LINE : ติดต่อผู้ดูแล

ยินต้อนรับเว็บไซต์ข่าวสารเพจข่าวท้องถิ่นบึงกาฬ

วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2024
ข่าวเด่นบึงกาฬ

คอลัมน์บึงกาฬ เผานาทราย ชนวนเหตุที่ถูกหลงลืมก่อนเกิด 6 ตุลา 19 ในอดีตยังจำกันได้ไหม อดีตเล่าลือบ้านนาทราย อ.ศรีวิไลที่ถูกเผา

24 มกราคม พ.ศ.2517 หมู่บ้านนาทรายถูกปิดล้อมและเผาทำลายจนไม่เหลือสภาพว่าเคยเป็นที่อยู่มาก่อน บ้าน ยุ้งฉาง วัด กลายเป็นเศษอิฐปูนและซากไม้ที่ไหม้ไม่หมด ในเหตุการณ์นี้ มีชาวบ้านถูกสังหารไป 3 คน

รัฐบาลซึ่งมีสัญญา ธรรมศักดิ์เป็นนายก ฯ พยายามกล่าวหาว่าพรรคคอมมิวนิสต์ไทยเป็นผู้ก่อเหตุ แต่หลังจากที่ธีรยุทธ บุญมี แกนนำนักศึกษาได้นำผู้ใหญ่บ้านนาทรายมาเปิดเผยเรื่องราวที่เกิดขึ้นและมีการพบกับรัฐบาลเพื่อกดดัน พลเอกกฤษณ์ สีวะรา ผบ.ทบ. จึงยอมรับว่าเจ้าหน้าที่ทหารเป็นผู้ลงมือก่อเหตุทั้งหมด และยอมรับว่าเป็นการกระทำเกินกว่าเหตุ เพราะเข้าใจว่าชาวบ้านเป็นแนวร่วมพรรคคอมมิวนิสต์

แม้รัฐบาลจะได้ชดใช้ค่าเสียหายให้กับชาวบ้าน แต่เรื่องราวความพินาศที่บ้านนาทรายนั้นละลายไปกับกาลเวลา ไม่มีใครพูดถึงอีก

นาทรายเคยอยู่สุขสันต์อุดมสมบูรณ์  แต่มาวอดกลายเป็นเถ้าถ่าน

เหล่าโจรหมู่มารมันเผาวอดวาย  แค้นๆๆ นาทรายเคียดแค้น

บ้านถูกเผาเราอยู่ได้หรือ  จับปืนลุกฮือ  ทลายล้างโจรทมิฬ

วิทิต  จันดาวงศ์

ลุงวิทิต จันดาวงศ์คนขวานอกกรงขัง ใส่กางเกงขาวไม่มีเข็มขัด เมื่อครั้งต้องติดคุกในปี ๒๕๐๒ พร้อมๆกับพ่อ แต่อย่างน้อยเผด็จการสมัยนั้นก็ยังยอมให้มีการถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน

การสนทนาของท่านกับคณะของเราจึงค่อนข้างกระชับ  ท่านแนะนำสหายอีกท่านหนึ่งให้เราติดต่อเมื่อรู้ว่าเรากำลังจะเดินทางไป “บ้านนาทราย” ต. นาสิงห์ อ.ศรีวิไล  จ.บึงกาฬ (จ.หนองคายอดีต)  หมู่บ้านประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งที่ตกเป็นเหยื่อของนโยบายปราบปรามคอมมิวนิสต์ที่ว่า “จับเรียบ ฆ่าเรียบ เผาเรียบ”

ลุงวิทิต จันดาวงศ์คนขวานอกกรงขัง ใส่กางเกงขาวไม่มีเข็มขัด เมื่อครั้งต้องติดคุกในปี ๒๕๐๒ พร้อมๆกับพ่อ แต่อย่างน้อยเผด็จการสมัยนั้นก็ยังยอมให้มีการถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน

เราไปถึง “นาทราย” ก็บ่ายคล้อยเพราะวนหาอยู่นานเนื่องจากเข้าใจว่ายังอยู่ในส่วนของอำเภอบึงกาฬ  ซึ่งปัจจุบันบ้านนาทรายอยู่ในส่วนบริหารของอำเภอศรีวิไล  เราต้องถามชาวบ้านแถบนั้นว่า “บ้านนาทราย ที่ถูกเผาเมื่อ ๓๐ กว่าปีมาแล้วไปทางไหน?” และต้องเลือกถามคนที่มีอายุสักหน่อยจึงได้ผล  บุคคลที่เราจะไปพบคือ “สหายวิไล” หรือหมอวิไล  แต่ก็อีกนั่นแหละอาจเป็นเพราะ “เจ้าหอยขม” ปรากฎว่าหมอวิไลไม่อยู่ไปฝังเข็มให้คนไข้ที่นครพนม  แต่เราก็ได้พบกับภรรยาของหมอและพูดคุยกับเธอ

บ้านนาทรายเป็นหมู่บ้านที่ค่อนข้างใหญ่  ตั้งอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำโขงมากนัก ติดกับภูสิงห์ และมีพื้นที่เชื่อมโยงกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว  บ้านนาทรายก็เหมือนกับชุมชนอื่นๆที่หนีไม่พ้นจากอิทธิพลของสงครามเย็นและร้อนของทั้ง “ฝ่ายซ้าย” “ฝ่ายขวา” ในอดีต  เท่าที่ได้ศึกษามาก่อนล่วงหน้าจากเอกสารต่างๆที่พอมีหลงเหลือ  และสาเหตุที่ทำให้บ้านนาทรายกลายเป็นอีกหมู่บ้านหนึ่งที่ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์สงครามประชาชนก็คือการเผาหมู่บ้านและชาวบ้านถูกฆ่าโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาลเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๑๗  อย่างไรก็ตามก่อนหน้านั้นในปี ๒๕๑๖ นายบุญส่ง  ชนะชัย ครูคนหนึ่งของโรงเรียนบ้านนาทรายถูกลอบสังหารขณะที่ทางการระบุว่าเป็นฝีมือของพวกคอมมิวนิสต์

ต่อมาในวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๗ (เอกสารบางชิ้นระบุว่าเป็นวันที่ ๑๔ และ ๑๘) กองกำลังทหาร ตำรวจและอาสารักษาดินแดน ประมาณสองร้อยกว่าคนเข้าทำการปิดล้อมและยึดหมู่บ้านจากนั้นได้ทำการเผาบ้านของชาวบ้านวอดวายไปถึง ๑๐๒ หลังยุ้งข้าว ๘๒ หลัง โรงสี ๓ หลัง กุฏิพระอีก ๒ หลังและยังได้สังหารชาวบ้านตายอีก ๓ คน! อะไรมันจะขนาดนั้น ไฟไหม้ขนาดนี้จึงกลายเป็นข่าวใหญ่ในปีพ.ศ.นั้น ขณะที่ทางการยังปัดความรับผิดชอบและโทษว่าคอมมิวนิสต์เป็นผู้เผาตามเคย! จนกระทั่งคนที่ชื่อ “ธีรยุทธ บุญมี” ผู้ประสานงานกลุ่มประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในขณะนั้น  ได้นำผู้ใหญ่บ้านนาทรายชื่อนายลม กาญจนสารมาเปิดเผยเรื่องการเผาหมู่บ้าน และนำชาวบ้านเข้าพบนายกรัฐมนตรีนายสัญญา ธรรมศักดิ์เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง  ขณะที่นักศึกษาได้ชุมนุมที่สนามหลวง และศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล ๓ ข้อ คือให้รัฐบาลชดใช้ค่าเสียหายแก่ชาวบ้าน ให้หาผู้กระทำผิดมาลงโทษตามขบวนการยุติธรรม  ให้ยอมรับและเปลี่ยนแปลงนโยบายการปราบปรามคอมมิวนิสต์ งานนี้รัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ต้องตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงขึ้น

“กรณีนาทราย เริ่มจากเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2517 มีการเผาหมู่บ้านนาทราย ที่อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย ซึ่งมีประชากรราว 1,500 คน ทางราชการได้อ้างว่าผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เป็นผู้เผาหมู่บ้าน แต่ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 เมื่อ นายธีรยุทธ บุญมี ผู้ประสานงานกลุ่ม ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (ปช.ปช.) ได้นำนายลม กาญจนสาร ผู้ใหญ่บ้านนาทรายมาเปิดเผยเรื่องการเผาหมู่บ้านว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐเองเป็นผู้ปิดล้อมและเผาหมู่บ้าน ทั้งยังสังหารชาวบ้านตายอีก 3 คน ซึ่งถือว่าเป็นการเหยียบย่ำกฎหมายบ้านเมืองครั้งใหญ่ จากนั้น ก็ได้นำชาวบ้านเข้าพบนายกรัฐมนตรีเพื่อชี้แจงความจริง ในที่สุดผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ต้องยอมรับว่าเจ้าหน้าที่เป็นผู้เผาหมู่บ้าน แต่ก็อ้างว่าชาวบ้านเป็นผู้ก่อการร้ายจึงต้องเผา จนกระทั่งในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ รัฐบาลต้องตั้งกรรมการขึ้นสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีนี้ ในขณะที่ฝ่ายนักศึกษาได้นัดชุมนุมที่สนามหลวง และศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ได้ยื่นข้อเรียกร้องแก่รัฐบาล 3 ข้อ คือ ให้รัฐบาลชดใช้ค่าเสียหายแก่ชาวบ้านนาทราย ให้หาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามขบวนการยุติธรรม และให้ยอมรับและเปลี่ยนแปลงนโยบายการปราบปราม” (http://www.2519.net)
ไม่เพียงนาทรายยังเผาหมู่บ้านนาหินกองตำบลกกตูมอำเภอนาแกจังหวัดนครพนมด้วย

ในที่สุดทางการก็ออกมายอมรับว่าเจ้าหน้าที่เป็นผู้เผาหมู่บ้านโดยอ้างว่าชาวบ้านเป็นผู้ก่อการร้ายจึงต้องเผา! ทางการยังอ้างอีกว่าจากการสอบสวนที่บ้านนาทรายมีการขุดหลุมบุคคลหรือบังเกอร์ บางหลุมเป็นรูปตัวแอลเหมือนสนามเพลาะสามารถติดต่อกันได้ทุกทิศทาง  เพื่อใช้เป็นที่กำบังในการยิงต่อสู้ และบางบ้านพื้นกระดานที่นอนสามารถเปิดออกได้เจ้าของสามารถกระโดดลงหลุมหรือที่กำบังได้ทันที  ขณะที่ชาวบ้านชี้แจงว่านั่นเป็นหลุมส้วมโว้ย  ไอ้ที่ยาวๆนั่นมันบ่อเลี้ยงปลาส่วนกระดานปิดเปิดเอาไว้เยี่ยวไม่รู้หรือไง  เจออย่างนี้ไม่รู้จะเชื่อใคร?

เผานาทราย ชนวนเหตุที่ถูกหลงลืมก่อนเกิด 6 ตุลา 19

หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พุทธศักราชแห่งการขับไล่เผด็จการออกจากประเทศ ถึงต้นปี 2517 ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีพระราชทานคนแรกนาม สัญญา ธรรมศักดิ์ สถานการณ์ยังเต็มไปด้วยความขัดแย้งตามแนวตะเข็บชายแดนและการต่อสู้ทางอุดมการณ์ความคิดกับเหล่าศักดินา อันเป็นผลพวงจากการตื่นตัวทางการเมืองของนิสิตนักศึกษาประชาชน

เหลียวมองเพื่อนบ้านกัมพูชาโดยรัฐบาลลอนนอล กำลังระส่ำระสายกับปัญหาทุจริตก่อนที่แผ่นดินพวกเขาจะลุกเป็นไฟจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เมื่อเขมรแดงเข้ามาปกครองประเทศในปีถัดมา ส่วนประเทศลาวก็เข้าสู่ปีสุกดิบของการปฏิวัติชาติเป็นคอมมิวนิสต์เต็มรูปแบบ ฟิลิปปินส์โดยเฟอร์ดินาน มาร์กอส เข้าสู่ปีที่สามของการใช้กฎอัยการศึกนานถึง 9 ปี ในข้ออ้างเพื่อความมั่นคงต่อภัยร้ายคอมมิวนิสต์

ไม่ต่างกันนัก-ประเทศอื่นๆในเอเชียอาคเนย์ต่างเผชิญปัญหาการสู้รบในสงครามเย็น ที่สหรัฐอเมริกาต้องการแผ่ขยายอิทธิพลประชาธิปไตยแบบ’เบิ้มๆ’ อันมีประธานาธิบดีบ้าสงครามเป็นประมุข

บรรดาพื้นผิวความขัดแย้งที่ปรากฎ บ้านนาทราย ตำบลนาสิงห์ อำเภอศรีวิไล(ก่อนหน้าเป็นเขตอำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย) จังหวัดบึงกาฬ หมู่บ้านอีสานแห่งหนึ่งที่มีอายุราวหนึ่งร้อยปี แทบจะเป็นแหล่งอาศัยของชาวชนบทธรรมดาทั่วไปในชายแดนไทยลาว

หากในปี 2517 ไม่ปรากฎเสี้ยวส่วนประวัติศาสตร์การเมืองไทยว่า หมู่บ้านแห่งนี้โดนเผาวอดวายจากเจ้าหน้าที่รัฐ ชาวบ้านที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ต้องไร้ที่อยู่อาศัย หนำซ้ำยังถูกฆ่าตาย เพราะเหตุสงสัยเกี่ยวพันกับผู้ก่อการคอมมิวนิสต์ยังผลให้เจ้าหน้าที่รัฐทำอาชญากรรมกับประชาชน เปรียบดั่งระเบิดเวลาทางการเมืองที่ส่งผลร้ายแรงในกาลต่อมา

บทความนี้เรียบเรียงเนื้อหาจากหนังสือศูนย์ ฉบับพิเศษ โดยจะไล่เลียงเหตุการณ์และสถานการณ์ตามวันที่ของหนังสือพิมพ์สมัยนั้นรายงานและจดจารเอาไว้

ปลดแอกอีสาน ปฐมบทความรุนแรงก่อนกาลสมัย

22 มกราคม 2517 ปรากฎข่าว คอมมิวนิสต์บุกยึดหมู่บ้าน 5 หมู่บ้าน โดยทุ่มกำลังมาจากลาวหวังประกาศปลดแอกอีสาน ตั้งด่านชักธงแดง คุมถนน-สะพาน หมู่บ้านที่ยึดไว้มีหมู่บ้านนางิ้ว อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย และใช้หมู่บ้านนางิ้วเป็นกองบัญชา การเข้ายึดหมู่บ้านอีก 5 แห่ง มีบ้านหนอง บ้านซำเจียม บ้านเทาใหญ่ บ้านนาบอน และบ้านเทาน้อย มีการประกาศผ่านเครื่องขยายเสียงว่าจะมาช่วยปลดแอกให้ชาวอีสาน จากนั้นชาวบ้านในอำเภอสังคมอพยพไปตัวจังหวัดหนองคายและอำเภอศรีเชียงใหม่

ประชาชนต่างหวาดกลัวว่าคอมมิวนิสต์จะเข้ายึดอำเภอได้หากทางการไม่จัดการให้เด็ดขาด ที่อำเภอบึงกาฬมีรายงานเสมอๆว่า คอมมิวนิสต์บุกเข้าหมู่บ้านและปะทะกับเจ้าหน้าที่รัฐอยู่บ่อยครั้ง กระทั่งรัฐยึดเอาหมู่บ้านนาทราย และบังคับให้ชาวบ้านขุดหลุมบังเกอร์รอบหมู่บ้าน มีทั้งหลุมบุคคลและหลุมปืน รวมทั้งหลุมหลบภัยใต้ถุนบ้านทุกครัวเรือน ขณะเดียวกันฝ่ายคอมมิวนิสต์ชักธงแดงขึ้นเป็นเขต ตั้งด่านการคมนาคมระหว่างหมู่บ้านนาทรายกับอำเภอบึงกาฬ ปิดถนน และเผาโรงพักจนวอดวาย

ในอีกทางหนึ่งทั้งกรมตำรวจและทางหน่วยงานราชการจังหวัดหนองคาย ต่างออกมาปฏิเสธว่ายังไม่ได้รับข่าวหรือมีรายงานคอมมิวนิสต์บุกเข้ายึดหมู่บ้านและชักธงแดงประกาศเขต ข่าวปรากฎมาจากชาวบ้านพูดลือกันเอง

แต่ถึงอย่างนั้น พลอากาศเอก ทวี จุลทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และพลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศบินไปดูสถานการณ์ที่หนองคายและสกลนครในเช้าวันที่ 24 มกราคม 2517

กระทั่งวันที่ 26 มกราคม 2517 ที่บ้านนาทรายมีรายงานเพิ่มเติมว่า ตำบลชมพูพร อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย เจ้าหน้าที่รัฐปะทะกับคอมมิวนิสต์ มีการใช้ใช้ระเบิดถล่ม ไฟไหม้หมู่บ้านคลอกประชาชน 30 ศพ นอกจากนั้นประชาชนอีกราว 200 คนอพยพหนีมาด้วยความแตกตื่น โดยอพยพมาที่หมู่บ้านหนองจันทร์ ริมถนนบึงกาฬ-พังโคน

ไพฑูรณ์ ลิมปิทีป ปลัดจังหวัดหนองคาย แถลงข่าวว่า เจ้าหน้าที่ไทยหลายฝ่ายนำกำลังเข้ากวาดล้างผู้ก่อการร้าย จนหลบหนีไป และชาวบ้านนาทรายได้กลับมาอยู่ในหมู่บ้านแล้ว

สรรชัย ศวิตชาติ นายอำเภอบึงกาฬกล่าวในขณะนั้นว่า อำเภอนี้มีคอมมิวนิสต์แทรกซึมอยู่กว่า 100 หมู่บ้าน โดยเฉพาะเขตยึดครองมีการสร้างสนามเพลาะ และต่อสู้กับเจ้าหน้าที่อย่างเอาจริงเอาจัง หมู่บ้านนาทรายชาวบ้านเกือบ 90% ได้รับการอบรมจากฝ่ายคอมมิวนิสต์แล้ว และเปิดเผยว่ามีการขนอาวุธจำนวนมากจากฝั่งลาวข้ามมาทางภูสิงห์

สถานการณ์พลิกผัน เมื่อหลักฐานปรากฎแจ้ง

จากนั้นสถานการณ์กลับพลิกเป็นอีกขั้วเมื่อมีผู้รายงาน พบหลักฐานหลังเข้าไปตรวจสภาพหมู่บ้านว่า วันที่ 24 มกราคม 2517 ผู้เผาหมู่บ้านนาทรายไม่ใช่ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ แต่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ อีกทั้งเจ้าหน้าที่รัฐแถลงผ่านวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ว่าตอนเช้ามีการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ก่อการร้าย เผาหมู่บ้านนาทรายเสียหาย 160 หลังคาเรือนน้ันไม่เป็นความจริง

ทางด้านชาวบ้านนาทรายหลายสิบคนยืนยันเสียงเดียวกันว่า เจ้าหน้าที่ อส. ตำรวจตระเวนชายแดนและหน่วยปฏิบัติการพิเศษ จำนวน 191 คน เข้าปิดล้อมหมู่บ้านในตอนเช้า โดยไม่มีการปะทะกับผู้ก่อการร้ายแต่อย่างใด เจ้าหน้าที่กวาดต้อนชาวบ้านให้ไปรวมกันที่หนองน้ำ และจุดไฟเผาบ้านเรือน ยุ้งฉาง ที่เก็บข้าว ปอและพืชผลอื่นๆของชาวบ้านเสียหายหลายล้านบาท และยังฆ่า ผัน มัทราช อายุ 50 ปี ใส มัทราช อายุ 40 ปี และเอบ มัทราช อายุ 6 ปี โดยเผาผู้ตายทั้งสามพร้อมกับบ้าน

ทั้งนี้ชาวบ้านสามารถยืนยันและพร้อมที่จะชี้ตัวเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่หลายนายที่เข้าร่วมปฏิบัติการครั้งนี้

ทางด้าน ธีรยุทธ บุญมี นักเคลื่อนไหวทางสังคมในนามกลุ่มประชาชนเพื่อประชาธิปไตยขณะนั้น ให้ความเห็นว่าการกระทำครั้งนี้ ไม่ผิดอะไรกับโจรปล้นแผ่นดิน เพราะทำลายทรัพย์สินของประชาชนและละเมิดกฎหมายครั้งใหญ่ ยิ่งกว่าคดีทุ่งใหญ่นเรศวรเสียอีก นอกจากนี้ยังบิดเบือนข้อเท็จจริงให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนอีกด้วย

ถ้อยคำจากพยาน อันย้ำภาพจำวันเหตุเกิด

ลม กาญจนสาร ผู้ใหญ่บ้านนาทราย ให้ข่าวกับหนังสือพิมพ์ไทยรัฐถึงที่มาที่ไปว่าตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2517 คอมมิวนิสต์บุกเข้าโจมตีชุดคุ้มครองหมู่บ้านนาทราย อส.มีกำลังน้อยกว่าไม่สามารถต้านทานได้ต้องล่าถอย อส.ถูกยิงตาย 1 คน บาดเจ็บ 2 คน

กระทั่งวันที่ 22 มกราคม 2517 สะพานบ้านห้วยหินที่เข้าหมู่บ้านนาทรายถูกเผา แต่ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้เผาสะพานนี้แน่

23 มกราคม 2517 ชาวบ้านนาทราย 2 รายถูกยิงตาย ผู้ใหญ่บ้านไปแจ้งความที่ สภอ.ศรีวิไล แต่ไม่มีเจ้าหน้าที่มาจัดการ ชาวบ้านจึงจัดการช่วยกันเผาศพทั้งสองในที่เกิดเหตุ

24 มกราคม 2517 ช่วงเวลาย่ำรุ่ง มีเสียงปืนขึ้นและเจ้าหน้าที่บุกเข้ามาในหมู่บ้าน เรียกให้ชาวบ้านลงมาจากบ้านเรือน โดยการยิงปืนขู่ เมื่อชาวบ้านลงมาจากบ้าน เจ้าหน้าที่อีกพวกหนึ่งก็เข้าเผาบ้านชาวบ้านตามหลัง จากนั้นก็ต้อนชาวบ้านไปรวมกันที่วัด กระทั่งไฟลุกร้อนมาก เจ้าหน้าที่จึงต้อนชาวบ้านออกมากลางทุ่งนาใกล้หนองน้ำ ก่อนเข้ามาเผาบ้านเจ้าหน้าที่ยิงจันศรี ไชยนนท์ตายระหว่างไปส้วมในป่า และยิงครอบครัวมัทราชทั้งสามรายตายและเผาศพพร้อมทั้งบ้านด้วย

ระหว่างที่ต้อนมากลางทุ่งเจ้าหน้าที่จับตัวชาวบ้าน 21 คน ไปสอบสวนที่ สภอ.บึงกาฬ และปล่อยมา 14 คน คงจับไว้ 7 คน เป็นชาย 5 หญิง 2

ชาวบ้านระบุอีกว่าระหว่างที่เผานั้น เจ้าหน้าที่ยังได้ใช้อำนาจปล้นทรัพย์สินของชาวบ้านอีกด้วย หลายคนต้องสูญเสียเงินสดไปรวมกันหลายหมื่นบาท เจ้าหน้าที่เข้าเผาหมู่บ้านที่จำได้มี ร้อยตำรวจโทชูพันธ์ บุญประครอง ร้อยตำรวจเอกประจวบ บัวขาว และเหล่า อส.

สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นระบุว่าเป็นเรื่องซับซ้อน พลตำรวจโทประจวบ สุนทรางกูร ออกความเห็นว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจปล้นทรัพย์สินของชาวบ้านอีกด้วย

16 กุมภาพันธ์ 2517 ปลัดอำเภอยอมรับว่าเจ้าหน้าที่บุกทำลายเมื่อวันที่ 24 จริง เพราะสืบแน่ชัดว่าชาวบ้านนาทรายเป็นผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เหตุที่ทำการปราบปรามครั้งนี้ มีการวางแผนร่วมกันหลายคน มีสรรชัย ศวิตชาติ นายอำเภอบึงกาฬ ร้อยตำรวจโทขจร สัยวัตร ผู้บังคับบัญชาตำรวจตระเวนชายแดน และปลัดอำเภอ และว่าวันนั้นได้ระดมยิงปืนเข้าไปหมู่บ้านนานนับหนึ่งชั่วโมงจนเกิดไฟไหม้ แต่ถอนกำลังกลับก่อนเมื่อได้ข่าวว่ารัฐมนตรีทวี จุลทัพย์เดินทางไปตรวจการและอาจแวะบึงกาฬ เขากล่าวอีกว่าเคยส่งพระเข้าไปแก้แต่ก็ทำอะไรไม่ได้

ธีระยุทธ บุญมีเข้าพบนายกรัฐมนตรีโดยนำชาวบ้านนาทราย 4 คน เข้าพบด้วย นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าเรื่องที่ได้รับฟังมานี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง พร้อมกล่าวว่าควรจะได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายปราบปรามเสียใหม่

ธีระยุทธกล่าวอีกว่า การปราบปรามคอมมิวนิสต์เป็นการต่อสู้ทางการเมือง ระหว่างอุดมการณ์สองฝ่าย แต่เราต้องไม่ละเมิดมนุษยธรรมเช่นนั้น และประเด็นสำคัญคือการบิดเบือนข่าวหลอกลวงประชาชนของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง

พลเอกกฤษณ์ สีวะรา ให้ทัศนะว่า กรณีหมู่บ้านนาทรายถูกเผา หากพิสูจน์ได้ว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รังแกประชาชน ต้องถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงมากและต้องมีการลงโทษ

ศูนย์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย แจ้งจะนำชาวบ้านนาทรายพบประชาชนที่สนามหลวงเพื่อ พิสูจน์ความจริงเรื่องนาทราย

เสนีย์ ปราโมช ตัวแทนรัฐบาลกล่าวว่าเรื่องนี้ตัดสินได้ลำบากมาก เพราะถ้าลงโทษเจ้าหน้าที่ไป แต่ปรากฎว่าชาวบ้านเป็นฝ่ายผิดจริงๆ เจ้าหน้าที่ก็จะเสียกำลังใจ หากชาวบ้านเป็นฝ่ายถูก แต่ไม่ได้ลงโทษเจ้าหน้าที่ ชาวบ้านก็จะหันไปเข้ากับพวกคอมมิวนิสต์หมด

เมื่อเหยื่ออธรรมเปิดโปงผู้ก่อการ

หนึ่งเดือนจากวันเกิดเหตุ 24 กุมภาพันธ์ 2517 ชาวบ้านนาทราย 64 คน เปิดโปงผู้เผาหมู่บ้านผ่านการไฮด์ปาร์ค ต่อประชาชนนับหมื่นที่สนามหลวง ยืนยันเสียงเดียวกันว่า เจ้าหน้าที่เผา และไม่มีการปะทะกัน กลุ่มนักศึกษาโดยศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์เรียกร้อง 4 ข้อ 1.ให้รัฐบาลชดใช้ค่าเสียหายแก่ชาวบ้านนาทราย 2.ให้เอาผู้ทำผิดครั้งนี้มาดำเนินการลงโทษ 3.ให้รัฐบาลรับรองความปลอดภัยของชาวบ้านนาทรายเหล่านี้ที่ได้เปิดเผยความจริง 4.ให้รัฐบาลเปลี่ยนนโยบายในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายเสียใหม่

ก่อนหน้านั้นสองวัน (22 กุมภาพันธ์ 2517) สถาปน์ ศิริขันธ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ยื่นญัตติด่วนเสนอต่อประธานสภาขอให้สอบสวนกรณีบ้านนาทราย เพราะกระทบกระเทือนต่อเสถียรภาพของรัฐบาลและความมั่นคงของชาติ ระบุด้วยว่ากรรมการสอบสวนที่ตั้งไป ล้วนเป็นข้าราชการทั้งสิ้น เกรงว่าฝ่ายประชาชนจะไม่ได้รับความเป็นธรรมเท่าที่ควร

แต่สภากลับไม่อนุมัติ กระจ่าง พันธุนาวิน ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจของกองบัญชาการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์ แสดงการคัดค้านว่า จะเป็นการก้าวก่ายการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร ทั้งอาจเป็นเครื่องมือของกลุ่มผลประโยชน์ ธรรมเนียมของสงครามย่อมจะต้องฆ่ากัน การที่คนไทยฆ่าคนไทยด้วยกันไม่ใช่จะเพิ่งเกิดที่นาทราย ในประวัติศาสตร์มีอยู่ทุกสมัย

26 กุมภาพันธ์ 2517 ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย แจ้งกับสื่อมวลชนว่า ไม่อยากให้ชาวนาทรายทั้ง 64 คนกลับนาทราย เพราะหากมีอันตรายเกิดขึ้นแล้ว จะก่อความยุ่งยากให้เพิ่มขึ้นมาอีก ก่อนที่ชาวบ้านนาทรายจะเดินทางกลับหมู่บ้านในวันถัดมาและยืนยันว่าพวกเขาอยู่ข้างรัฐบาลแต่กลับกลายเป็ยผู้ร้ายในสายตาเจ้าหน้าที่

เมื่อนักข่าวลงพื้นที่นาทราย สัมภาษณ์ผู้ใหญ่บ้านอีกครั้ง ที่ตอบด้วยความกระอักกระอ่วนว่า สถานะของเขาในพื้นที่นั้นตอบยากมาก แต่ไม่ได้เป็นคอมมิวนิสต์ตามที่ถูกกล่าวหาอย่างแน่นอน แม้เจ้าหน้าที่จะสงสัยมาตลอดว่า เป็นถึงผู้ใหญ่บ้านมีโอกาสที่จะเป็นแแนวร่วมคอมมิวนิสต์สูง ถ้าไม่เช่นนั้นคงโดนพวกนั้นฆ่าตายไปแล้ว

นิยม ติดมา เด็กหญิงที่แม่ของเธอถูกยิงเสียชีวิตกล่าวว่า หลังเหตุการณ์ชุดคุ้มครองหมู่บ้านโดนโจมตีแล้ว ครอบครัวก็กลัวมาก จึงได้ให้เธอ แม่และน้อง ออกไปอยู่กับญาติที่อีกหมู่บ้าน ส่วนพ่อยังต้องดูแลข้าวของและควายอยู่ที่บ้านนาทราย วันที่ 23 มกราคม 2517 แม่และเธอกลับมาหมู่บ้านนาทรายอีก เพราะอยากจะมาเอาข้าวไปทำข้าวปุ้น และเมื่อแม่เดินทางออกไปหมู่บ้านนั้นอีกครั้งจึงโดนยิงตายต่อหน้าเธอ หลังจากนั้นมีการไปดูศพและเผาในเย็นวันนั้นเลย ส่วนวันเกิดเหตุเธอยืนยันว่าเจ้าหน้าที่เป็นคนเผาหมู่บ้านแน่นอน เพราะเจ้าหน้าที่เป็นคนบอกให้ลงจากเรือน และไม่มีการปะทะกันระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่

อ่าง ยอดแสง อายุ 52 ปี ในขณะนั้นเล่าว่า รู้สึกเป็นทุกข์ และสิ้นเนื้อประดาตัว คนไทยตาดำๆเหมือนกัน ทำไมมาทำกันลง แล้วหากจะหาว่าเราเป็นคอมมิวนิสต์ก็ว่าไป ถ้าไม่สงสาร เพราะไม่มีของกลางเอาผิดพวกเขาได้

28 กุมภาพันธ์ 2517 พลโท สายหยุด เกิดผล ออกมายอมรับว่า เหตุการณ์ที่บ้านนาทราย เจ้าหน้าที่ทำเกินกว่าเหตุ และทางราชการจะยอมชดใช้ค่าเสียหายและสร้างบ้านให้ใหม่ และจะเลิกใช้นโยบาย ”ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” ในทางการเมือง ผลจากกรณีนี้ ชวินทร์ สระคำ จึงได้เขียนเป็นหนังสือเรื่อง พิษเพลิงร้ายที่บ้านนาทราย พิมพ์ในปีเดียวกันก่อนที่จะเสียชีวิตอย่างมีเงื่อนงำ

ข้อสรุปจากหนังสือศูนย์ บอกว่า เหตุการณ์บ้านนาทรายที่ชาวบ้าน 6 คนถูกฆ่า บ้าน 106 หลังคาถูกเผา ประชาชนอีกนับพันไร้ที่อยู่ เป็นผลพวงจากกฎหมายโดยเจ้าหน้าที่ผู้กุมเครื่องมือเผด็จการฟาสซิสต์ ที่เอื้ออำนวยต่อการใช้อำนาจกดหัวประชาชน และไม่ใช่เหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นในเมืองไทย แต่ที่’กระดูก’ ของชาวบ้านนาทรายร้องได้เพราะหลังการต่อสู้ของนักเรียน นิสิตนักศึกษาและประชาชน กรณี 14 ตุลา ทำให้บรรยากาศทั่วประเทศเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ก่อนประชาชนจะพบความรุนแรงอีกครั้งในเหตุ 6 ตุลา 2519 วันมหาวิปโยค

ที่มา: หนังสือศูนย์ ฉบับพิเศษ แทนศูนย์ฉบับที่ 4

_______________________________________________

ผู้สนใจเรื่องราวนี้ต่อสามารถหาอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

-หนังสือพิษเพลิงร้ายที่บ้านนาทราย (ชวินทร์ สระคำ)

-หนังสืออสูรนาทราย(แดง นาคิน)

-เหตุเกิดที่บ้านนาทราย(ชัยวัฒน์ สุรวิชัย)

#TheIsaander#นาทราย#บึงกาฬ#หนองคาย#เผานาทราย

นาทรายวันนี้วิถีชีวิตเปลี่ยนไป จากการทำนาทำไร่จับปลา มาเป็นชาวสวนยาง

ต่อมา ในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๗ พล.ท.สายหยุด เกิดผล ผู้อำนวยการ กอ.ปค. (กองอำนายการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์) ยอมรับว่า เหตุการณ์ที่บ้านนาทราย เจ้าหน้าที่ทำเกินกว่าเหตุ และทางราชการจะยอมชดใช้ค่าเสียหายและสร้างบ้านให้ใหม่ และจะเลิกใช้นโยบาย ”ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” ในทางการเมือง ผลจากกรณีนี้ ชวินทร์ สระคำ จึงได้เขียนเป็นหนังสือเรื่อง พิษเพลิงร้ายที่บ้านนาทราย พิมพ์ใน พ.ศ.๒๕๑๗ ก่อนที่จะเสียชีวิตอย่างมีเงื่อนงำ

กระนั้นวิถีชีวิตตามท้องไร่ท้องนายังคงหลงเหลืออยู่บ้าง เจ้าทุยยังคงเป็นเพื่อนคู่ทุกข์คู่ยากของชาวบ้าน

ส่วนการเคลื่อนไหวของพคท.ที่บ้านนาทรายทางอีสานเหนือนี้มีมาตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๐๘  สืบเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวของขบวนการปะเทดลาวและแนวลาวฮักซาดเช่นกัน   ผู้เฒ่าคนหนึ่งเล่าว่าในกลางปี พ.ศ. ๒๕๐๘ การใช้กำลังทางอากาศเพื่อโจมตีฐานที่มั่นของฝ่ายปะเทดลาวได้เริ่มขึ้นโดยทันทีเมื่อความพยายามจัดตั้งรัฐบาลผสมล้มเหลว  เครื่องบิน T – 28 ตีตราเครื่องหมายกองทัพอากาศลาว  บินออกจากฐานทัพในประเทศไทยที่อุดรธานีผ่านเหนือบ้านนาทรายเป็นว่าเล่นโดยนักบินไทย – อเมริกัน ได้ทำการบินทิ้งระเบิดฐานที่มั่นของฝ่ายซ้ายทางภาคเหนือของลาวโดยได้รับไฟเขียวจากเจ้าสุวรรณภูมา

และนี่เป็นความพยายามที่จะทำลายฐานที่มั่นเซียงขวางและซำเหนือของฝ่ายปะเทดลาว และเพื่อตัดทำลายเส้นทางลำเลียงของเวียตนามเหนืออันลือลั่นนั่นคือ “เส้นทางโฮจิมินท์ – Ho Chi Minh Trail”ไปด้วยในเวลาเดียวกัน  ปีถัดมาสหรัฐอเมริกาเริ่มใช้เครื่องบินลำเลียงขนาดใหญ่คือ B-52 จากฐานทัพอากาศที่เกาะกวมในมหาสมุทรแปซิฟิกห่างออกไปถึง ๒,๐๐๐ ไมล์  การร่วมมือในการปฏิบัติการทางทหารได้รับการประสานงานจากฐานบินอุดรธานีร่วมกับสถานทูตสหรัฐฯในเวียงจันทน์   สหรัฐอเมริกาประเมินว่าพวกเขาจะหยุดสงครามในเวลาอันสั้น  แต่กาลกลับไม่เป็นเช่นนั้น  สงครามเวียตนามยืดเยื้อเกินกว่าที่ใครจะคาดคิด  ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ประธานาธิบดีลินดอน บี จอห์นสันแห่งสหรัฐฯเริ่มตระหนักว่าอเมริกันไม่มีทางที่จะชนะสงคราม

จากหลายเงื่อนไขและปัจจัยแวดล้อม  ทางวอชิงตันเริ่มเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการเจรจาสันติภาพ  หากแต่ว่าขบวนการสันติภาพนั้นต้องใช้เวลาอีกถึง ๕ ปีนับจากนี้  เป็นเวลาเดียวกันกับที่ทหารเวียตนามเหนือได้เพิ่มกำลังมากขึ้นเพื่อหนุนช่วยทหารกองทัพปะเทดลาวในการโจมตีกองกำลังม้งฝ่ายขวาภายใต้นายพลวังเปา(ตอนนี้เลื่อนยศแล้ว)บริเวณทุ่งไหหินและสามารถยึดพื้นที่ “หุบเขาน้ำบาก” อันเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางตะวันออกของหลวงพระบาง  หน่วยบินของสหรัฐฯตอบโต้ด้วยการทิ้งระเบิดอย่างหนักในเมืองซำเหนือ  เซียงขวางและฐานที่มั่น “กางแก” จนราบเป็นหน้ากลองไม่เหลือแม้แต่อาคารและสถานโบราณวัตถุ วัดวาอาราม  จนกระทั่งภายหลังสงครามรัฐบาลลาวต้องย้ายเมืองหลวงแห่งทุ่งไหหิน จากเซียงขวางมายัง “พงสวรรค์”

การทิ้งระเบิดของอเมริกันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของลาว ฝ่ายข่าวของสหรัฐฯประกาศทางสื่อระหว่างประเทศว่า “นี่คือการทิ้งระเบิดในเวียตนามเหนือ”  ยกเว้นแขวงพงสาลีซึ่งมีกองกำลังทหารของจีนประจำการ  และอยู่ระหว่างการสร้างเส้นทางเชื่อมจีน – ลาว  อเมริกันยังไม่อยากมีปัญหากับจีนและเปิดศึกหลายด้าน

ต่อมาภายหลังการเจรจาหยุดยิงในเวียตนามเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖  กองกำลังของสหรัฐฯต้องถอนออกจากเวียตนามทั้งหมดส่งผลให้เวียตนามเหนือและใต้รวมเป็นหนึ่งเดียว  ภายหลังสงครามเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าเฉพาะในเขตอิทธิพลของขบวนการปะเทดลาว  สหรัฐฯ (และไทย) ได้ทิ้งระเบิดในพื้นที่แห่งนี้ประมาณ ๒ ล้านตัน ว่ากันว่ามากกว่าการทิ้งระเบิดของกองทัพอากาศสหรัฐฯระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในยุทธการทุกภูมิภาคสหรัฐอเมริการ่วมปฏิบัติการ

เมื่อเปรียบเทียบกับประชากรลาวในภาคตะวันออกก็เท่ากับว่าระเบิดสองตันต่อคนลาวหนึ่งคน  นับว่าหนักหน่วงที่สุดของการใช้ระเบิดต่อลูกต่อคนในประวัติศาสตร์แห่งสงคราม  ลองคิดดูว่ามันจะขนาดไหน?? หากจะประมาณตามพื้นที่ก็จะตกอยู่ราวๆ ๒๐ ตันต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร!   ส่วนที่บ้านนาทรายผู้เฒ่าคนเดิมบอกว่าก่อนอเมริกันจะถอนกำลังออกจากฐานทัพ มีการทิ้งระเบิดเพื่อลดน้ำหนักเครื่องบินฝั่งลาวและลามมาถึงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัวซึ่งไม่ไกลจากบ้านนาทรายมากนัก

คณะของเราลาภรรยาของหมอวิไลเพราะเย็นมากแล้ว  หัวหน้าคณะบอกว่าอย่างน้อยต้องได้เห็นปากซันเพราะอยู่ไม่ไกลนัก  ผมเคยได้ยินแต่เพลง “กุหลาบปากซัน” อยากรู้เหมือนกันว่าจะงามอย่างที่เพลงว่าหรือไม่

แต่เราไม่มีโอกาสได้เห็น “กุหลาบปากซัน” เพราะมัวโอ้เอ้ระหว่างทาง กระนั้นปากซันยามเย็นย่ำก็คงสวยไม่แพ้กับกุหลาบ

กุหลาบปากซัน – คาราบาว

แดนดินถิ่นไกลเหลือตา อยู่สุดนภายังมีดอกฟ้าแสนงาม
หากไผได้เห็นจะมัวหลง ใฝ่ฝันพะวงหลงติดตาม สาวเอยสาวงาม งามเหลือใจ
งามจริงดังคำเขาซม หากได้สุขสมซื่นซมกับน้องสมใจ
อ้ายขอใฝ่ฝันแต่นางเดียว บ่ขอข้องเกี่ยวหญิงอื่นใด เฝ้าแต่หลงใหล ใฝ่ฝันใจปอง

* โอกุหลาบสวรรค์ แห่งเมืองปากซันที่อ้ายยังฝันหมายปอง
ใจ หวังคู่เคียงประคอง กุหลาบเป็นสีดั่งทอง เมื่อยามแสงส่องจากดวงสุรีย์
** ยามแลงค่ำลงน้ำซัน โอ้บริคัน น้ำซันไหลผ่านใสดี
แลเห็นหมู่สาวเจ้าล่องลอย หมู่ปลาใหญ่น้อยลอยเล่นคี สิ้นแสงสุรีย์สดสีแสงจันทร์
(ซ้ำ * , **)

ขอขอบคุณข้อมูล จาก http://www.thaioctober.com/

20นาทรายนาหินกอง ถีบลงเขาเผาลงถังแดง

2517เราเคียดแค้นกันมากกับการเผาหมู่บ้าน ทำกันเหมือนทำสงครามเวียตนามในเมืองไทย
2518 เราจึงร้องเพลงนี้ด้วยอารมณ์เต็มที่
“แบ่งแยกแล้วทำลาย นาทรายนาหินกอง อยู่กินกันอย่างพี่น้อง ไอ้ผู้ปกครองมันมาจุดไฟ”
คาราวาน – “อเมริกันอันตราย”

“กรณีนาทราย เริ่มจากเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2517 มีการเผาหมู่บ้านนาทราย ที่อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย ซึ่งมีประชากรราว 1,500 คน ทางราชการได้อ้างว่าผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เป็นผู้เผาหมู่บ้าน แต่ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 เมื่อ นายธีรยุทธ บุญมี ผู้ประสานงานกลุ่ม ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (ปช.ปช.) ได้นำนายลม กาญจนสาร ผู้ใหญ่บ้านนาทรายมาเปิดเผยเรื่องการเผาหมู่บ้านว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐเองเป็นผู้ปิดล้อมและเผาหมู่บ้าน ทั้งยังสังหารชาวบ้านตายอีก 3 คน ซึ่งถือว่าเป็นการเหยียบย่ำกฎหมายบ้านเมืองครั้งใหญ่ จากนั้น ก็ได้นำชาวบ้านเข้าพบนายกรัฐมนตรีเพื่อชี้แจงความจริง ในที่สุดผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ต้องยอมรับว่าเจ้าหน้าที่เป็นผู้เผาหมู่บ้าน แต่ก็อ้างว่าชาวบ้านเป็นผู้ก่อการร้ายจึงต้องเผา จนกระทั่งในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ รัฐบาลต้องตั้งกรรมการขึ้นสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีนี้ ในขณะที่ฝ่ายนักศึกษาได้นัดชุมนุมที่สนามหลวง และศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ได้ยื่นข้อเรียกร้องแก่รัฐบาล 3 ข้อ คือ ให้รัฐบาลชดใช้ค่าเสียหายแก่ชาวบ้านนาทราย ให้หาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามขบวนการยุติธรรม และให้ยอมรับและเปลี่ยนแปลงนโยบายการปราบปราม” (http://www.2519.net)
ไม่เพียงนาทรายยังเผาหมู่บ้านนาหินกองตำบลกกตูมอำเภอนาแกจังหวัดนครพนมด้วย

กับกรณีถีบลงเขาเผาลงถังแดง ผมได้ไปพัทลุงพร้อมคณะนักศึกษาชุดใหญ่ นำโดยพินิจ จารุสมบัติ รองเลขาธิการฝ่ายการเมืองศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ครั้งนั้นผมได้พบปะพูดคุยกับคนใหญ่แห่งมอ.อุปนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ซึ่งต่อมาหลังหกตุลาเข้าป่าเป็นผู้ปฏิบัติงานระดับรุ่นพี่นักศึกษาแห่งเขตงานสงขลาสอง เทพา-สะบ้าย้อย-นาทวีคุณช้าง วัชรินทร์ไตรวุฒานนท์ผู้แต่งเพลงศรีตรัง

“ลาก่อนอำลาฟากฟ้าศรีตรัง มวลชนยังเรียกหาร่วมฝ่าฟัน
มวลชนมีค่ามีคุณนิรันดร์ร่วมสร้างสรรค์ปฏิวัติชาติไทย”
ผมจำได้เท่านี้ แต่ที่บันทึกไว้โดยหอประวัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นดังนี้
ลาก่อนอำลาฟากฟ้าศรีตรัง มวลชนยังเรียกหาจากป่าดอย
ข้าวกล้าในนายังเฝ้าคอย ร่วมสร้างรอยเดินทางของชาวนา
ชนชั้นแรงงานยังกร้านการสู้ ตะโกนกู่ร้องเรียกจนก้องฟ้า
คอยเธอคอยเธอให้ก้าวเข้ามา ร่วมมรรคาร่วมชั้นสามัญชน
ฝนมาศรีตรังยั่งยืน หญ้าชื่นยามรับไอฝน
ศรีตรังดอกหญ้าหรือคน รับฝนจากฟ้าเดียวกัน
ลาก่อนอำลาฟากฟ้าศรีตรัง มวลชนยังเรียกหาร่วมฝ่าฟัน
มวลชนมีค่ามีคุณนิรันดร์ ร่วมแรงกันพลีเหงื่อเพื่อสร้างไทย

“เหตุการณ์ “ถังแดง” หรือ รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า “เผาลงถังแดง” เป็นเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของรัฐ ที่ใช้วิธีการรุนแรงนอกกระบวนการกฎหมายเพื่อลงโทษผู้ต้องสงสัยว่าเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการคอมมิวนิสต์ ในเขตจังหวัดพัทลุงและพื้นที่ใกล้เคียงในช่วงเวลาของทศวรรษ 2510 ปฏิบัติการที่ถูกกล่าวถึงในแง่ลบนี้ คือ การที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐด้วยวิธีการจับกุมผู้ต้องสงสัยมาใส่ในถังน้ำมัน ขนาด 200 ลิตร ซึ่งใส่น้ำมันเชื้อเพลิงเอาไว้ในก้นถังประมาณ 20 ลิตร แล้วจึงเผาผู้ต้องสงสัยเหล่านั้น โดยที่ผู้ต้องสงสัยบางส่วนถูกทรมานจนเสียชีวิตมาก่อนหน้านั้น ในขณะที่บางส่วนซึ่งยังไม่เสียชีวิตก็จะถูกเผาทั้งเป็น
เมื่อ13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาและแนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ เปิดอภิปรายที่สนามหลวง และมีแถลงการณ์กรณีถังแดง โดยเรียกร้องให้รัฐบาลยุบกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) โดยด่วน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ยุติการสังหารประชาชนในการปราบปรามคอมมิวนิสต์แบบเหวี่ยงแหและให้รัฐบาลใหม่ชดใช้ค่าเสียหายแก่ครอบครัวผู้เคราะห์ร้ายทุกครอบครัว 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 ชาวบ้านจากจังหวัดพัทลุง พร้อมด้วยนายพินิจ จารุสมบัติ รองเลขาฝ่ายการเมืองศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ได้เข้าพบ พล.อ.กฤษณ์ สีวะรา ผู้บัญชาการทหารบกใน เวลานั้นเพื่อเรียกร้องเกี่ยวกับกรณีถังแดง ซึ่ง พล.อ.กฤษณ์ ยอมรับว่า เรื่องถังแดงนั้นได้เกิดขึ้นจริง พร้อมกันนั้นได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน และเตรียมเสนอให้รัฐบาลใหม่ถอนกำลังจาก กอ.รมน. ให้หมดด้วย
แม้จะเชื่อกันว่ามีผู้เสียชีวิตจากปฏิบัตินี้เป็นจำนวนมาก แต่ก็ไม่สามารถระบุถึงจำนวนผู้เสียชีวิตอย่างชัดเจน โดยบางแหล่งข้อมูลระบุว่ามีผู้เสียชีวิต 3,008 ราย ในขณะที่ข้อมูลจากพันเอกวิจักขพันธุ์ เรือนทอง นายทหารผู้รับผิดชอบภารกิจด้านการเจรจากับกองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์ภาคใต้ในเวลาต่อมาระบุว่าจำนวนดังกล่าวเป็นยอดผู้เสียชีวิตในกรณีคอมมิวนิสต์ทั้งหมด ของจังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราช และสุราษฏร์ธานี มิใช่กรณีของถังแดงเท่านั้น ในขณะที่ พ.อ.หาญ พงศ์สิฏานนท์ ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายอำนวยการและประสานงานกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในในขณะนั้น ยอมรับในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 ว่าข่าวที่ระบุว่าเจ้าหน้าที่ของ กอ.รมน. ได้สังหารชาวบ้านจากหลายอำเภอของจังหวัดพัทลุง ด้วยการจุดไฟเผาซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 3,000 ศพ นั้นเป็นความจริง และในท้ายที่สุดแล้วเรื่องราวของการสังหารโหดด้วยวิธีการถังแดง ก็ไม่มีการติดตามอย่างจริงจังในการเอาผิดทางกฎหมายแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้”
เหตุการณ์ถีบลงเขา เผาลงถังแดง ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ดร.นิยม รัฐอมฤต

แม้วันนี้จะไม่มีสงครามต้านคอมมิวนิสต์ในไทยไม่เผาหมู่บ้าน ไม่จับคนใส่ถังแล้วจุดไฟเผา แต่ไทยเรายังมีการไล่คนทั้งหมู่บ้านทั้งทางตรงและทางอ้อมด้วยโครงการของรัฐและหรือเอกชน ไม่ว่าอยากจะสร้างเขื่อน อยากจะทำเหมืองแร่ หรือแม้แต่ด้วยข้ออ้างสวยหรูว่าจะทวงคืนผืนป่าให้คนไทย ส่วนการฆ่ากันด้วยวิธีอื่นนั้น คงธรรมดาเกินไปจนชาชิน

07.38 น. วันที่ 25 มกราคม 2558

เพลง ถังแดง วงจรยุทธ
หน่วยศิลปวัฒนธรรมแห่งภูบรรทัด
คำร้อง-ขับร้อง แสง ธรรมดา ทำนอง รองเง็ง

ปังๆ โวยว้าย เสียงเจ้านายรบกวน ค่ำมืดลมหวน เสียงมันชวนครางครัน
กระโดดลงใต้ถุนหลบกระสุนนาย กลิ่นความตายโชยมา
เขาว่าพัทลุงสบาย ฉันว่าอันตรายแท้เชียว
จะไปทางไหนให้หวาดเสียว มันโกรธเรานิดเดียวเราก็ตาย
จับใส่ลงถัง ราดน้ำมันแล้วจุดไฟ ข้อหาคอมมิวนิสต์ มันคิดไป
จับพี่น้องเราใส่เตา แล้วเผาไฟ แล้วมันก็ป้ายสีแดง
บ้างเมียก็เสียผัว ถูกตัดหัวเสียบประจาน
มันขี้หกลูกหลาน ว่าสันดานเป็นคอมฯ
แท้จริงมันคือเจ้านาย หัวหน้าตัวร้ายไอ้สอพลอ
มึงต้องออกไปไอ้หัวหมอ ไอ้พวกหัวดอต้องออกไป
ชีวิตคนไทย มันขาย เป็นทาสรับใช้ไอ้กัน
พรากลูกเมียเขาเพื่อเอาเงิน แร่ไทยมันขนกันจนสุดประเมิน
แล้วยังสรรเสริญเยินยอ

คลิปเรื่องเล่าจากชาวบ้าน ลุงหนูกาย

ดูรูปคลิกที่ภาพ

‘>

ข่าวเด่นบึงกาฬ ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด