LINE : ติดต่อผู้ดูแล

ยินต้อนรับเว็บไซต์ข่าวสารเพจข่าวท้องถิ่นบึงกาฬ

วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2024
คอลัมน์วันนี้

ภูทอก อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ

นำข้อมูลจากเว็บไซต์ (www.thongteaw.com)

 

เมื่อกล่าวถึง “การท่องเที่ยววัด” ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอม (www.thongteaw.com) เชื่อว่าคงมีผู้คนจำนวนหนึ่งซึ่งอยากเบือนหน้าหนีลี้หลบ ขอกลับไปนอนสลบอุตุอยู่กับบ้านจะรู้สึกรำคาญใจน้อยกว่าการเดินทางเข้าสู่อาณาบริเวณขอบเขตพัทธสีมา หรือบางคนก็อาจจะถามตัวเองอยู่ในใจลึก ๆ ว่ามีอะไรให้ดูที่วัดกันหนอ ? หากแต่สำหรับผู้ซึ่งชอบทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ปฏิบัติธรรมแล้ว การเข้าวัดก็อาจจะเหมือนกับการไปพักผ่อน แสวงหาความสุขสงบให้แก่หัวใจอันเหนื่อยล้า ค้นคว้าสัจจะธรรมให้กับชีวิต ยิ่งเข้าวัดเป็นนิจจิตก็ยิ่งสว่างแจ่มใส

ทั้งนี้ไม่ว่าใครจะรู้สึกอย่างไรกับ “วัด” มาก่อนก็ตาม ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมเชื่อว่าข้อมูลของ
วัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก)” อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ น่าจะทำให้หลาย ๆ คนรู้สึกอยากเข้าวัดมากยิ่งขึ้นกว่าที่เคยเป็นอย่างแน่นอน (ปัจจุบัน อ.ศรีวิไล ถูกแยกออกมาจาก จ.หนองคาย แล้วผนวกควบรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ “จ.บึงกาฬ” ซึ่งเป็นจังหวัดที่ได้รับการตั้งขึ้นใหม่เมื่อต้นปี พ.ศ. 2554 แต่ช่วงเวลาในขณะที่ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมไปเก็บข้อมูล “วัดเจติยาคีรีวิหาร” นั้น อ.ศรีวิไล ยังคงขึ้นอยู่กับ จ.หนองคายครับ)

ภูทอก อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ ภูทอก อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ ภูทอก อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ ภูทอก อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ

“ภูทอกน้อย” คือ ภูเขาหินทรายสีน้ำตาลแดงขนาดใหญ่
เป็นที่ตั้งของ “วัดเจติยาคีรีวิหาร” หรือ “วัดภูทอก”

 

ภูทอก อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ ภูทอก อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ ภูทอก อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ

………………..เงียบสงบ ร่มเย็น………………..

ภูทอก” ในภาษาอีสานแปลว่า “ภูเขาที่โดดเดี่ยว” แต่ถึงแม้จะได้ชื่อว่าภูเขาโดดเดี่ยว “ภูทอก” ก็ประกอบไปด้วยภูเขาหินทรายสีน้ำตาลแดงขนาดใหญ่สองลูกเรียงตัวอยู่ใกล้เคียงกัน คือ “ภูทอกใหญ่” และ “ภูทอกน้อย” นักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นภูทอกทั้งสองแห่งตั้งอยู่อย่างโดดเด่นได้ตั้งแต่ระยะไกล

ภูทอก อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ
ด้านหน้า “วัดเจติยาคีรีวิหาร”
มองเห็น “สะพานนรก – สวรรค์” ซึ่งสร้างเวียนขึ้นสู่ยอด “ภูทอกน้อย” อยู่ไกลลิบๆ

บริเวณโดยรอบภูทอกมีทัศนียภาพอันสวยงาม เงียบสงบ รายล้อมไปด้วยป่าทึบซึ่งอุดมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด จวบจนเมื่อปี พ.ศ. 2512 “พระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ” ลูกศิษย์สาย “พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะมหาเถระ” ได้เข้ามาจัดตั้งแหล่งบำเพ็ญเพียรเพื่อให้พุทธศาสนิกชนปฏิบัติธรรม กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อสร้าง “วัดเจติยาคีรีวิหาร” หรือ “วัดภูทอก” และ “สะพานนรก  สวรรค์” สะพานไม้ที่สร้างเวียนขึ้นสู่ยอด “ภูทอกน้อย” อย่างพิลึกพิลั่นมหัศจรรย์

ภูทอก อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ ภูทอก อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ

“สะพานนรก – สวรรค์” หนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของเมืองไทย

“สะพานนรก – สวรรค์” เป็นสะพานไม้เวียนรอบจากเชิงเขาขึ้นสู่ยอดภูทอกน้อยที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 350 เมตร (ยอดภูทอกน้อยมีระดับความสูงใกล้เคียงกับตึก 60 – 70 ชั้น) สร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาจากเหล่าพระ เณร และชาวบ้านซึ่งอาศัยอยู่โดยรอบบริเวณภูทอก เริ่มต้นการสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2512 ใช้เวลาทั้งหมด 5 ปีจึงแล้วเสร็จ พระอาจารย์จวนผู้บุกเบิกการก่อสร้างวัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก) หวังจะให้สะพานแห่งนี้สื่อความหมายในแง่ที่ว่า ผู้ซึ่งจะเดินไปตามเส้นทางธรรมที่สามารถน้อมนำให้สัตบุรุษหลุดพ้นไปจากความทุกข์ทั้งปวงจนอยู่เหนือโลกได้นั้น จะต้องเป็นผู้มีความเพียรพยายาม ความอดทน และความมุ่งมั่น อีกทั้งยังต้องรู้จักประคับประคอง ควบคุม รักษาสติสัมปชัญญะเอาไว้ให้จงดี ไม่ยอมให้ตนเองตกอยู่ในความประมาท จึงจะสามารถก้าวข้ามผ่านอุปสรรคต่าง ๆ ล่วงพ้นไปสู่จุดหมายในท้ายที่สุดได้ (บันได – สะพานไม้เปรียบเสมือนเส้นทางธรรม , ความสูงชันเป็นดุจดั่งอุปสรรคต่าง ๆ , ยอดภูทอกน้อยเหมือนกับจุดมุ่งหมายสุดท้าย คือ ความหลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวง หากเดินทางด้วยประมาทขาดสติพลาดพลั้งร่วงหล่นตกลงมาระหว่างทางก็อาจจะต้องเจ็บปวดรวดร้าวราวกับตกนรก)

ภูทอก อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ ภูทอก อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ
……………ระหว่างเส้นทางขึ้นสู่ยอดภูทอกน้อย……………

“สะพานนรก – สวรรค์” มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 7 ชั้น (สวรรค์ตามความเชื่อทางพุทธศาสนามีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 6 ชั้น ได้แก่ จตุมหาราชิกา , ดาวดึงส์ , ยามา , ดุสิต , นิมมานรดี และ ปรนิมมิตวสวัตดี แต่การที่ “สะพานนรก – สวรรค์” มี 7 ชั้นนั้นอาจจะเพื่อสื่อความหมายว่ายังมีสภาวะที่อยู่เหนือขึ้นไปจากสวรรค์ทั้ง 6 อีก ซึ่งก็คือ “นิพพาน” หรือ “ความพ้นไปจากกองทุกข์ทั้งปวง” นั่นเอง) แต่ละชั้นมีลักษณะแตกต่างกันดังนี้

ชั้นที่ 1 – 2 เป็นเพียงแค่บันไดไม้สู่ชั้นที่ 3 ซึ่งเริ่มมีสะพานเวียนรอบเขา เส้นทางเดินรอบชั้นที่ 3 นี้มีโขดหิน ลานหิน โตรกผา และไม้ยืนต้นขึ้นกางกิ่งใบให้ร่มเงาครึ้ม จากชั้นที่ 3 จะมีทางแยกสองทางโดยทางแยกด้านซ้ายมือจะเป็นบันไดทางลัดไปสู่ชั้นที่ 5 ส่วนทางแยกด้านขวาจะเป็นทางขึ้นสู่ชั้นที่ 4

ภูทอก อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ
……………กุฏิพระภิกษุสงฆ์บนเขา……………

ชั้นที่ 4 เป็นสะพานลอยไต่เวียนรอบเขา มองลงไปเบื้องล่างจะเห็นเนินเขาเตี้ย ๆ สลับกันเรียกว่า “ดงชมพู” ทิศตะวันออกจรดกับ “ภูลังกา” ในเขต อ.เซกา (เดิม อ.เซกา ถือเป็นส่วนหนึ่งของ จ.หนองคาย แต่ปัจจุบันถูกแบ่งแยกออกมาอยู่ในเขต จ.บึงกาฬ เช่นเดียวกับ อ.ศรีวิไล) บนชั้น 4 นี้เป็นที่พักของแม่ชี รอบชั้นมีระยะทางประมาณ 400 เมตร มีจุดให้นั่งพักผ่อนชมทิวทัศน์ระหว่างทางเป็นระยะ ๆ

ชั้นที่ 5 เป็นที่ตั้งของศาลาและกุฏิพระภิกษุสงฆ์ ตามทางเดินรอบชั้นนี้มีถ้ำตื้น ๆ อยู่หลายถ้ำ มีลานกว้างที่สามารถนั่งพักได้อยู่หลายแห่ง มีหน้าผาซึ่งมีชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ผาเทพนิมิต , ผาเทพสถิต , ผาหัวช้าง เป็นต้น หากเดินไปทางด้านทิศเหนือจะได้เห็นสะพานหินธรรมชาติซึ่งทอดยาวออกไปเชื่อมกับสะพานไม้สู่ “วิหารพระพุทธ” วิหารที่สร้างขึ้นอย่างแปลกประหลาดพิสดารจนดูราวกับมีใครนำหินก้อนใหญ่ไปวางทับไว้บนหลังคาวิหาร วิหารพระพุทธนี้เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและถือเป็นจุดชมทิวทัศน์ซึ่งมีความงดงามมากที่สุดบนภูทอกน้อยเลยทีเดียว (ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมแนะนำว่า “วิหารพระพุทธ” คือ สถานที่ซึ่งทุก ๆ คนที่สู้อุตส่าห์เดินขึ้น “สะพานนรก – สวรรค์” มา ไม่ควรพลาดการแวะเยี่ยมชมอย่างยิ่งครับ)

จากวิหารพระพุทธจะสามารถมองเห็นแนวของ “ภูทอกใหญ่” ที่วางตัวอยู่ใกล้ ๆ ได้อย่างชัดเจน

ภูทอก อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ ภูทอก อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ ภูทอก อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ ภูทอก อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ
สิ่งปลูกสร้างอันพิลึกพิลั่นพิสดาร และ บรรยากาศโดยรอบภูทอกน้อย

 

ภูทอก อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ ภูทอก อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ ภูทอก อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ ภูทอก อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ
1.สุดสายตาที่ภูทอกใหญ่ 2.สะพานไม้ซึ่งทอดยาวไปสู่วิหารพระพุทธ 3.ดอกไม้ริมทาง
4.ทิวทัศน์ผืนแผ่นดินเบื้องล่างเมื่อมองจากสะพานนรก – สวรรค์

ผู้ซึ่งเดินขึ้นมาตาม “สะพานนรก – สวรรค์” ส่วนใหญ่มักจะหยุดการเดินทางอยู่เพียงแค่ชั้นที่ 5 เนื่องจากชั้นที่ 6 เป็นสะพานไม้แคบ ๆ เวียนรอบเขาเกาะติดอยู่ริมหน้าผาสูงชันดูน่าหวาดเสียว แต่หากลองแข็งใจเดินขึ้นมายังสะพานชั้นที่ 6 ดูก็จะพบกับจุดชมทิวทัศน์สวย ๆ ที่สามารถถ่ายภาพ “วิหารพระพุทธ” จากมุมสูงได้ สะพานชั้นที่ 6 นี้มีความยาวรอบเขาทั้งหมดประมาณ 400 เมตร (สะพานชั้นที่ 6 มีความยาวใกล้เคียงกับสะพานชั้นที่ 4) และมีบันไดไม้ทอดยาวขึ้นไปสู่ยอดภูทอกน้อยเป็นชั้นสุดท้าย

“วิหารพระพุทธ” คือ สถานที่ซึ่งมีความสวยงามมากที่สุดของ “วัดภูทอก”

บริเวณยอดภูทอกน้อยมีแมกไม้ใหญ่น้อยขึ้นยืนต้นบดบังทัศนียภาพโดยรอบทำให้ไม่สามารถมองเห็นทิวทัศน์ต่าง ๆ เบื้องล่างได้ชัดเจนนัก แต่ก็มีทางดินที่สามารถเดินไปชมความงดงามของวิหารพระพุทธจากมุมสูงได้เช่นเดียวกับบริเวณสะพานนรก – สวรรค์ชั้นที่ 6 ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมแนะนำว่าหากคุณรู้สึกว่าเรี่ยวแรงภายในร่างกายเริ่มหดหายคล้ายจะเป็นลมหน้ามืดก็คงไม่จำเป็นต้องเดินทนขึ้นมาถึงยอดภูทอกน้อยก็ได้ เพราะจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงามที่สุดบนภูทอกน้อยนั้นอยู่บริเวณสะพานนรก – สวรรค์ชั้นที่ 5 ถึงชั้นที่ 6 ไม่ใช่จุดชมทิวทัศน์บนยอดภูทอกน้อยดังที่หลาย ๆ คนเข้าใจกันแต่อย่างใด (สำหรับ “ภูทอกใหญ่” นั้น แม้ว่าจะมีสิ่งปลูกสร้างลักษณะคล้ายหอระฆัง ? ตั้งอยู่ด้านบนยอดภู แต่ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมก็ไม่รู้ว่ามีทางขึ้นอยู่ ณ ที่แห่งใด ทำให้พวกเราไม่ได้ปีนขึ้นไปเก็บข้อมูลบนภูทอกใหญ่ครับ)’>

คอลัมน์วันนี้ ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด