ห้วงหน้าแล้งพันธุ์พืชพันธุ์ต่างๆ มักออกดอกออกผลให้เห็น ทีมนักวิจัยนำโดย ผศ.ดร.สุธีร์ ดวงใจ คณะวนศาสตร์ มก. ร่วมกับ ผศ.ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.สมราน สุดดี กับ นายสุคิด เรืองเรื่อ นักพฤกษศาสตร์ สำนักหอพรรณไม้ อุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และ Dr.David Middleton ผู้เชี่ยวชาญประจำสวนพฤกษศาสตร์สิงคโปร์ ออกสำรวจป่าไม้และพรรณพืชชนิดใหม่ๆเข้าตรวจสอบพืชในสกุลมะเกลือ ที่ไม่ทราบชนิด ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จ.บึงกาฬ
ทีมงานนักพฤกษศาสตร์ และเจ้าหน้าที่ของสำนักหอพรรณไม้ ได้ข้อสรุป…พืชดังกล่าวเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก
เนื่องจากมีลักษณะสัณฐานวิทยาและพันธุกรรมที่แตกต่างจากชนิดที่ได้รายงานไว้เดิมอย่างชัดเจน พร้อมตั้งชื่อพืชชนิดใหม่นี้ว่า มะพลับภูวัว คำระบุชนิด phuwuaensis เนื่องจากพื้นที่พบพืชชนิดนี้กระจายพันธุ์อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว
มะพลับภูวัว เป็นพืชในวงศ์มะเกลือ ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ รูปใบหอกแกมรูปไข่ หรือรูปรี หลังใบเขียวเข้ม ท้องใบ เขียวนวล ดอกออกตามซอกใบหรือกิ่งอ่อนที่ทิ้งใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีจำนวน 4-5 กลีบ กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน กลีบดอกสีขาว ผลทรงรูปไข่ ขนาด 1.3-1.8 ซม. ผลอ่อนสีเขียวอ่อน สุกสีม่วงดำ และดำ กลีบจุกผลที่มีลักษณะเรียวยาว และบิด ถือว่าเป็นพรรณไม้ในสกุลนี้เพียงชนิดเดียวของไทย ที่มีลักษณะกลีบจุกผลยาวเลยตัวผลอย่างชัดเจน.
เมื่อวันที่ 13 มี.ค.ผศ.ดร. สุธีร์ ดวงใจ ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผย ว่า ตนได้ร่วมกับ ผศ.ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ดร. สมราน สุดดี นายสุคิด เรืองเรื่อ นักพฤกษศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญจากสำนักหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และDr.David Middletonนักพฤกษศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญประจำสวนพฤกษศาสตร์สิงคโปร์
ได้ร่วมกันศึกษาตรวจสอบพืชในสกุลมะเกลือ (Diospyros) ที่ไม่ทราบชนิด ซึ่งได้มีเก็บตัวอย่างจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จังหวัดบึงกาฬ โดยทีมงานนักพฤกษศาสตร์และเจ้าหน้าที่ของสำนักหอพรรณไม้ และได้ข้อสรุปว่าพืชดังกล่าวเป็นพืชชนิดใหม่ของโลกเนื่องจากมีลักษณะสัณฐานวิทยาและพันธุกรรมที่แตกต่างจากชนิดที่ได้รายงานไว้เดิมอย่างชัดเจน
ทั้งนี้ ได้ตั้งชื่อพืชชนิดใหม่ดังกล่าวว่าDiospyrosphuwuaensis Duangjai, Rueangr.& Suddeeหรือ มะพลับภูวัว คำระบุชนิดphuwuaensisมาจากพื้นที่ที่พืชชนิดนี้กระจายพันธ์อยู่ คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว ซึ่งมะพลับภูวัว เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ รูปใบหอกแกมรูปไข่ หรือรูปรี หลังใบเขียวเข้ม ท้องใบเขียวนวล ดอกออกตามซอกใบหรือกิ่งอ่อนที่ทิ้งใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีจำนวน 4–5กลีบ กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน กลีบดอกสีขาว ผลทรงรูปไข่ ขนาด1.3–1.8ซม. ผลอ่อนสีเขียวอ่อน สุกสีม่วงดำ และดำกลีบจุกผลที่มีลักษณะเรียวยาว และบิด เป็นพรรณไม้ในสกุลนี้เพียงชนิดเดียวของไทยที่มีลักษณะกลีบจุกผลยาวเลยตัวผลอย่างชัดเจน
ทั้งนี้ มะพลับภูวัวเป็นพืชเฉพาะถิ่นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พบเฉพาะเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว มักขึ้นตามริมลำห้วยในป่าดิบแล้ง เป็นพืชในวงศ์มะเกลือ (Family Ebenaceae) พรรณไม้หลายชนิดในวงศ์นี้สามารถใช้ประโยชน์ในรูปเนื้อไม้ บางชนิดมีผลที่สามารถรับประทานได้ บางชนิดมีการใช้ประโยชน์ทางยาและสีย้อม และเนื่องจากมะพลับภูวัวมีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมกับมะเกลือ (Diospyros mollis) ซึ่งมีรายงานการใช้ประโยชน์ทางยาและสีย้อม ดังนั้น ผู้ศึกษาจักได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมถึงศักยภาพการใช้ประโยชน์ในลักษณะของมะพลับภูวัวต่อไป..
มะพลับภูวัวเป็นพืชในวงศ์มะเกลือ (Family Ebenaceae) พรรณไม้หลายชนิดในวงศ์นี้สามารถใช้ประโยชน์ในรูปเนื้อไม้ บางชนิดมีผลที่สามารถรับประทานได้ บางชนิดมีการใช้ประโยชน์ทางยาและสีย้อม อนึ่งเนื่องจากมะพลับภูวัวมีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมกับมะเกลือ (Diospyros mollis) ซึ่งมีรายงานการใช้ประโยชน์ทางยาและสีย้อม ดังนั้นผู้ศึกษาจักได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมถึงศักยภาพการใช้ประโยชน์ในลักษณะดังกล่าวของมะพลับภูวัว ผลงานดังกล่าวได้ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ Thai Forest Bulletin (Botany) ฉบับที่ 48 (1) หน้า 34–44. ปี พ.ศ. 2563 เรื่อง Diospyros phuwuaensis (Ebenaceae), a new species from North-Eastern Thailand
อ่านวารสารได้ที่ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/ThaiForestBulletin/article/view/207099/163850
https://www.dailynews.co.th/education/762700
https://www.thairath.co.th/news/local/1836694
[pdf-embedder url=”http://www.dnp.go.th/botany/PDF/publications/Phuwua_Phulanka.pdf”]’>