การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดทริป “ปั่นสองล้อ เลาะริมโขง ชมภูเขา ที่บึงกาฬ” นำทีมเที่ยวโดย ทีมจักรยานจากอุดรธานี เลย หนองบัวลำภู หนองคาย และบึงกาฬ ระหว่างวันที่ 22-26 มิ.ย.58
ภูสิงห์ บึงกาฬ” ยินดีต้อนรับคณะผู้บริหาร พนักงานเจ้าหน้าที่ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดบึงกาฬและคณะท่องเที่ยวโดยจักรยานจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ๑ ด้วยความยินดียิ่ง
ติดต่อสอบถามข้อมูลการท่องเที่ยว ติดต่อสอบถาม 088-5362717
ให้คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพใหญ่
จังหวัดบึงกาฬ ขอแนะ สถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดบึงกาฬ มีจุดเด่นทางธรรมชาติ ดังนี้ครับ ลำดับที่ ๑ ลานธรรมภูสิงห์
ลำดับที่ ๒ จุดชมวิวลานธรรม
เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงามอยู่ด้านตะวันออกของภูสิงห์เข้าถึงได้ง่าย สามารถมองเห็นแม่น้ำโขง เมืองปากกระดิ่ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและป่าภูวัว เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้าได้เป็นอย่างดี ให้คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพใหญ่
ลำดับที่ ๓ จุดชมวิวผาน้ำทิพย์
มีลักษณะเป็นหน้าผาหินสูงด้านทิศตะวันออกของภูสิงห์ จุดนี้จะมองเห็นทิวทัศน์เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูวัว แม่น้ำโขงและพื้นที่สวนยางพาราของชาวบ้านตำบลชัยพร ตำบลโคกก่อง อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ให้คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพใหญ่
ลำดับที่ ๔ จุดชมวิวถ้ำฤาษี
อยู่ด้านตะวันออกของภูสิงห็เป็น จุดนี้จะเป็นก้อนหินขนาดใหญ่ติดหน้าผาสูง มองเห็นวิวกว้าง สวยงาม มองเห็นทัศนียภาพของป่าภูวัว ภูทอกใหญ่ เห็นแม่น้ำโขง แก่งสะดอก หาดทรายแม่น้ำโขง และภูเขาเมืองปากกระดิ่ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้น ยามเช้า ในอดีตที่แห่งนี้เคยมีฤาษีมานั่งบำเพ็ญเพียร จึงเป็นที่มาของชื่อสถานที่ ให้คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพใหญ่
ลำดับที่ ๕ หินสามวาฬ
เป็นหินขนาดใหญ่ติดหน้าผาสูง แยกเป็น ๓ ก้อน มองไกลหรือมองจากภาพถ่ายทางอากาศ มีรูปร่างคล้ายปลาวาฬ พ่อ แม่ ลูก กำลังว่ายน้ำกันอย่างสนุกสนาน จึงเรียกกันว่า”หินสามวาฬ”เป็นจุดชมวิวที่สวยงามโดดเด่น อยู่ด้านตะวันออกของภูสิงห์ เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้า สามารถยืนชมทัศนียภาพของป่าภูวัว ห้วยบังบาตร แก่งสะดอก หาดทรายแม่น้ำโขงและภูเขาเมืองปากกระดิ่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ให้คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพใหญ่
ลำดับที่ ๖ หินรถไฟ
เป็นจุดที่สำคัญและโดดเด่นของพื้นที่ภูสิงห์ลักษณะเป็นก้อนหินขนาดใหญ่มองไกลๆคล้ายหัวขบวนรถไฟ บริเวณด้านล่างมีแหล่งน้ำ มีโขดหินรูปร่างโดดเด่น มีพืชพรรณธรรมชาติที่แปลกตา เป็นจุดที่ต้องเดินทางไกลและเป็นจุดสุดท้ายของภูสิงห์ เมื่อเดินทางถึงแล้วสามารถขึ้นไปยืนอยู่บนหินรถไฟ จะเห็นวิวทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกของภูสิงห์ ให้คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพใหญ่
ลำดับที่ ๗ หินช้าง
ลักษณะเป็นหินขนาดใหญ่คล้ายช้างครึ่งตัว อยู่ติดหน้าผาสูงชันฝั่งตะวันตกทางขึ้น ภูสิงห็ บริเวณรอบๆ มีต้นไผ่ขึ้นปกคลุม มองเห็นวิวพื้นที่สวนยางพาราอำเภอเมืองและอำเภอศรีวิไล ให้คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพใหญ่
ลำดับ ที่ ๘ หินหัวช้าง
อยู่ด้านตะวันตกของภูสิงห์ ลักษณะก้อนหินมองไกลคล้ายหัวช้าง หากยืนบนหัวช้างจะเห็นโขดหินเรียงรายด้านข้าง แปลกตาเป็นมุมโค้งริมหน้าผาคล้าย “แกรนด์แคนยอน”จุดนี้สามารถมองเห็นพื้นที่สวนยางพาราเป็นบริเวณกว้าง ให้คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพใหญ่
ลำดับที่ ๙ ส้างร้อยบ่อ มีลักษณะเป็นหลุมขนาดใหญ่-เล็ก จำนวนมากเป็นที่มาของ คำว่า “ส้างร้อยบ่อ” มีความหมายตามภาษาไทยว่า “บ่อน้ำร้อยบ่อ” เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา การเซาะกร่อนของลม ฝน อยู่ติดหน้าผาด้านตะวันตก ในฤดูฝนมีน้ำขัง จุดนี้มองเห็นศาลากลางจังหวัดบึงกาฬ เป็นจุดชมทัศนียภาพที่สวยงามเวลาใกล้พลบค่ำดวงอาทิตย์ตก ให้คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพใหญ่
ลำดับที่ ๑๐ ภูสิงห์จ้อง
มีลักษณะคล้ายคันจ้องหรือร่ม เป็นหินขนาดใหญ่ตั้งอยู่หลังภูสิงห์ บริเวณรอบๆ เป็นหน้าผาสูงชัน เป็นสถานที่แหล่งเรียนรู้ธรรมชาติเชิงนิเวศของหินขนาดต่างๆ จึงเป็นที่มาของชื่อ“ภูสิงห์จ้อง” ให้คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพใหญ่
ลำดับที่ ๑๑ หินงูเห่าจ้อง
มีลักษณะเป็นหินขนาดใหญ่สองก้อนวางทับซ้อนกัน มองไกลๆคล้ายรูปหัวงูเห่ากำลังแผ่แม่เบี้ยจ้องมองที่จะพ่นพิษ ตั้งอยู่หน้าผาทางขึ้นป่าภูสิงห์ บริเวณรอบๆจะมีต้นไม้ปลุกคลุมเล็กน้อย
ลำดับที่ ๑๒ หินหัวปลา
มีรูปร่างลักษณะคล้ายหัวปลาที่กำลังจะเขมือบเหยื่อบางอย่าง เป็นหินขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนหลังเขาภูสิงห์ บริเวณรอบๆ จะมีลานหินกว้าง มีร่องน้ำขังเป็นทางยาว
ลำดับที่ ๑๓ กำแพงหินภูสิงห์
อยู่ทางด้านทิศเหนือของภูสิงห์ มีลักษณะเป็นกำแพงหินสูง ซึ่งเกิดจากการเซาะกร่อนของลม ฝนและ เรียงซ้อนกันของชั้นหินตามธรรมชาติ เกิดเป็นลวดลายแปลกตา
ลำดับที่ ๑๔ ลานหินลาย
ลักษณะเป็นหลุมเล็กๆ จำนวนมากเกิดจากธรรมชาติมองดูไกลๆเป็นลานหินบริเวณกว้าง ชาวบ้านเรียกขานว่า “ลานหินลาย” มีหญ้าขึ้นกระจายปกคลุม ฤดูแล้งหญ้าจะแห้งตาย ฤดูฝนหญ้าจะฟื้นสภาพเป็นสีเขียวหย่อมๆ ดูสวยงาม
ข้อมูล ศูนย์จัดการกลุ่มป่าสงวนแห่งชาติที่ 154ป่าดงดิบกะลาป่าภูสิงห์และป่าดงสีชมพู กรมป่าไม้
ชมแผนที่คลิกที่ภาพ
‘>