LINE : ติดต่อผู้ดูแล

ยินต้อนรับเว็บไซต์ข่าวสารเพจข่าวท้องถิ่นบึงกาฬ

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2024
ข่าวเด่นบึงกาฬ

ปศุสัตว์บึงกาฬร่วมกับชุดเฉพาะกิจกรมปศุสัตว์ลุยจับโรงฆ่าสัตว์เถื่อน 2 ราย

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 15 ส.ค.นายสัตวแพทย์ ดร. สมพร พรวิเศษศิริกุล ปศุสัตว์จังหวัดบึงกาฬ พร้อมด้วยชุดเฉพาะกิจบังคับใช้กฎหมายกรมปศุสัตว์ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์เขต 4 ด่านกักกันสัตว์หนองคาย เจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์บึงกาฬ เข้าจับกุมโรงฆ่าสัตว์(สุกร)เถื่อนภายในบ้านเลขที่ 257 หมู่ที่ 1 ต.โนนสมบูรณ์ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ ที่มีนางวารินทร์ จันทร์อ้วน อายุ 28 ปี รับเป็นเจ้าของบ้าน ซึ่งขณะเข้าจับกุมพบกำลังจะชำแหละหมู 1 ตัว น้ำหนักประมาณ 80 กิโลกรัม ถูกแทงเอาเลือดออกหมดรอการขูดขน จึงยึดไว้เป็นของกลาง พร้อมกับเขียง 2 อัน มีด 5 เล่ม กะละมังสำหรับใส่เครื่องใน 1 ใบ ถาดรองเนื้อหมู 2 อัน และไม้ทุบหัวหมูอีก 1 ดุ้นนำตัวนางวารินทร์ พร้อมของกลางทั้งหมดส่ง พงส.สภ.เมืองบึงกาฬดำเนินคดี




อีกรายจับกุมนายจรัญ อุทัยสว่าง อายุ 43 ปี อยู่บ้านเลขที่ 187 หมู่ที่ 4 บ้านหนองเลิง ต.หนองเลิง อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ ใช้ที่วางในสวนยางพาราตั้งโรงฆ่าสัตว์ โดยไม่ได้รับอนุญาต พร้อมยึดของกลาง ค้อน ตาชั่ง มีด เขียง ถาดรองเนื้อหมู อีกจำนวนหนึ่งนำตัวนายจรัญฯ พร้อมของกลางทั้งหมดส่ง สภ.หอคำ อ.เมืองบึงกาฬ และแจ้งความทั้ง 2 ราย ว่าทำผิด ตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2559 “ห้ามไม่ให้ผู้ใดประกอบกิจการฆ่าสัตว์ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต” ซึ่งมีบทลงโทษตามมาตรา 56 จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับเงินไม่เกิน 200,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

นายสัตวแพทย์ ดร. สมพร พรวิเศษศิริกุล ปศุสัตว์จังหวัดบึงกาฬ กล่าวว่า ปศุสัตว์จังหวัดบึงกาฬ ได้ร่วมกับชุดเฉพาะกิจกรมปศุสัตว์ เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์เขต 4 ได้บูรณาการร่วมกันปฏิบัติการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์ เพื่อจัดระเบียบเนื่องจากปัจจุบันมีเรื่องของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร กำลังระบาดในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งติดกับจังหวัดบึงกาฬ จำเป็นจะต้องเข้มงวดไม่ให้เกิดโรคในพื้นที่ โดยเฉพาะโรงฆ่าสัตว์เถื่อน ซึ่งจะดำเนินการกวดขัน ตรวจจับกุม ทุกอำเภอในจังหวัดบึงกาฬ ในวันนี้ได้จับกุมผู้กระทำผิดที่ใช้บ้านตัวเองเป็นแหล่งฆ่าสัตว์ โดยไม่ใช้สถานที่ที่ทางการจัดไว้ให้ ซึ่งเป็นความผิดทางอาญาต้องดำเนินคดี เพื่อที่จะปราบปรามไม่ให้มีการลักลอบหรือทำการฆ่าสัตว์เถื่อนในพื้นที่ ที่สำคัญยากต่อการตรวจพิสูจน์ซากสัตว์ หากว่ามีการนำสุกรที่ติดโรคมาชำแหละขาย ก็จะส่งผลทำให้ผู้บริโภคเสียชีวิตได้นั่นเอง.

นิธิศักดิ์ เศรษฐแสงศรี//บึงกาฬ 0933199399

ขอขอบคุณข่าวสยามรัฐ https://siamrath.co.th/n/97167‘>

ข่าวเด่นบึงกาฬ ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด