LINE : ติดต่อผู้ดูแล

ยินต้อนรับเว็บไซต์ข่าวสารเพจข่าวท้องถิ่นบึงกาฬ

วันพฤหัสที่ 21 พฤศจิกายน 2024
ข่าวสังคม-การเมือง

อสม.ตำบลบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ร่วมแสดงจุดยืน สนับสนุนกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ต่อ ท่านผู้ว่าราชการบึงกาฬ

UPrNjsyQOvERSrC-800x450-noPad 11391445_778060508957769_2515198334559411606_n 11141194_778060525624434_1110772691670630923_n

ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่เพื่อเด็กและเยาวชนไทยในอนาคต ซึ่งต้องการการสนับสนุนจากประชาชนชาวไทยทุกคน

  1. ข้อเท็จจริง
  • กฎหมายบุหรี่ (พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ และ พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่)  ได้มีการบังคับใช้มากว่ายี่สิบปีแล้ว ในขณะที่บริษัทบุหรี่ได้พัฒนาเทคนิคการตลาดใหม่ ๆ  รวมทั้งมีผลิตภัณฑ์ยาสูบชนิดใหม่ ๆ ออกสู่ตลาด  ทำให้มีผู้เสพติดบุหรี่รายใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปรับปรุงกฎหมายควบคุมยาสูบให้สอดคล้องกับอนุสัญญาควบคุมยาสูบ  ขององค์การอนามัยโลก ที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 179 รัฐภาคี ที่ต้องควบคุมการทำการตลาดของบริษัทบุหรี่
  • จำนวนคนไทยที่สูบบุหรี่ในปี พ.ศ.2556  ลดลงจากปี พ.ศ.2534  เพียงเล็กน้อย  แต่แนวโน้มอัตราการสูบกลับสูงขึ้นในกลุ่มเยาวชนและสตรี จากสถิติพบว่าเยาวชนไทย 10 คนที่ติดบุหรี่ 7 คนจะติดไปตลอดชีวิต และใน 3 คนที่เหลือ  ต้องสูบบุหรี่เฉลี่ย 20 ปีก่อนที่จะเลิกได้
  1. ประเด็นที่แก้ไขเพิ่มเติมใน พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ 
  • แก้ไขคำนิยามให้ทันกับกลยุทธ์ของบริษัทบุหรี่

– คำว่า “ผลิตภัณฑ์ยาสูบ”  ให้หมายรวมถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบใหม่ ๆ อาทิ  บุหรี่ไฟฟ้า  บารากู่

– คำว่า “การโฆษณา”  ให้ครอบคลุมการสื่อสารการตลาดรูปแบบใหม่ ๆ อาทิ การใช้สื่อบุคคล “พริตตี้”

  • เพิ่มมาตรการป้องกันการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบของเยาวชน

– ห้ามขายผลิตภัณฑ์ยาสูบแก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี (ปัจจุบันกำหนดไว้ที่ 18 ปี)

– ห้ามขายผลิตภัณฑ์ยาสูบผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ปัจจุบันมีนโยบายห้าม แต่ไม่มีกฎหมายรองรับ)

– ห้ามขายบุหรี่ซิกาแรตที่บรรจุซองน้อยกว่ายี่สิบมวน

– ห้ามแบ่งขายบุหรี่ซิกาแรตเป็นมวน ๆ (ปัจจุบันห้ามอยู่แล้ว แต่กฎหมายเขียนไว้ไม่ชัดเจน)

  • เพิ่มข้อห้ามการโฆษณาทางอ้อม

– ห้ามการสื่อสารการตลาดในสื่อต่าง ๆ รวมถึงการใช้สื่อบุคคล (พริตตี้)

– ห้ามเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับ “กิจกรรมเพื่อสังคม” (CSR) ของบริษัทบุหรี่ ในทุกสื่อ (ปัจจุบันห้ามเพียงสื่อวิทยุและโทรทัศน์)

  • เพิ่มมาตรการอื่น ๆ ตามที่กำหนดในอนุสัญญาควบคุมยาสูบ องค์การอนามัยโลก

– ห้ามส่วนราชการรับการอุปถัมภ์จากธุรกิจยาสูบ (ปัจจุบันห้ามโดยมติ ครม.)

– กำหนดลักษณะของจุดขายปลีกยาสูบ

– กำหนดให้บริษัทบุหรี่ต้องจัดส่งรายงานประจำปีให้คณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบ

– กำหนดแนวทางและขั้นตอนการติดต่อระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับบริษัทบุหรี่ ในกรณีที่มีความจำเป็น

  • เพิ่มมาตรการคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่

– กำหนดให้ผู้ดำเนินการ (เจ้าของสถานที่สาธารณะ) มีหน้าที่รับผิดชอบไม่ให้มีการสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่

– ปรับปรุงขั้นตอนการบังคับใช้กฎหมายเขตปลอดบุหรี่

  • ปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการควบคุมยาสูบในทุกระดับ

– กำหนดให้มีคณะกรรมการควบคุมยาสูบระดับประเทศ  และคณะกรรมการควบคุมยาสูบระดับจังหวัด รวมทั้งให้มีการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการควบคุมยาสูบ

ทั้งนี้ เนื่องจากงานควบคุมยาสูบของประเทศไทย ยังขาดโครงสร้างองค์กรรัฐที่จะสนับสนุนการควบคุมยาสูบในระดับจังหวัด  ทั้ง ๆ ที่มีคนไทยที่สูบบุหรี่กว่าร้อยละ 90 อาศัยอยู่ในต่างจังหวัด  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดให้มีคณะกรรมการระดับจังหวัดในร่างกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อทำหน้าที่ประสานงานและสนับสนุนการควบคุมยาสูบในระดับจังหวัด

  1. ผลดีของ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่
  • มาตรการต่าง ๆ ที่ปรับปรุงจะมีผลทำให้

– จำนวนเยาวชนรายใหม่ที่เสพติดบุหรี่ลดลง

– จำนวนผู้ที่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้เพิ่มขึ้น

– รัฐบาลสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่มากขึ้น

  • ประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศภายใต้อนุสัญญาควบคุมยาสูบได้และไม่ขัดต่อกฎระเบียบต่าง ๆ ขององค์การการค้าโลก
  • ตลาดบุหรี่ซิกาแรตจะไม่สามารถขยายตัวได้ หรือมีขนาดค่อย ๆ เล็กลง ผู้ผลิตและผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ยาสูบจะขยายตลาดได้ยากขึ้น

พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ เน้นควบคุมอุตสาหกรรมยาสูบ ไม่ให้สร้างการตลาดเพื่อดึงดูดให้เยาวชนสนใจยาสูบทุกรูปแบบ โดยเฉพาะ การพัฒนารสชาติใหม่ ๆ การออกผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ การลดราคาด้วยการขายแยกซอง และ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม  การส่งเสริมการขายที่ร้านค้าปลีก เช่น การโฆษณาที่จุดขาย  ห้ามการตลาดด้วยสื่อต่าง รวมทั้งการใช้สื่อบุคคลเช่น พริตตี้ และการโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ โดยไม่มีมาตราใดบังคับเกี่ยวกับการปลูกยาสูบหรือการขายใบยาสูบ

หาก พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้ คาดว่าจะส่งผลต่อการลดอุปสงค์ยาสูบของเยาวชนและป้องกันรายใหม่ปีละไม่ต่ำกว่า1 แสนคน ซึ่งจะลดความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์ได้เฉลี่ย 15,800 ล้านบาทต่อปี และแทบจะไม่กระทบรายได้ภาษีสรรพสามิตของกระทรวงการคลัง ที่ควรจะปรับอัตราตาค่าเงินเฟ้อทุกปี ซึ่งปัจจุบันเก็บภาษีบุหรี่ได้ 6 หมื่นล้านบาทต่อปี เป็นสัดส่วนรายได้ภาษีจากบุหรี่นอกร้อยละ38 มาจากบุหรี่ภายในประเทศร้อยละ 62

ส่วนชาวไร่ผู้ปลูกใบยาสูบมีช่องทางการขายใบยาสูบหลายช่องทาง ตั้งแต่การขายให้โรงงานยาสูบมูลค่ากว่า 1,ุ600 ล้านบาทและการส่งออกมูลค่ากว่า 2,250 ล้านบาท ส่วนที่เหลือขายให้กับผู้ประกอบการยาเส้นภายในประเทศ ดังนั้น ชาวไร่จะได้รับผลกระทบจากการลดอุปสงค์ภายในประเทศไม่มาก และมีระยะเวลาในการปรับตัวไปปลูกพืชอื่นๆที่มีผลเสียต่อสุขภาพน้อยกว่าร่วมด้วย

            มาตรการที่กำหนดในร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ ล้วนเป็นมาตรการสากลที่กำหนดอยู่ในอนุสัญญาควบคุมยาสูบฯ ที่ประเทศไทยรวมทั้ง 178 ประเทศ เป็นรัฐภาคีและเป็นมาตรการที่ประเทศต่างๆ เขาทำกันอยู่แล้ว เพื่อคุ้มครองเยาวชนจากการเสพติดบุหรี่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่กำลังมีการขับเคลื่อนกฏหมายฉบับนี้ออกมา ก็ได้รับแรงต้านจากบริษัทบุหรี่ และนอมินีของบริษัทบุหรี่ ในนามของชมรมและสมาคมต่างๆ  เราจึงอยากวิงวอนชาวไทยให้ร่วมกันลงชื่อสนับสนุน พรบ ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ฉบับใหม่นี้ให้ประกาศใช้โดยเร็วที่สุด

 

#10 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ

  1. ทำไมจึงต้องปรับปรุงกฎหมายควบคุมยาสูบ กฎหมายปัจจุบันดีอยู่แล้วไม่ใช่หรือ

ตอบ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ และ พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ใช้มา 23 ปีแล้ว ทำให้ล้าสมัยไม่ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่ ๆ และไม่ทันกับกลยุทธ์การตลาดของบริษัทบุหรี่
ประเทศไทยมีข้อผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาควบคุมยาสูบ องค์การอนามัยโลก ในการปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับที่อนุสัญญากำหนด เพื่อคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากพิษภัยยาสูบ
อัตราการสูบบุหรี่ของชายไทยยังสูงถึง 40% และจำนวนผู้สูบบุหรี่ยังมีถึง 11.0 ล้านคน ยาสูบเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนเวลาอันดับที่สองของคนไทย

  1. กฎหมายนี้จะส่งผลดีต่อสุขภาพของคนไทยอย่างไร

ตอบ ร่างกฎหมายใหม่เน้นการควบคุมการตลาด การเข้าถึงยาสูบของเด็ก ๆ และการแทรกแซงนโยบายควบคุมยาสูบโดยบริษัทบุหรี่ ประโยชน์โดยรวมของกฎหมายใหม่คือการลดจำนวนเด็กและเยาวชนที่จะเสพติดบุหรี่ ซึ่งปัจจุบันนี้มีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ติดบุหรี่แล้ว 4 แสนคน ทั้งนี้สถิติพบว่าเด็กไทย 10 คนที่ติดบุหรี่ 7 คนจะเลิกไม่ได้จนตลอดชีวิต

  1. กฎหมายนี้จะกระทบต่อร้านค้าปลีกอย่างไร

ตอบ ผลกระทบต่อร้านค้าปลีกยาสูบแต่ละรายจะมีน้อยมาก เนื่องจากมีร้านค้าปลีกยาสูบ 6 ถึง 7 แสนร้านทั่วประเทศ ยาสูบเป็นเพียงหนึ่งในสินค้าหลากหลายชนิดที่ขายโดยร้านค้าปลีก ซึ่งรายได้จากการขายยาสูบคิดเป็นประมาณ หนึ่งในสิบของรายได้ของร้านค้าปลีก ดังนั้นหากรายได้จากการขายยาสูบลดลงเพียงเล็กน้อย ก็จะไม่กระทบรายได้ของร้านค้าปลีกในภาพรวม

  1. ประเด็นที่สมาคมการค้ายาสูบไทยคัดค้านมากที่สุดคืออะไร

ตอบ สมาคมการค้ายาสูบไทยคัดค้านการห้ามแบ่งซองขายบุหรี่เป็นรายมวน แต่ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายนี้ เนื่องจากการสำรวจพบว่า 88.3% ของเด็กไทยอายุ 15-17 ปีที่สูบบุหรี่ ซื้อบุหรี่แบบเป็นรายมวน และมีเด็กอายุ 15-18 ปี 236,225 คนที่ซื้อบุหรี่แบบรายมวนในแต่ละวัน การขายบุหรี่แบบรายมวน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็ก ๆ ทดลองสูบจนเกิดการเสพติดบุหรี่ ซึ่ง 70% จะติดไปตลอดชีวิต
ขณะที่มี 97 ประเทศทั่วโลกที่มีกฎหมายห้ามแบ่งซองขายบุหรี่เป็นรายมวนแล้ว รวมทั้งลาว เมียนมาร์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และบรูไน

  1. กฎหมายนี้จะกระทบต่อชาวไร่ยาสูบอย่างไร

ตอบ โดยบทบัญญัติของร่างกฎหมายใหม่ ไม่มีส่วนใดที่เกี่ยวกับการปลูก การบ่ม หรือการค้าใบยาสูบ
• ผลกระทบจากกฎหมายใหม่ที่จะมีต่อชาวไร่ยาสูบ จะเกิดจากกฎหมายใหม่ทำให้จำนวนผู้สูบบุหรี่ และยอดขายบุหรี่ลดลง
• จากสถิติที่ผ่านมา 20 ปี จำนวนผู้สูบบุหรี่ไทยลดลงเพียงเล็กน้อยจาก 12.3 ล้านคน (พ.ศ.2535) เหลือ 11.5 ล้านคน (พ.ศ.2556) ยอดจำหน่ายบุหรี่ซิกาแรตอยู่ที่ประมาณ 2,000 ล้านซองต่อปี ตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แม้จะมีมาตรการควบคุมยาสูบออกมาอย่างต่อเนื่อง
• การวิเคราะห์แนวโน้มจำนวนผู้สูบบุหรี่จากที่ผ่านมา พบว่าในปี พ.ศ.2568 จำนวนผู้สูบบุหรี่จะเท่ากับ 10.5 ล้านคน เนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น
ดังนั้นความเป็นไปได้ที่ชาวไร่ยาสูบจะได้รับผลกระทบจากร่างกฎหมายใหม่ หากจะเกิดขึ้นก็จะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป

  1. จะมีหนทางเยียวยาชาวไร่ยาสูบที่อาจจะได้รับผลกระทบจากกฎหมายใหม่อย่างไร

ตอบ แม้โอกาสที่จะเกิดผลกระทบต่อชาวไร่ยาสูบจากกฎหมายใหม่จะมีน้อย แต่รัฐบาลควรที่จะตั้งคณะกรรมการพิจารณาช่วยเหลือ – เยียวยาเกษตรกรชาวไร่ยาสูบ กรณีที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการที่คนไทยสูบบุหรี่น้อยลง ด้วยการสนับสนุนการปลูกพืชทดแทน ตามข้อแนะนำมาตรา 17 ของอนุสัญญาควบคุมยาสูบ

  1. กฎหมายใหม่จะกระทบผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าบุหรี่อย่างไร

ตอบ ขณะนี้โรงงานยาสูบไทยมีกำไรประมาณปีละ 6,000 ล้านบาท และบริษัทฟิลลิป มอร์ริสประเทศไทย มีกำไรประมาณปีละ 3,000 ล้านบาท สมมุติว่ากฎหมายใหม่มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยทำให้ยอดจำหน่ายบุหรีซิกาแรตลดลง 10% ผลกระทบที่เกิดกับโรงงานยาสูบไทยคือกำไรลดลง 600 ล้านบาท และบริษัทฟิลลิป มอร์ริส กำไรลดลง 300 ล้านบาทต่อปี แต่ทั้งสองฝ่ายก็ยังคงมีกำไรรวมกันถึงปีละ 8,000 ล้านบาท
กล่าวโดยสรุปคือ ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ยาสูบ เพียงแต่ขาดทุนกำไรเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

  1. กฎหมายใหม่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่

ตอบ เนื้อหาในกฎหมายใหม่ทั้งหมดนำมาจากอนุสัญญาควบคุมยาสูบ องค์การอนามัยโลก กรณีที่ฝ่ายที่คัดค้านอ้างว่า “อาจจะขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ” คือบทบัญญัติที่ให้อำนาจรัฐบาลในการออกกฎหมายซองบุหรี่แบบเรียบในอนาคต
ออสเตรเลียได้ใช้กฎหมายซองบุหรี่แบบเรียบตั้งแต่ พ.ศ.2555 ตามข้อกำหนดของอนุสัญญาควบคุมยาสูบฯ เพื่อลดความเย้ายวนของซองบุหรี่ต่อวัยรุ่น เพื่อทำให้เด็ก ๆ ติดบุหรี่น้อยลง
สหภาพยุโรปประกาศว่ากฎหมายซองบุหรี่แบบเรียบไม่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ และขณะนี้ประเทศอังกฤษ ไอร์แลนด์ และฝรั่งเศสได้ออกกฎหมายซองบุหรี่แบบเรียบแล้ว ขณะที่สวีเดน นอร์เวย์ ฟินแลนด์ และนิวซีแลนด์อยู่ในระหว่างการพิจารณากฎหมายนี้
ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจึงไม่มีข้อที่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะหากยังไม่มีการออกกฎหมายลูกเกี่ยวกับมาตรการบังคับใช้ซองบุหรี่แบบเรียบ

  1. กฎหมายนี้เข้มงวด “สุดโต่ง” เกินไปตามที่บริษัทบุหรี่กล่าวอ้างหรือไม่

ตอบ บทบัญญัติต่าง ๆ ในร่างกฎหมายนำมาจากข้อกำหนดของอนุสัญญาควบคุมยาสูบ องค์การอนามัยโลกที่ 180 ประเทศทั่วโลก นำไปบรรจุไว้ในกฎหมายของแต่ละประเทศ เพื่อปกป้องประชาชนจากพิษภัยร้ายแรงของยาสูบ บทบัญญัติต่าง ๆ ในร่างกฎหมายล้วนแต่มีประเทศอื่นนำไปบังคับใช้แล้วทั้งสิ้น
และหากจะว่ากันแล้ว ยาสูบควรจะเป็นสินค้าที่ถูกห้ามผลิตและขาย หากพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่า ยาสูบมีอำนาจเสพติด มีสารก่อมะเร็งถึง 70 ชนิด และทำให้ครึ่งหนึ่งของผู้ใช้ยาสูบระยะยาวเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนเวลา ในขณะที่สินค้าบริโภคอื่นเช่น เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์นม อาหารกระป๋อง ฯลฯ หากถูกตรวจพบว่ามีสารก่อมะเร็งแม้แต่ชนิดเดียวจะถูกห้ามขายและสินค้าจะถูกเรียกเก็บจากตลาดทันที
กฎหมายนี้จึงไม่ได้เข้มงวด “สุดโต่ง” ตามวาทะกรรมของบริษัทบุหรี่ หากแต่มีความชอบธรรม แต่ยังอาจไม่ได้สัดส่วนกับความสูญเสียที่สินค้ายาสูบทำให้เกิดขึ้นกับผู้สูบบุหรี่ ครอบครัว สังคม และเศรษฐกิจของประเทศ

  1. ฝ่ายที่คัดค้านร่างกฎหมายฉบับใหม่เป็นใคร

ตอบ ฝ่ายที่ออกมาคัดค้านอย่างเปิดเผยมีสองกลุ่มคือ
1) สมาคมการค้ายาสูบไทย ที่อ้างว่าเป็นตัวแทนของผู้ค้าปลีกยาสูบ 1,200 ราย สมาคมนี้สนับสนุนโดยบริษัทฟิลลิป มอร์ริส ประเทศไทย
2) สมาคมผู้บ่ม ผู้เพาะปลูก และผู้ค้าใบยาสูบไทย ซึ่งเป็นสมาคมเครือข่ายของสมาคมผู้ปลูกยาสูบนานาชาติ ซึ่งสนับสนุนโดยบริษัทบุหรี่ข้ามชาติ รวมถึงฟิลลิป มอร์ริส
เป็นวิธีการปกติที่บริษัทบุหรี่ข้ามชาติฟิลลิป มอร์ริสใช้องค์กรบังหน้า ผ่านสมาคมผู้ค้าปลีกยาสูบ และสมาคมชาวไร่ยาสูบในการคัดค้านการออกกฎหมายควบคุมยาสูบของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ในขณะที่บริษัทฟิลลิป มอร์ริสวิ่งเต้นภายในกับผู้กำหนดนโยบาย โดยเสนอว่า “ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการออกกฎหมายหรือระเบียบเพิ่มเติมเพื่อการควบคุมยาสูบ หากแต่สมควรให้ความสำคัญกับวิธีการในการเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจ และการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มากขึ้น”’>

ข่าวสังคม-การเมือง ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด