25-03-58) เวลา 15.00 น. นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรีพร้อมด้วยคณะลงพื้นที่ อ่างเก็บน้ำบึงโขงหลง บ้านดอนกลาง หมู่ที่ 1 ตำบลบึงโขงหลง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการอ่างเก็บน้ำบึงโขงหลงอันเนื่องมาจากพระราชดำริและเยี่ยมชมพื้นที่รับประโยชน์ของเกษตรกรจากโครงการดังกล่าว โดยมีนายเทวัญ สรรนิกร รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ และประชาชนในพื้นทีให้การต้อนรับ บึงโขงหลงเป็นบึงน้ำจืดลักษณะแคบยาว เกิดจากลำห้วยหลาย สายไหลมารวมกัน มีความยาวประมาณ 13 กิโลเมตร และความ กว้างประมาณ 2 กิโลเมตร น้ำในบึงลึกโดยเฉลี่ยประมาณ 50-100 เซนติเมตร โดยมีส่วนที่ลึกที่สุดประมาณ 6 เมตร บึงโขงหลงเป็น ส่วนของที่ราบน้ำท่วมถึงของแม่น้ำสงคราม น้ำจากบึงไหลลงสู่ แม่น้ำสงครามก่อนออกแม่น้ำโขง มีเกาะกลางบึง ได้แก่ ดอนแก้ว ดอนโพธิ์ ดอนน่อง ดอนสวรรค์ มีป่าดิบแล้งที่ค่อนข้างสมบูรณ์บนเกาะเหล่านี้ มีการก่อสร้างทำนบกั้นน้ำเพื่อเสริมขอบบึงธรรมชาติ และประตูระบายน้ำทางด้านใต้ พื้นที่โดยรอบส่วนใหญ่ ค่อนข้างราบเรียบ พื้นที่ติดกับบึงบางแห่งเป็นลูกคลื่นลอนลาด มีชุมชนเมืองอยู่ตอนล่างของบึง พื้นที่ดินรอบบึงเป็นที่นา ลักษณะทางการชลประทาน 1. มีทำนบดินขนาดกว้าง 3.0 เมตร ยาว 1,270.00 เมตร สูงสุดประมาณ 3.50 เมตร 2. มีอาคารประกอบและระบบส่งน้ำ อ่างเก็บน้ำมีพื้นรับน้ำฝน 59.30 ตารางกิโลเมตร มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยปีละ 1,614.00 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำนองสูงสุด 118.60ลูกบาศก์เมตร ต่อ วินาที ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำ 28,042,970.00 ลูกบาศก์เมตร พื้นที่ผิวน้ำที่ระดับเก็บกัก 9,600,000.00 ตารางเมตร ความจุที่ระดับเก็บกัก 12,000,000 ลูกบาศก์เมตร ความจุที่เก็บกักปัจจุบัน 8,000,000 ลูกบาศก์เมตร ตัวเขื่อนมีระดับสันเขื่อน 165.00 เมตร ระดับสูงสุด 165.00 เมตร ระดับเก็บกัก 163.50 เมตร อ่างเก็บน้ำบึงโขงหลงเป็นแหล่งน้ำต้นทุน เพื่อการเพาะปลูกและเกษตรกรรมรอบอ่างเก็บน้ำ และด้านท้ายอ่างเก็บน้ำ ทั้งนี้มีศักยภาพสูงสุดสามารถส่งน้ำให้แก่พื้นที่เพาะปลูกได้อย่างเต็มที่ถึง 2,000 ไร่ ทั้งฤดูฝนและฤดูแล้งและเป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับการทำน้ำประปาชุมชนโดยรอบ จำนวน 18 หมู่บ้าน เป็นแหล่งประมงที่สำคัญ เป็นแหล่งท่องเที่ยวดูนกน้ำจำนวน นับพันๆ ตัว ที่อพยพในฤดูหนาว มีทัศนียภาพที่สวยงาม อีกทั้งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำโลก ซึ่งเป็นที่มาของแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การบริหารจัดการน้ำและการเกษตร มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ โดยยกระดับจากกลุ่มพื้นฐานเป็นกลุ่มบริหาร ในปี พ.ศ.2557 โดยมี ผู้ใหญ่บ้าน บ้านดอนกลาง (นายสมภาร นาชัย ) เป็นประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำ ปัจจุบันมีสมาชิก จำนวน 70 คน เป็นพื้นที่ทำการเกษตรด้านท้ายน้ำ โดยการปลูกข้าว จำนวน 378 ไร่ ในฤดูฝน และ จำนวน 536 ไร่ ในฤดูแล้ง การทำนาจะดำเนินการในช่วงนาปรังเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากพื้นที่เกษตรกรรมจะถูกน้ำท่วมในฤดูฝนจากการเอ่อล้นของน้ำในลำน้ำเมา ชนิดของพืชที่ทำการเพาะปลูก ได้แก่ ข้าวเหนียว ข้าวจ้าว และข้าวก่ำ จำแนกเป็น ข้าวเหนียว 320 ไร่ ข้าวจ้าว 200 ไร่ ข้าวก่ำ 16 ไร่ ก่อนมีโครงการฯ เกษตรกรส่วนใหญ่ ทำนาปี ทำประมง และปลูกพืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด เป็นต้น แต่หลังจากมีโครงการฯ เกษตรกรสามารถทำการเกษตรได้หลากหลายมากขึ้นและมีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น อาทิ สามารถทำนาปี และนาปรัง บางรายได้หันมาปลูกพืชเศรษฐกิจ โดยเฉพาะยางพารา โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรกรรมรอบอ่างเก็บน้ำด้านเหนือน้ำ ส่วนด้านท้ายน้ำส่วนใหญ่ปลูกข้าว โดยในเขตพื้นที่ชลประทานจะทำนาปีละ 2 ครั้ง พบว่าก่อนมีโครงการฯ เกษตรกรใช้น้ำฝนในการทำนา ได้ผลผลิตประมาณ 360 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากได้ใช้น้ำจากโครงการฯ ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 960 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรจึงได้ใช้ประโยชน์จากน้ำในการทำนาปี นาปรัง ขณะที่ปัจจุบันได้เปลี่ยนวิถีทำนาจากการใช้สารเคมีเป็นการทำนาแบบเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษ
‘>