เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม เวลา 09.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศที่วัดถ้ำโขง หมู่ 10 บ้านโนนสำราญ ต.โสกก่าม อ.เซกา จ.บึงกาฬ เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลเซการ่วมกับ รพ.สต.โสกก่าม และ รพ.สต.บ้านต้อง ลงพื้นที่บริเวณวัดเพื่อเข้าเก็บตัวอย่างกับกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่กักตัวอยู่ภายในวัด ที่มีทั้งพระและฆราวาส ส่งตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR โดยผลตรวจวันนี้พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม จำนวน 10 ราย เป็นพระสงฆ์ จำนวน 9 รูป ฆราวาส 1 ราย รวมยอดสะสมวันนี้ จำนวน 117 ราย ผลสุ่มตรวจหาสายพันธุ์เชื้อโควิด-19 จากคลัสเตอร์ปริวาสกรรมวัดถ้ำโขง จำนวน 21 ตัวอย่าง พบเป็นสายพันธุ์เดลต้า
นพ.ภมร ดรุณ นพ.สสจ.บึงกาฬ กล่าวว่า การสอบสวนโรคโควิด-19 เป็นกลุ่มก้อนกรณีปริวาสกรรมวัดถ้ำโขง อ.เซกา จ.บึงกาฬ ตลอดจนเฝ้าระวังและเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาการเฝ้าระวังโรคใน 28 วัน การค้นหาผู้ป่วยและผู้สัมผัสที่ดำเนินการไปแล้ววันที่ 21 ธ.ค.
ผลตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR ผลพบเชื้อ จำนวน 73 ราย เป็นพระสงฆ์ จำนวน 68 รูป ฆราวาส 4 ราย สามเณร 1 รูป
วันที่ 22 ธ.ค. ผลตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR ผลพบเชื้อเพิ่ม จำนวน 19 ราย เป็นพระสงฆ์ จำนวน 19 รูป
วันที่ 23 ธ.ค. ผลตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR ผลพบเชื้อเพิ่ม จำนวน 7 ราย เป็นพระสงฆ์ จำนวน 6 รูป
วันที่ 24 ธ.ค. ผลตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR ผลพบเชื้อเพิ่ม จำนวน 5 ราย เป็นพระสงฆ์ จำนวน 4 รูป ฆราวาส 1 ราย
วันที่ 25 ธ.ค. ผลตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR ผลพบเชื้อเพิ่ม จำนวน 1 ราย เป็นฆราวาส
วันที่ 26 ธ.ค. ผลตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR ผลพบเชื้อเพิ่ม จำนวน 2 ราย เป็นพระสงฆ์ จำนวน 2 รูป
วันที่ 24 ธ.ค. ผลตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR ผลพบเชื้อเพิ่ม จำนวน 10 ราย เป็นพระสงฆ์ จำนวน 9 รูป ฆราวาส 1 ราย
ผลการสอบสวนโรคผู้ป่วย มีอายุน้อยที่สุด 12 ปี อายุมากที่สุด 79 ปี ผู้เข้าร่วมปริวาสกรรมวัดถ้ำโขง ระหว่างวันที่ 10-20 ธ.ค. ทั้งหมด 241 ราย โดยมีภูมิลำเนาในพื้นที่ต่างๆ ดังนี้ กรุงเทพฯ 1 คน กาฬสินธุ์ 5 คน กำแพงเพชร 1 คน ขอนแก่น 2 คน ฉะเชิงเทรา 1 คน ชัยนาท 1 คน ชุมพร 1 คน เชียงราย 1 คน เชียงใหม่ 1 คน ตาก 1 คน นครนายก 1 คน นครปฐม 1 คน นครพนม 12 คน นครราชสีมา 2 คน นนทบุรี 2 คน น่าน 1 คน บึงกาฬ 133 คน บุรีรัมย์ 2 คน ปราจีนบุรี 3 คน พะเยา 1 คน เพชรบูรณ์ 2 คน มหาสารคาม 2 คน แม่ฮ่องสอน 2 คน ยะลา 1 คน ร้อยเอ็ด 2 คน ลพบุรี 1 คน ศรีสะเกษ 1 คน สกลนคร 18 คน สงขลา 1 คน สมุทรปราการ 1 คน สมุทรสาคร 1 คน สระแก้ว 2 คน สระบุรี 3 คน สุพรรณบุรี 1 คน สุราษฎร์ธานี 21 คน หนองคาย 4 คน หนองบัวลำภู 1 คน อำนาจเจริญ 1 คน อุดรธานี 2 คน อุบลราชธานี 1 คน
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการระบาดในครั้งนี้ ได้แก่ การไม่เคร่งครัดมาตรการป้องกันควบคุมโรค โดยระหว่างการปฏิบัติศาสนกิจในงานปริวาสกรรมขาดการป้องกันที่เพียงพอ กล่าวคือ การจัดงานที่มีลักษณะคนจำนวนมากไม่ได้แจ้งขออนุญาตต่อผู้มีหน้าที่อนุญาต การคัดกรองผู้เข้ามาร่วมงานไม่มีทะเบียน ไม่มีมาตรการตรวจวัดอุณหภูมิ และเช็กประวัติวัคซีนก่อนเข้าร่วมงาน รวมถึงไม่มีการจัดระยะห่างของการบริโภคอาหาร ไม่มีฉากกั้น จุดบริการเจลแอลกอฮอล์ล้างมือไม่เพียงพอ การไม่สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา การรวมกลุ่ม การอยู่ในพื้นที่แออัดและมีคนจำนวนมาก ประกอบกับมีผู้เดินทางมาจากต่างอำเภอและต่างจังหวัดเป็นจำนวนมาก’>