บึงกาฬเนื้อหอมนักลงทุนรายใหญ่ลงพื้นที่ดูความพร้อมก่อนตัดสินใจสร้างโรงงานผลิตอะไหล่ที่ทำจากยางพารา
นายพงษ์ศักดิ์ ปรีชาวิทย์ ผวจ.บึงกาฬ นายนิพนธ์ คนขยัน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ นางกุสุมา หงส์ชูตา ประธานหอการค้าจังหวัดบึงกาฬ ให้การต้อนรับมิสเตอร์เคอร์ จิ้นหมิง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไทยหัวเว่ย จำกัด(Thai Huawei)และนายจรูญ จารุรัชตานนท์ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายไทย ที่เดินทางมาศึกษาเรื่องยางพารา และความเป็นไปได้ในการก่อสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนอะไหล่แบตเตอรี่ ยี่ห้อ หัวเว่ย(Thai Huawei Battery)ที่นำคณะโดยพลตำรวจตรีขจร สัยวัตร์ อดีต สปช.จังหวัดบึงกาฬ ณ ห้องประชุมชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดบึงกาฬ
นายพงษ์ศักดิ์ ปรีชาวิทย์ ผวจ.บึงกาฬ กล่าวว่า ต้องขอบคุณท่าน มิสเตอร์เคอร์ จิ้นหมิง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไทยหัวเว่ย จำกัด(Thai Huawei)และนายจรูญ จารุรัชตานนท์ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายไทย ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของจังหวัดบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬเรากำลังขับเคลื่อนความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะเรื่องยางพาราที่เป็นจุดแข็งของจังหวัดบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬเป็นจังหวัดที่จัดตั้งขึ้นใหม่ เป็นจังหวัดลำดับที่ 77 ของประเทศไทย ลักษณะภูมิประเทศเป็นเมืองชายแดน ติดกับเมืองบอลิคำไซ ของสปป.ลาว ระยะทางยาวกว่า 120 กิโลเมตร มีเนื้อที่กว่า 4,305 ตารางกิโมเมตรถ้าเทียบเป็นไร่ก็ประมาณ 2.6 ล้านไร่ปลูกยางพาราถึง 1 ล้านไร่ซึ่งถือเป็นอันดับ 1 ของภาคอีสาน เป็นอันดับ 6 ของประเทศไทย ในอนาคตบึงกาฬจะมีสะพานแห่งที่ 5 ระหว่างบึงกาฬ-ปากซัน สปป.ลาว ซึ่งก็ไม่น่าจะเกิน 2 ปีเพราะที่ผ่านมาระหว่าง 2 ประเทศได้มีข้อตกลงระหว่างกันในเรื่องของแบบสะพาน ด่านศุลกากรและด่านตรวจคนเข้าเมือง พื้นที่เวนคืนชัดเจนทั้งหมดแล้ว ที่สำคัญที่สุดในปีนี้งบประมาณปี 2559 รัฐบาลไทยได้จัดสรรงบประมาณให้จังหวัดบึงกาฬ 200 ล้านบาทในการเวนคืนที่ดินในการก่อสร้างสะพานแห่งที่ 5 ยิ่งมั่นใจมากกว่านั้นคือเมื่อวันที่ 26 ต.ค.58 ที่ผ่านมา ท่านสมสะหวาด เล่งสะหวัด รองนายกรัฐมนตรี สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ท่านได้ให้คำยืนยันแล้วว่าผู้นำรัฐบาลมีความคิดเห็นตรงกันในการที่จะสนับสนุนงบประมาณก่อสร้างสะพานไทยลาวแห่งที่ 5 บึงกาฬ – ปากซัน อันนี้คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในจังหวัดบึงกาฬแห่งนี้ ปัจจุบันโรงงานผลิตยางพาราในจังหวัดบึงกาฬจะนำผลผลิตที่ได้ไปส่งลงเรือที่แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ซึ่งในอนาคตบึงกาฬสร้างสะพานแห่งที่ 5 เสร็จภาคอุตสาหกรรมทั้งหมดจะเคลื่อนออกจากสะพานแห่งที่ 5 ไปแขวงบอลิคำไซ ข้ามไปเวียดนามและออกท่าเรือฮาติง ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ทางนักลงทุนโดยเฉพาะทางประเทศจีนที่ให้ความสนใจจังหวัดบึงกาฬ นอกจากสะพานแห่งที่ 5 แล้วจังหวัดบึงกาฬยังได้กำหนดบริเวณใกล้กับสะพานเป็นพื้นที่3 เหลี่ยมเศรษฐกิจหรือเขตเศรษฐกิจพิเศษเฟส 2 นอกจากนั้นยังได้เสนอที่ให้รัฐบาลซึ่งเป็นที่สาธารณะประโยชน์จำนวน 4,200 ไร่สร้างสนามบินนานาๆชาติบึงกาฬ อันนี้คือจะให้นักลงทุนเขามีความมั่นใจว่าไม่ใช่แค่มาลงทุนอย่างเดียว เราพร้อมด้วยโครงสร้างและด้วยบริบทด้านการค้าระหว่างประเทศเราพร้อมมากนะครับแม้ว่าจังหวัดบึงกาฬจะไม่ใช่เขตเศรษฐกิจพิเศษเฟส 2 ทั้งที่ตอนแรกมีชื่ออยู่แต่คนบึงกาฬเขาไม่รอ เขาทำข้อมูลตัวเอง มีการตั้งทีมงานประชุมศึกษาและก็ส่งข้อมูลให้กับรัฐบาล ถ้าวันใดวันหนึ่งเกิดเฟส 2 ตามจังหวัดที่เขามีปัญหาความไม่พร้อมผมคิดว่าจังหวัดบึงกาฬจะได้รับการเสนอชื่อเข้าเสียบแทนทันที ดั้งนั้นหากสะพานแห่งที่ 5 เกิดสนามบินเกิด สามเหลี่ยมเขตเศรษฐกิจพิเศษเฟส 2 เกิดผมว่าบึงกาฬจะเป็นเมืองที่โตมากในอนาคต และที่สำคัญที่สุดก็คือภาคอุตสาหกรรมที่เรากำหนดแผนไว้คือต้องมีนิคมอุตสาหกรรมเพียง 1 แห่งเท่านั้น
สุดท้ายในถานะผู้ว่าราชการจังหวัดต้องขอเรียนท่านมิสเตอร์เคอร์ จิ้นหมิง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไทยหัวเว่ย จำกัด(Thai Huawei)และนายจรูญ จารุรัชตานนท์ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายไทย ด้วยความภาคภูมิใจว่าคนในจังหวัดบึงกาฬทุกภาคส่วนทั้งผู้หลักผู้ใหญ่ เช่นท่านพินิจ จารุสมบัติ นายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน พลตำรวจตรีขจร สัยวัตร์ อดีต สปช.จังหวัดบึงกาฬ และกำนันนิพนธ์ คนขยัน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ ที่คอยผลักดัน รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเจ้าหน้าที่ของเราก็พร้อมให้การสนับสนุนให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ เราถือว่าท่านทั้งที่เข้ามาเยี่ยมเยือนหรือว่ามาลงทุนถือว่าท่านเป็นแขกของเรา มีอะไรที่คิดว่าพวกเราสนับสนุนได้เราความยินดี ถ้ามันเป็นปัญหาเกิน เราพร้อมที่จะประสานงานให้ ขอให้ท่านมีความมันใจที่จะมาลงทุน กับจังหวัดบึงกาฬ
มิสเตอร์เคอร์ จิ้นหมิง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไทยหัวเว่ย จำกัด(Thai Huawei)เมืองจีนเป็นประเทศอุตสาหกรรม มีการใช้วัตถุดิบเยอะมากจนวัตถุดิบแทบจะไม่เหลือเพราะฉะนั้นรัฐบาลจีน เขาจึงมีนโยบายให้แต่ละเมืองโดยเฉพาะเมืองที่เป็นเมืองใหญ่ เช่น กวางตุ้งกับเชียงไฮ้ ที่เป็นเมืองอุตสาหกรรมผลิตอะไหล่ทุกอย่างที่ใช้วัตถุดิบ อย่างพาราก็ใช้เยอะมากเขาก็พยายามผลักดันแต่ละเมืองแต่ละตำบลที่มีอุตสาหกรรมโรงงานให้ออกมาลงทุนเพื่อสร้างความแข็งแกร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจีนรัฐบาลของจีนก็สนับสนุนให้ออกมาลงทุนโดยตอนนี้รัฐบาลจีนโน้มน้าวให้มาลงทุนในอาเซียน
ยกตัวอย่างบริษัทหัวเว่ยที่ออกมาลงทุนในต่างประเทศเราเป็นธุรกิจที่ค่อนข้างโตไวเพราะส่งออกสินค้าไป 140 กว่าประเทศทั่วโลกเรามีโรงงานในประเทศจีนทั้งหมด 5 โรงงาน 1 โรงงานเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่เรามีที่อินโดเนียเซียด้วยมีออฟฟิตอยู่ที่ฮ่องกง และมีออฟฟิตอยู่ที่ดูไบ แต่เรามาอยู่ที่เมืองไทยใช้แค่ 30 ไร่ เราทำตั้งแต่แบตเตอรี่เป็นแบตเตอรี่ชื่อแบรนด์ของเราเลยนอกจากนี้ยังทำมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า อสังหาริมทรัพย์ เรามาอยู่เมืองไทยกว่า 30 ปี เมืองไทยเป็นประเทศที่เป็นมิตรเราแฮปปี้มากที่มาลงทุนที่เมืองไทย วันนี้เรามารับทราบข้อมูลว่าพื้นที่ไหนมียางพาราเยอะเรามีความสนใจเพราะเพราะธุรกิจเรามีความต้องการใช้วัตถุดิบจากยางพาราค่อนข้างเยอะ เรานำเข้าวัตถุดิบยางพารามาจากภูมิภาคอาเซียน นำเข้าในบริษัทที่ไม่ต้องผ่านตัวแทนจำหน่าย เราจึงอยากมาดูพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ
ปัจจุบันนี้รัฐบาลจีนเราก็มีผู้ว่า ผู้ว่าในแต่ละเมืองในปัจจุบันก็จะมาเยี่ยมเมืองไทยเรื่อยๆ ซึ่งเขาเองก็รู้จักกับผู้ว่าถ้ามีโอกาสก็จะนำไปประชาสัมพันธ์ต่อเพื่อให้เมืองอื่นๆ เข้ามาเยี่ยมเข้ามารู้จัก จังหวัดบึงกาฬว่าในพื้นที่มีจุดเด่น เช่น ยางพารานี่สามารถทำอะไรบ้าง นักธุรกิจประเทศจีนเขาออกมาลงทุนประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย รวมทั้งประเทศไทย พวกเขาเหล่านี้เป็น กลุ่มนักลงทุนต่างประเทศ ที่ออกมาลงทุนแล้วเราก็จะมี สมาคมระหว่างไทย-จีน เราก็จะเดินทางไปเชื่อมสัมพันธ์กันตามเมืองต่างๆ หรือไปพบปะกับผู้ว่าเมืองต่างๆ เราจะไปบอกเขาว่าที่เมืองไทยที่จังหวัดบึงกาฬมีวัตถุดิบที่ได้เปรียบ เช่น ยางพารา มีในเรื่องความปลอดภัย ความพร้อมของประชาชนรวมทั้งผู้ใหญ่ที่ให้การสนับสนุนเรา มันเป็นอะไรที่น่าสนใจมากยิ่งถ้าประชาสัมพันธ์ลงไปในกลุ่มก้อนนักธุรกิจที่อยู่ในจีน นักธุรกิจที่อยู่ในมาเล อินโด ก็มีโอกาสมาก เราคิดว่าตรงนี้เป็นจุดเด่นมากๆ เลยในเรื่องของยางพาราที่เมืองจีนมีความต้องการสูงมาก เขารู้สึกมีความมั่นใจว่าถ้าอย่างนี้อีกไม่นาน จังหวัดบึงกาฬจะต้องมีนักลงทุนเข้ามาแน่นอนแล้วจะทำให้เศรษฐกิจของชุมชนดีขึ้นไปด้วยแน่นอน
ขอขอบคุณข่าว สำนักงานประชาสัมพันธ์บึงกาฬ’>