทยที่อยู่ริมแม่น้ำโขงให้เตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าว โดยมีข้อความระบุว่า
“คนริมโขงเตรียมรับมือด่วน..แผนกพลังงานและบ่อแร่ แขวงไซยะบุรี ออกหนังสือเตือนแจ้งเจ้าเมืองไซยะบีรี มากลาย และแก่นท้าว ว่าเขื่อนไซยะบุรีจะปล่อยน้ำเพื่อทดสอบผลิตไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง 72 ชั่วโมง (3 วัน) จะทำให้น้ำโขงสูงกว่าปกติ เริ่มตั้งแต่ 12.00 น. วันที่ 17 ก.ค.62 เป็นต้นไป พี่น้องริมฝั่งโขงเตรียมรับมือด้วยครับ เพราะนอกจากน้ำในแม่น้ำโขงสูงกว่าปกติแล้ว ยังจะทำให้กระแสน้ำในแม่น้ำโขงเชี่ยวและผันผวนด้วย ควรผูกเรือประมงให้แน่น เก็บเครื่องมือประมง เครื่องสูบน้ำ อุปกรณ์เกษตรริมโขง และทรัพย์สิน ขึ้นที่สูงและปลอดภัย”
ขณะเดียวกันมีรายงานว่า สถานการณ์แม่น้ำโขงในเขตประเทศไทยตั้งแต่อำเภอเชียงคาน ปากชม สังคม ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ในช่วงที่ผ่านมา ระดับน้ำแม่น้ำโขงลดลงอย่างต่อเนื่อง เกาะแก่งโผล่พ้นน้ำ โดยประชาชนริมฝั่งโขงต่างวิตกกังวลเรื่องระดับน้ำที่แห้งขอด เนื่องจากหลายหมู่บ้านต้องอาศัยน้ำในแม่น้ำโขงเป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค
อย่างไรก็ตาม วิกฤติจากเขื่อนไซยะบุรี ซึ่งเป็นเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงตอนล่างนั้น ที่ผ่านมานับตั้งแต่การเริ่มต้นสร้างเขื่อน ได้สร้างความกังวลในกับประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงทั้ง สปป.ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม เป็นอย่างมากในเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยการสร้างเขื่อนดังกล่าวไม่ได้ทำการศึกษารายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศแต่อย่างใด
ในช่วงระยะเวลา 20 กว่าปีที่ผ่านมา IR ได้ติดตามผลกระทบของเขื่อนและพบว่าเกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศน์ค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะที่พรมแดนไทยลาวตอนบน โดยแม่น้ำโขงขึ้นลงผิดธรรมชาติ
ส่วนแม่น้ำโขงตอนล่างเอง มีแผนก่อสร้าง 11 โครงการเขื่อน ในลาว พรมแดนไทยลาว และในกัมพูชา โดยมีเขื่อนไซยะบุรี Xayaburi dam กำลังผลิตติดตั้ง 1,285 เมกกะวัตต์เป็นเขื่อนแห่งแรกที่สร้างกั้นแม่น้ำโขงตอนล่างที่ประเทศลาว ห่างจากหลวงพระบางราว 80 กม. และห่างจาก อ.เชียงคาน จ.เลย ราว 200 กม.
เขื่อนไซยะบุรี เป็นการลงทุนของบริษัท ช.การช่าง มูลค่าราว 1.5 แสนล้านบาท โดยมีธนาคารไทย 6 แห่งเป็นผู้ปล่อยสินเชื่อ ทำสัญญาขายไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 1,220 เมกกะวัตต์ เป็นเวลา 29 ปี และจะเริ่มขายไฟฟ้าตามสัญญาเดือนตุลาคมนี้
เขื่อนได้มีการแก้ไขแบบ (designs) โดยเฉพาะทางปลาผ่านและทางเรือผ่านเพิ่มเติม เพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบเรื่องกา
รอพยพของปลา และระบบระบายตะกอน หลังมีการหยิบยกประเด็นข้อห่วงใยถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของแม่น้ำโขงโดยภาคประชาสังคมลุ่มน้ำโขง
แต่เพียรพรกล่าวว่า คณะกรรมธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission) ได้จัดทำรายงาน Reviews of Design Changed made for Xayaburi Hydropower หรือ รายงานความเห็นการทบทวนการแก้ไขแบบของเขื่อนไซยะบุรี และการวิเคราะห์ตามแนวทางการลดผลกระทบของโครงการเขื่อน (Mekong River Commission’s Mitigation Guideline) ก็ยังชี้ว่า ผลกระทบสำคัญจากเขื่อนสามารถบรรเทาได้เพียงบางส่วนเท่านั้น และผลกระทบที่เหลืออยู่อาจจะต้องใช้เวลา 20-30 ปี
รายงานยังได้ระบุว่า ข้อมูลยังไม่เพียงพอที่จะประเมินผลอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสิทธิภาพของมาตรการบรรเทาผลกระทบต่างๆ เพราะไม่มีการส่งข้อมูลเกี่ยวกับหลักการบริหารจัดการเขื่อน ซึ่งเพียรพรกล่าวว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดว่าผลกระทบจะรุนแรงแค่ไหน
ในปี พ.ศ. 2555 เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ได้ฟ้องต่อศาลปกครอง ประเด็นข้อห่วงใยเรื่องผลกระทบข้ามพรมแดนของเขื่อนไซยะบุรี
ศาลปกครองชั้นต้นไม่รับพิจารณาคดี แต่ผู้ฟ้องคดีได้ร่วมกันอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ใน ปี พศ.2559 ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดี
‘>