LINE : ติดต่อผู้ดูแล

ยินต้อนรับเว็บไซต์ข่าวสารเพจข่าวท้องถิ่นบึงกาฬ

วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน 2024
ข่าวเด่นบึงกาฬ

เอาน้องเลี้ยงพี่! สวนมะเขือเทศริมโขง “ลุงรักษ์” บึงกาฬ ต้านวิกฤตยางพารา

12571255_10205823014361615_1752149287_n

12583900_10205823011561545_1901657850_n

12606775_10205823011481543_232682196_n

ริมแม่น้ำโขง ข้างวัดโพธาราม ณ บ้านท่าใคร้ หมู่ที่ 5 ต.บึงกาฬ อ.เมือง จ.บึงกาฬ หากได้มาเยือนเดินเล่นเพลินๆแล้ว ต้องติดใจในบรรยากาศลมเย็นๆ ทอดสายตาดูสายน้ำโขง แถมสดชื่น ชุ่มปอดเป็นที่สุด กับอากาศยามแลง พร้อมนมัสการหลวงพ่อพระใหญ่ ขอพรเป็นมงคลให้กับชีวิตด้วย

ไม่ใกล้ไม่ไกลทางเดิน ที่นำไปสู่ถนนเรียบโขงข้างวัดโพธารามนั้น มีพื้นที่กว่า2ไร่ ที่ถูกคั่นกลางด้วยถนน มองเห็นผู้คนก้มๆเงย กำลังสาละวนกับกิจการงานตรงหน้า อย่างขะมักเขม้น จึงอดไม่ได้ที่จะต้องเดินเข้าไปสอบถาม

12606884_10205823010921529_1905136433_n

“ลุงรักษ์ สอดซ้าย” คือชายผู้หันมาสนทนา อย่างยิ้มแย้ม สอบถามได้ความว่า ลุงรักษ์ เป็นชาวบึงกาฬ สำมะโนครัวคือ บ้านเลขที่ 127 ม.5 ต.บึงกาฬ อ.เมือง จ.บึงกาฬ เป็นเจ้าของพืนที่กว่า2ไร่ที่เรากล่าวถึง

ลุงรักษ์ เล่าว่า ตัวเองเป็นเกษตรกร ที่ตั้งต้น ลงแรงในการทำสวนแห่งนี้ “สวนมะเขือเทศ” กว่า2ไร่ คือ ความพยายามของครอบครัว ในการสร้างฐานชีวิต และความมั่นคง ผ่านการทำกิน ให้มีรายได้ เพื่อเลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัว

“ผมปลูกมานานแล้ว ตั้งแต่บึงกาฬยังเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดหนองคาย จนมาเป็นจังหวัดบึงกาฬ ก็ไม่เคยเลิกทำ” ลุงรักษ์กล่าว

12606899_10205823012961580_1170808480_n

แต่สถานการณ์ และ ปัจจัย ของคนทำเกษตร มีเยอะแยะ ไปหมด ทั้งภัยธรรมชาติ และกลไกการตลาด ลุงรักษ์ บอกว่า “ตอนนี้ราคามะเขือเทศ ตกหนักไม่แพ้ยางพาราเหมือนกัน ช่วงนี้กิโลละ 4 บาท แทบจะอยู่ไม่ได้เลย ถ้าจะให้อยู่ได้ ต้องกิโลละ 10 บาทขึ้นไป”

ผลผลิตมะเขือเทศ บึงกาฬ ของลุงรักษ์ จะถูกส่งต่อไปยังโรงงานใหญ่ๆ เพื่อแปรรูปเป็นซอสมะเขือเทศนั้น ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ผ่านกลไกเป็นช่วงๆ รับซื้อจากสวนกิโลกรัมละ 4 บาท แต่พ่อค้าคนกลางอาจขายได้ถึงกิโลกรัมละ 20 กว่าบาท “มันเป็นต้นทุนของคนกลางเหมือนกัน ลุงก็เข้าใจ” ลุงรักษ์ กล่าวย้ำอีกครั้ง

12571414_10205823012041557_2090458821_n

12571269_10205823010641522_1011534175_n

การเก็บผลผลิตมะเขือเทศ จากสวนลุงรักษ์ นั้นจะเก็บด้วยกัน 6 รอบ ตั้งแต่ต้นเดือนจนถึงสิ้นเดือนมกราคม แบ่งเป็นสองวันเก็บหนึ่งครั้งสลับกันไป เพราะ มีการเก็บผลมะเขือเทศสองชนิดคือ มะเขือเทศสี กับ มะเขือเทศแดง มะเขือเทศสีจะมีราคาดีกว่า เนื่องจาก เป็นมะเขือที่ใกล้สุก ผลจะเป็นสีเขียวเต่ง ต้องเร่งเก็บ และเมื่อทิ้งช่วงไปผลเหล่านี้จะกลายเป็นมะเขือเทศแดง รายได้ต่อการเก็บหนึ่งรอบก็ประมาณ 5 พันบาท

ลุงรักษ์ เล่าว่า “บึงกาฬไม่แห้งแล้ง มีพื้นที่ชุ่มน้ำเยอะ อย่างของลุงติดแม่น้ำโขง ก็สูบน้ำจากน้ำโขงมาใช้ในสวน แต่ก็มีต้นทุนเชื้อเพลิงบ้าง”

ลุงรักษ์ ไม่ได้ทำแต่สวนมะเขือเทศอย่างเดียว เมื่องบึงกาฬ มีการแนะนำจากหลายฝ่าย ให้ปลูกยาง ลุงรักษ์ ก็เห็นเป็นโอกาส จึงปลูกยางกับเขาด้วย

เมื่อสถานการณ์ราคายางตก ลุงรักษ์ บอกว่าไม่กระทบ เพราะ สวนมะเขือเทศ เริ่มต้นมาก่อน รายได้ที่เก็บออมจากสวนมะเขือเทศ คือ ดอกผลบางส่วนที่งอกเงยไปเป็นสวนยาง

12584105_10205823013721599_1207318248_n

12625609_10205823013481593_802101032_n

“ลุงเอาเงินที่เก็บออมจากสวนมะเขือเทศ ไปลงทุนปลูกยาง พอยางราคาตก ลุงไม่กระทบมาก เรียกว่า เอาน้องเลี้ยงพี่ คือ สวนยางดูใหญ่กว่า ก็จริง ตกบ้างขึ้นบ้าง แต่สวนมะเขือเทศ ก็จุนเจือ กันไปได้” ลุงรักษ์ กล่าว

ขณะที่สถานการณ์ยางพารา ราคาไม่ค่อยสู้ดีนัก แต่รอยยิ้มของลุงก็สู้ต่อ เล่าไปก็ลงมือเก็บลูกมะเขือเทศไป “บอกนี่แหละ คือชีวิตเกษตรกร อันไหนไม่ดีก็ปรับปรุง ปรับเปลี่ยน ต้องสู้กับมัน ก็อาชีพเรา อาชีพอื่นเขาก็สู้แบบของเขา”

http://www.matichon.co.th/news/11019

‘>

ข่าวเด่นบึงกาฬ ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด