LINE : ติดต่อผู้ดูแล

ยินต้อนรับเว็บไซต์ข่าวสารเพจข่าวท้องถิ่นบึงกาฬ

วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน 2024
ข่าวเด่นบึงกาฬ

บึงกาฬฮือฮาป้ายสถานที่ก่อสรา้งท่าอากาศยานบึงกาฬ

บึงกาฬฮือฮาป้ายสถานที่ก่อสรา้งท่าอากาศยานบึงกาฬ   ชาวโชเซียลบึงกาฬฮือฮาแชร์ป้ายการก่อสรา้งท่าอากาศยานบึงกาฬ ต่างวิพากษ์วิจารย์กันไปต่างๆนาๆ เพราะความจริง การก่อสรา้งยังไม่มีการอนุมติงบประมาณใดๆ เป็นเพียงติดป้ายเพื่อโปรโมทโครงการไว้ล่วงหน้า ตามแผนโครงการระยะยาวเช่นเดียวกับการติดป้ายสะพานมิตรภาพแห่งที่5ที่จะเกิดขึ้นที่บึงกาฬ  ทั้งนี้โครงนี้จะเกิดขึ้นแน่นอน  ทั้งสะพาน และสนามบิน ส่วนจะเริ่มก่อสรา้งยังไม่มีการกำหนด ว่าช่วงใด

12705627_1054014354668655_8628202695028213579_n

1918189_253886494942545_1728866047611076869_n 10390254_253886428275885_1721210610685879416_n 12088232_253886438275884_2830766542299601175_n 12744077_253886528275875_8143744670292767554_n

12742715_1054014374668653_7318431655575001360_n

 

บึงกาฬนั้นอยู่ในแผนเขตเศรฐกิจพิเศษ

การประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ (กรอ.) กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ที่ จ.อุดรธานี เมื่อวันที่ 22 เม.ย. พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม ในฐานะประธานที่ประชุม ได้เสนอให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างท่าอากาศยาน จ.บึงกาฬ เพื่อเชื่อมต่อไปยังประเทศลาว จากปัจจุบันที่การเดินทางด้วยเครื่องบินมีศูนย์กลางอยู่ที่ จ.อุดรธานี

“กระทรวงมหาดไทยเตรียมพื้นที่ไว้ราว 4,000 ไร่ ถ้าดำเนินการจะใช้งบราว 2,000 ล้านบาท เริ่มช่วงปี 2562 ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปีครึ่ง ช่วงแรกอาจจะขาดทุน แต่อนาคตจะเป็นสนามบินมีคนนิยม โดยเฉพาะอยู่ริมแม่น้ำโขง แม่น้ำสำคัญที่สุดของอาเซียน ซึ่งเป็นถนนเลียบริมโขง เส้นทางจักรยาน ผ่านธรรมชาติ ผ่านวัฒนธรรม อยู่ระหว่างการศึกษาในขณะนี้”

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า การเตรียมรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภาคอีสานตอนบนต้องให้ความสำคัญกับประเทศลาว ซึ่งถือเป็นจุดที่ต้องผ่านไปสู่ประเทศจีนและเวียดนาม ที่ผ่านมาได้หารือกับประเทศลาวในการกำหนดพื้นที่เชื่อมโยงไว้ 4 จุด ประกอบด้วย จ.หนองคาย ซึ่งจะมีทั้งถนนและรถไฟ จ.มุกดาหาร ช่องเม็ก จ.อุบลราชธานี และที่บึงกาฬ ซึ่งจะต้องมีสนามบิน และในเร็วๆ นี้จะมีการหารือกับประเทศเวียดนามต่อไป

“โครงการพื้นฐานมีความจำเป็นต้องเร่งรัด ทางบกแผนพัฒนาเส้นทางตะวันตก-ตะวันออกตอนบน แม่สอด-มุกดาหาร ตอนกลาง ท่าเรือทวาย-ชายแดนกัมพูชา และตอนใต้สตูล-สงขลา ตลอดจนโครงข่ายถนนเชื่อมแต่ละจังหวัด”

นอกจากนี้ รมว.คมนาคม ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาการขนส่งระบบต่างๆ ในภาคอีสาน โดยตั้งเป้าให้รถไฟมีความเร็ว 150-180 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยค่าโดยสารไม่สูงกว่าสายการบินต้นทุนต่ำ ซึ่งจะแล้วเสร็จในอีก 3-4 ปีข้างหน้า และภายในปี 2575 จะเปลี่ยนหัวรถจักรทั้งหมดเป็นหัวรถจักรไฟฟ้า ส่วนสนามบินอุดรธานีจะเพิ่มลานจอดให้รองรับเครื่องบินได้ถึง 15 เครื่อง จากปัจจุบันที่รองรับได้เพียงแค่ 7 เครื่อง

อย่างไรก็ตาม จ.บึงกาฬ เป็นพื้นที่ชายแดนที่ต้องจับตา เนื่องจากมีการเสนอให้ก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงเชื่อมลาว รวมทั้งจัดตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจชายแดนแห่งใหม่

capture-20160225-232051

capture-20160225-232117

 

 

คมนาคม” เร่งสรุปก่อสร้างสะพานแม่น้ำโขงแห่งที่ 5 (บึงกาฬ-ปากซัง) และแห่งที่ 6 (อุบลราชธานี-แขวงสาละวัน) พร้อมเดินหน้าคุยลาวผุดเส้นทางเชื่อมโยง R8 และ R12 จากนครพนมไป สปป.ลาว ถึงฮานอย ประเทศเวียดนาม ทะลุเส้นทาง AH1 หนานหนิง ประเทศจีน

นายวรเดช หารประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมการติดตามผลเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ว่า ที่ผ่านมานั้น สปป.ลาวได้เสนอที่มีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง แห่งที่ 5 จังหวัดบึงกาฬ-ปากซัง ซึ่งประเทศไทยได้เริ่มทำการศึกษารายละเอียดไปแล้ว โดยมีงบประมาณลงทุนก่อสร้างประมาณ 3,600 ล้านบาท ซึ่งจากนี้จะต้องมีการหารือร่วมกับ สปป.ลาวอีกครั้งว่าทาง สปป.ลาวต้องการให้ประเทศไทยช่วยเหลืออย่างไรบ้าง นอกจากนี้ยังมีสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 6 จังหวัดอุบลราชธานี-แขวงสาละวัน ซึ่งอยู่ระหว่างหารือรายละเอียด ทั้งนี้ หากผลการหารือร่วมกันสรุปว่าให้ความสนใจกรมทางหลวง (ทล.) จะต้องเป็นผู้ศึกษารายละเอียดโครงการก่อสร้างโดยใช้งบประมาณของกรมทางหลวงในการสำรวจ

“จากนี้จะต้องหารือร่วมกับ สปป.ลาวอีกครั้งถึงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 5 ซึ่งขณะนี้ไทยได้ทำการศึกษารายละเอียด รวมทั้งการออกแบบทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว เหลือแต่ สปป.ลาวต้องตัดสินใจว่าจะใช้เงินกู้หรือไม่ หรือต้องการให้ไทยช่วยเหลืออะไรบ้าง” นายวรเดชกล่าว

นอกจากนี้ ยังมีการเสนอเส้นทางเพิ่มเติมการเชื่อมโยงเส้นทาง R8 และ R12 ซึ่งเป็นเส้นทางคู่ขนานจากจังหวัดนครพนมไป สปป.ลาว บรรจบฮานอย ประเทศเวียดนาม เพื่อเชื่อมต่อเส้นทาง AH1 หนานหนิง ประเทศจีน ซึ่งประเทศไทยต้องการที่จะเพิ่มเส้นทางดังกล่าว เนื่องจากหากได้มีการก่อสร้างเส้นทางแล้วจะได้ประโยชน์ด้านการขนส่งสินค้าเป็นจำนวนมาก โดย สปป.ลาวจะได้รับประโยชน์คือได้เส้นทางที่พัฒนาแล้วเช่นกัน ซึ่งขั้นตอนแรกจะต้องหารือร่วมกับ สปป.ลาวเพื่อขอเพิ่มเส้นทาง และดำเนินการสำรวจเส้นทาง เนื่องจากเป็นเส้นทางแคบๆ และติดปัญหาเรื่องภูเขา หากศึกษาแล้วเหมาะสมประเทศไทยก็พร้อมที่จะดำเนินการ และเสนอให้ความช่วยเหลือด้านเงินกู้แก่ สปป.ด้วย

อย่างไรก็ตาม ถือว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน โดยมอบหมายให้กรมทางหลวง กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เร่งเจรจาร่วมกับ สปป.ลาวทันที

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ในส่วนของกระทรวงคมนาคมนั้นจะมีการดำเนินการ 2 สะพาน คือ สะพานข้ามแม่น้ำโขง แห่งที่ 5 เชื่อมจังหวัดบึงกาฬ-ปากซัง สปป.ลาว และเชื่อมไปถึงประเทศเวียดนามได้ โดยจะเริ่มหารือกับรัฐบาลลาว และคาดว่าจะสรุปการเจรจาเริ่มดำเนินการได้ในปี 2558 สะพานที่ 2 คือ โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเมยแห่งที่ 2 อ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งได้มีการวางแผนออกแบบสำรวจแล้ว และจะได้หารือกับพม่าเรื่องแหล่งเงินทุนในการก่อสร้างต่อไป ซึ่งจะเป็นการเปิดพื้นที่ชายแดนและเชื่อมไปยังประเทศอาเซียนได้สะดวกมากขึ้นเนื่องจากสะพานข้ามแม่น้ำเมยปัจจุบันเริ่มแออัด และมีปริมาณจราจรมาก’>

ข่าวเด่นบึงกาฬ ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด