ผู้เขียน | ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์ |
---|---|
เผยแพร่ |
การพัฒนาเส้นทางการคมนาคมทางรถไฟของประเทศไทยได้นำความเจริญให้เกิดขึ้นแก่สองข้างทางและสร้างชุมชนใหม่ที่ทางรถไฟตัดผ่าน ทำให้การเดินทางติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว คนไทยจึงเริ่มรู้จักการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อสำรวจบ้านเมืองของตน โดยเฉพาะคนที่มีฐานะ มีอันจะกินพอที่จะหาซื้อกล้องถ่ายภาพได้ เมื่อเดินทางเพื่อการค้าหรือเพื่อการท่องเที่ยว จึงชอบที่จะบันทึกภาพขณะเดินทาง
การเดินทางในยุคที่ถนนหนทางยังไม่ทั่วถึงและสะดวกสบายเหมือนในยุคปัจจุบัน รถไฟจึงเป็นยานพาหนะที่ดีที่สุด เส้นทางรถไฟสายอีสานตอนบนเดินทางถึงจังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๖ ถึงสถานีรถไฟอุดรธานี วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๔ และถึงสถานีรถไฟนาทา (หนองคาย) เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๘ ทำให้ผู้คนจากส่วนกลางเดินทางไปรับราชการ ประกอบธุรกิจ ติดต่อค้าขายกับคนในท้องถิ่น และใช้เวลาบางส่วนท่องเที่ยวในสถานที่แปลกๆ และมีชื่อเสียงในท้องถิ่นนั้นๆ
ภาพภูมิทัศน์ของอำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคายเป็นภาพที่บันทึก เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๖ มีจำนวน ๑๓ ภาพ สิบภาพแรกถ่ายบริเวณแก่งอะโฮง (ปัจจุบันคือแก่งอาฮง ตำบลหอคำ อำเภอเมืองฯ) และริมน้ำโขง ส่วน ๓ ภาพหลังถ่ายในสถานที่ราชการที่อยู่ริมน้ำโขง คือ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และด่านศุลกากร
ขอขอบคุณอาจารย์ อธิบายโดย ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์ เว็บไซต์บึงกาฬดอทเน็ตเพิ่มเติมข้อความ
ภาพแม่น้ำโขงในอดีตยังไม่กว้างมากนักเนื่องจากขอบริมตลิ่งยังไม่ถูกเซาะมาก บริเวณวัดอาฮงแก่งอาฮงปัจจุบัน ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มีวัดและการเขียนชื่อชาวบ้านเรียกว่าแก่งอะโฮง สมัยนั้นแม่น้าโขงก็ยังไม่กว้างมากนักชาวบ้านสามารถลอยข้ามไปมาได้เวลาน้ำลงและในอดีตเคยมีการซื้อขายวัวควายแม้แต่การโขมยวัวควายกันก็จะไล่ลงแม่น้ำโขงให้ลอยข้ามฝั่งได้
ภาพถ่ายแถวแม่น้ำโขงฝั่งตรงข้ามปากซัน
‘>