วันที่ 8 มีนาคม 2565 นายคมกริช ชินชนะ ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการมหกรรมการออม ลดความเลื่อมล้ำของประชาชนจังหวัดบึงกาฬ เนื่องในโอกาสครบรอบ 48 ปี การก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ณ หอประชุมวิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ อำเภอเมืองจังหวัดบึงกาฬ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ผ.อ.กลุ่มงานพัฒนาการอำเภอ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน คณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตจากทุกอำเภอ เข้าร่วมงานจำนวน 150 คน ภายในงานประกอบด้วยพิธีมอบใบประกาศเกียรติคุณแก่กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตดีเด่น และ นิทรรศการ/ผลงานของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตดีเด่น ของจังหวัดบึงกาฬ
นายสยัมภู แพงจันทร์ รักษาราชการแทนพัฒนาการจังหวัดบึงกาฬ กล่าวว่า เนื่องในวันที่ 6 มีนาคม 2565 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตครบรอบ 48 ปี โดยกรมการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2517 ในพื้นที่ 2 แห่ง ณ ตำบลขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ และตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคน ให้คนในชุมชนรู้จักการออมเงิน เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง ครอบครัว และชุมชนโดยกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
ปัจจุบันจังหวัดบึงกาฬมีการขับเคลื่อนดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จำนวน 144 กลุ่ม สมาชิก 19,923 คน เงินสัจจะสะสม จำนวน 101,322,662 บาท และในปีนี้จังหวัดบึงกาฬได้จัดทำโครงการเสริมสร้างศักยภาพเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน (พัฒนากร 1 กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ) โดยให้พัฒนากร 1 คนจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตให้ได้ 1 กลุ่ม รวม 31 กลุ่ม เพื่อเป็นการรณรงค์จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเพิ่มขึ้น และสนับสนุนการเพิ่มเงินสัจจะสะสมของสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต อีกทั้งรณรงค์การเพิ่มจำนวนสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตามแนวทางกรมการพัฒนาชุมชนกำหนด
ซึ่งการดำเนินงานกลุ่มเพื่อการผลิต เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชนตามภารกิจกรมการพัฒนาชุม และภารกิจของกระทรวงมหาดไทยในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลือมล้ำของประชาชน จึงประกาศวาระชุมชน “การส่งเสริมการออมภาคประชาชน” ระดับจังหวัดและอำเภอ เพื่อส่งเสริมการออมของประชาชน เป็นการสร้างหลักประกันและสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่สมาชิกในครัวเรือนโดยมีเป้าหมายให้ครัวเรือนมีการออมเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของเงินออมเดิมที่มีอยู่ครัวเรือนมีการออมร้อยละ 90 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด และครัวเรือนยากจนเป้าหมายของระบบ Thai People Map and Analytics Platform (TPMAP) ที่ประสบปัญหามิติด้านรายได้มีการออมเงินอย่างน้อยร้อยละ 50 ของครัวเรือนทั้งหมด