ประกาศสำนักงานปศุสัตว์อำเภอเมืองกาฬ
เรื่อง กำหนดเขตโรคระบาดชั่วคราว ชนิดโรคลัมปี สกิน (Lumpy Skin disease) ในโค กระบือ
เนื่องด้วย ปรากฏว่าในท้องที่บ้านทองสาย หมู่ที่ ๔ ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเมืองบึงกาฬ
จังหวัดบึงกาฬ ได้มีโคเนื้อป่วยด้วยโรคลัมปี สกิน (Lumpy Skin dsease) ซึ่งเป็นโรคระบาดตาม
พระราชบัญญัติ โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.๒๕๕๘ และเป็นโรคระบาดร้ายแรงสามารถติตต่อสัตว์ (ชนิด โค กระบือโดยมีแนวโน้มที่จะแพร่ระบาดออกไปยังท้องที่ข้างเคียงหรือระบาดเข้ามาในท้องที่ได้ จากการเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ ที่เป็นโรคระบาดหรือพาหะของโรคระบาดอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พศ, ๒๕๕๘ สัตวแพทย์ประจำท้องที่อำเภอเมืองบีงกาฬ จังหวัดบีงกาฬ จึงออกประกาศไว้ ตังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ท้องที่บ้านทองสาย หมู่ที่ ๔ ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเมืองบีงกาฬ จังหวัดบีงกาฬ
ไปทางทิศเหนือ จด หมู่ที่ ๓ บัานโคกงาม ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเมืองบีงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
ไปทางทิศใต้ จด หมู่ที่ ๕ บ้านกำแพงเพชร ตำบลโนนสมบูรณ์อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงภาฬ
ไปทางทิศตะวันออก จดมู่ที่ : น้าบ้านโนนวังเยี่ยม ตำบลโคกก่อง อำเภอเมืองบีงภาฬจังหวัดบึงกาฬ
ไปทางทิศตะวันตก จดบ้านโพธิ์ทอง ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
เป็นเขตโรคระบาดชั่วคราว ชนิดโรคลัมปี สกิน (Lumpy Skin disease) ในสัตว์ชนิตโค กระบือ
ข้อ ๒ ห้ามมีให้ผู้ใดเคลื่อนย้ายสัตว์ โค กระบือ หรือซากของสัตว์ดังกล่าว เข้า ออก ผ่าน หรือ
ภายในเขตโรคระบาดชั่วคราว เวันแต่ใด้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากสัตว์แพทย์ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบประจำเขตนั้นทุกครั้งที่มีการเคลื่อนย้าย ตามที่มีการบัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ทั้งนี้ ตั้งแต่
วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔
ประกาศ ณ วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๔
(นายเดชธนิช มูลภักดี)ปศุสัตว์อำเภอเมืองบึงกาฬ
หมายเหตุ : ผู้ใดฝ้าฝืนมาตรา ๒๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.๒๕๕๘
หมายเหตุ…ภาพวัวนำมาประกอบให้ดูเท่านั้น.
โรคลัมปี สกิน เป็นโรคอุบัติใหม่ในโคกระบือ พบระบาดจากประเทศเพื่อนบ้าน มีสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส Lumpy skin disease virus เป็นโรคที่เกิดเฉพาะในโค กระบือ ไม่เป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน อัตราการป่วยมากกว่า 5% โดยเชื้อไวรัสชนิดนี้ก่อโรคตามอวัยวะที่มีเซลล์เยื่อบุ พบตุ่มเนื้อบนผิวหนังและเยื่อเมือกทั่วร่างกาย ซึ่งต่อมาจะตกสะเก็ดและเป็นแผลหลุม สัตว์อาจมีไข้และหายใจลำบากร่วมด้วย โดยในโคนมอาจพบน้ำนมลดลง 25-65%
โรคลัมปี สกิน มีแมลงดูดเลือดเช่น เห็บ แมลงวันดูดเลือด และยุงเป็นพาหะแพร่กระจายเชื้อ นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัสสัตว์ป่วยโดยตรง ผ่านทางน้ำเชื้อของพ่อพันธุ์ที่เป็นโรค หรือผ่านทางรกได้
สัตว์ที่ติดเชื้อจะมีไข้สูง ต่อมน้ำเหลืองโต และมีตุ่มขนาดใหญ่ ประมาณ 2-5 เซนติเมตร ขึ้นที่ผิวหนังทั่วร่างกาย พบมากที่คอ หัว เต้านม ถุงอันฑะและหว่างขา ตุ่มที่ขึ้นอาจแตก ตกสะเก็ดและเกิดเป็นเนื้อตาย หรือมีหนอนแมลงมาไชได้ อาจพบตุ่มน้ำใสขึ้นที่เยื่อเมือก ทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการน้ำลายไหล ตาอักเสบ มีตุ่มขึ้นที่เยื่อเมือก อัตราการป่วยอยู่ที่ 5-45 % อัตราการตายน้อยกว่า 10% แต่อาจมีอัตราการตายสูงในพื้นที่ที่ไม่เคยมีการระบาดมาก่อน ผลกระทบส่วนใหญ่จะอยู่ที่ผลผลิตที่ลดลง
โรคลัมปี สกิน เป็นโรคติดต่อในโค กระบือ แต่ไม่ติดต่อสู่คนและสัตว์ชนิดอื่น เหมือนกับโรคฝีดาษ-สุกร เกิดโรคเฉพาะในสุกร ไม่ติดต่อสู่สัตว์ชนิดอื่น และไม่ติดต่อสู่คนเช่นกัน
แต่ไม่แนะนำให้กินเนื้อวัวที่ป่วยเป็นโรค ควรบริโภคเนื้อวัวที่ได้รับการรับรองมาตรฐานความสะอาดและปลอดภัยจากกรมปศุสัตว์เท่านั้น
นอกจากนี้ การบริโภคเนื้อสัตว์จึงต้องรับประทานสุกทุกกรณี เพื่อหลีกเลี่ยงโรคบางโรคที่เกิดจากการรับประทานเนื้อสัตว์สุกๆดิบๆ เช่น โรคท้องร่วง หรือ โรคหูดับ (Streptococcus suis)
ทั้งนี้ หากเกษตรกรพบโค กระบือป่วยและแสดงอาการผิดปกติ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่ทันที หรือ call center 063-2256888 เพื่อดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคเร็วที่สุด
‘>