LINE : ติดต่อผู้ดูแล

ยินต้อนรับเว็บไซต์ข่าวสารเพจข่าวท้องถิ่นบึงกาฬ

วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2024
ข่าวเด่นบึงกาฬ

“แม่น้าสงคราม” บ้านหลังสุดท้ายปลาจาก”ลุ่มน้ำโขง”

“แม่น้าสงคราม” บ้านหลังสุดท้ายปลาจาก”ลุ่มน้ำโขง”

35296_th

แม่น้ำสงคราม” มีถิ่นกำเนิดจากเทือกเขาภูพาน ในท้องที่ ต.ท่าศิลา อ.ส่องดาว จ.สกลนคร และ ต.คำเลาะ อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี ไหลพาดผ่าน 5 จังหวัดอีสานเหนือ ได้แก่ สกลนคร,อุดรฯ,หนองคาย,บึงกาฬ,นครพนม ยาวประมาณ 420กม.เป็นแม่น้ำสายสำคัญและมีความยาวที่สุดในภูมิภาคอีสานตอนบน

ำว่า”แม่น้ำสงคราม” ไม่ได้เกี่ยวดองเป็นญาติกับการศึกการสงครามใด สันนิษฐานว่าริมสองฝั่งลุ่มน้ำแห่งนี้ มีต้นครามหรือต้นคาม เป็นไม้พุ่มใช้ใบและต้นมาย้อมผ้าสีน้ำเงินเข้ม เรียกว่า”สีคราม”นั่นเอง ลุ่มน้ำสงครามเป็นระบบนิเวศน์ที่ชุ่มฉ่ำน้ำ หลากหลายทางชีวภาพสูงปรี๊ด มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติของ”ป่าบุ่งป่าทาม(ป่าน้ำท่วม)” ที่มีความสำคัญต่อสัตว์น้ำ เหมือนหลุมหลบภัย ในการวางไข่ และป้องกันอันตรายจากสัตว์ใหญ่

 

35296_1450862383_3_th

องค์กร WWF(World Wide Fund For Nature) ประจำประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนทุนจาก ธนาคาร HSBC ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ส่องกล้องเอ็กซเรย์แล้วเล็งเห็นความสำคัญต่อลุ่มน้ำแห่งนี้ ส่งหน่วยแรงเยอร์ลงพื้นที่จังหวัดนครพนม เฮียสั่งลุยสำรวจระบบนิเวศน์ของ”แม่น้ำสงครามตอนล่าง” กดปุ่มออกสตาร์ทมาตั้งแต่ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2557

ำไม!!ต้องเป็นนครพนมด้านคมขวานของไทย เพราะเป็นจุดสุดท้ายของน้ำสงครามจะไหลไปรวมกับ”แม่น้ำโขง” บริเวณ ต.ไชยบุรี อ.ท่าอุเทน ซึ่งมีความสำคัญยิ่งยวดต่อสัตว์จากลุ่มน้ำโขง ที่จะแหวกว่ายแสวงหาแหล่งสมบูรณ์ ในการวางไข่ผลิตทายาท มาเป็นอาหารบนโต๊ะ หล่อเลี้ยงชีวามนุษย์นับล้านๆคน โดยคณะสำรวจ WWF กางแผนที่ตรวจเช็คแหล่งที่อุดมของสัตว์น้ำ เพื่ออนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำอย่างยั่งยืน แต่ไม่กระทบกระเทือนวิถึชีวิตของชาวบ้านในแถบลุ่มน้ำ มีหมู่บ้านเป้าหมายรวม 21 ชุมชน 39 หมู่บ้าน อยู่ในเขตรับผิดชอบของ อ.ศรีสงคราม และ อ.ท่าอุเทน

หลายคนอาจสงสัยที่ องค์กร WWF ที่มีโลโก้”หมีแพนด้า”เป็นสัญลักษณ์ ทุ่มทุนมหาศาลในการสำรวจลุ่มน้ำสงคราม มีผู้เชี่ยวชาญลงไปคลุกฝุ่นกินนอนกับชาวบ้าน เก็บรายละเอียดเป็นเวลาแรมปี ข้อสงสัยนี้มีคำตอบครับ เพราะ”แม่น้ำสงคราม” เหมือนสาวบริสุทธิ์ ที่ยังรักษาพรหมจรรย์ในระบบนิเวศน์ได้สมบูรณ์ที่สุด ยังไม่ถูกเทคโนโลยี่สมัยใหม่มาเท็คโอเว่อร์ย่ำยี ให้น้ำตาตกติ๋งๆเหมือนแม่น้ำสายอื่น เป็นตู้กับข้าวของสัตว์น้ำในการดำรงชีพ

แม่น้ำสงคราม ในวันนี้จึงไม่ต่างจาก”มดลูก” ที่ผลิตสัตว์น้ำนานาชนิด เวียนว่ายตลอดสายน้ำจนถึงเขตลุ่มน้ำโขง แหล่งเก่าของสัตว์เหล่านั้น หลักใหญ่ใจความ คือ..แม่น้ำโขงระบบนิเวศน์เปลี่ยนแปลงไปมากจนฝูงปลา แทบจะหาชัยภูมิเหมาะๆวางไข่เหมือนอดีตที่ผ่านมาได้ จำต้องกระเสือกกระสนหาจุดผลิตทายาท เลี้ยวซ้ายผ่านตลอดเข้ามาในแม่น้ำสงคราม พบความอุดมสมบูรณ์เหลือคณานับ พร้อมใจกันย้ายถิ่นฐานเป็น”บ้านหลังสุดท้าย”ที่เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากลุ่มน้ำสงครามถูกทำลาย สัตว์น้ำกว่าร้อยชนิดถึงกาลสูญพันธุ์แน่นอน..

35296_1450862383_2_th

จึงไม่แปลก WWF จะสั่งเดินเครื่องเต็มสูบ เพื่อรักษาพรหมจรรย์ของแม่น้ำสงครามให้คงอยู่ชั่วลูกชั่วหลาน

ทีมสตัฟฟ์ WWF นครพนม นำโดย คุณยรรยง ศรีเจริญ หน.ฝ่ายทรัพยากรน้ำจืดฯ พร้อมลูกทีมประกอบด้วย คุณไชยา เพ็งอุ่น,คุณนักสิทธิ์ สังข์จันทร์,คุณอัสนัย สระสูงเนิน,นางสาวอมรรัตน์ สุมาพรม,และ นางสาวจินตนา นาราษฎร์ รวมใจเป็นหนึ่งเดียว คลุกคลีตีโมงกับชาวบ้านตลอดริมน้ำสงคราม ไม่เห็นแก่เหน็ดแก่เหนื่อย จนคนรักแทบจะบอกเลิกเลยเชียว

ผสื่อข่าวได้รับหนังสือเชิญจากคุณยรรยง ไปร่วมสำรวจ”โครงการฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำสงครามตอนล่าง” ของเช้าตรู่วันที่ 19 ธันวาคม 2558 งานโหดมันส์ฮาแบบนี้มีเหรอจะพลาด รีบตอบรับไวปานสายฟ้าแลบ จุดนัดรวมพลอยู่ร้านกาแฟอเมซอน ในชายคาปั๊ม ปตท.ศรีสงคราม รองท้องเบาๆด้วยข้าวกล่อง ล้างคาวด้วยกาแฟกลิ่นห๊อมหอม จนสมควรแก่เวลาคุณยรรยงพร้อมคณะสื่อมวลชนทุกสำนัก ห้อตะบึ่งรถยนต์ไปจอดทิ้งไว้ที่บ้านท่าบ่อ ต.ท่าบ่อสงคราม ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 7 กม.

สถานที่จอดรถอยู่ริมน้ำสงคราม ร่มรื่นด้วยแมกไม้ แสงแดดส่องลงมาแทบไม่ทะลุ มีการอธิบายเส้นทางเป็นที่เข้าใจกันทุกฝ่าย สื่อมวลชนต้องขนสัมภาระมาขึ้นรถสองแถว ต่อไปยังบ้านท่าโข่ง ต.บ้านข่า อีกประมาณ 5 กม. เส้นทางดังกล่าวไม่ราบเรียบเลย เพราะเป็นทางฝุ่น(ไม่ใช่ลูกรัง) พวกเรานั่งหัวสั่นหัวคลอนสูดดมอมฝุ่น จนเส้นผมเปลี่ยนเป็นสีทอง ไม่ต้องเปลืองเงินย้อมดีครับ

35296_1450862383_4_th

ถึงบ้านท่าโข่งมีชาวบ้านรอต้อนรับ พร้อมกล่าวถึงการอนุรักษ์รักษาพันธุ์สัตว์น้ำในลุ่มน้ำสงคราม ตรงนี้มี นายสมพิศ ขุนทะวาด ผช.ผญบ.หมู่ 8 ฉายเดียวเป็นวิทยากร จะขาดเสียมิได้ต้องมี นายนิกร คำใบ กำนันบ้านข่าคนโก้ มาในชุดอีสานกึ่งคาวบอย นำทางพวกเราลงท่า เพื่อล่องเรือไม่ใช่ตามหารัก แต่เป็นการล่องเรือตรวจความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรใต้ผืนน้ำ เป็นเรือกีบใช้สำหรับหาปลาของชาวประมง รวมระยะทางจากจุดบ้านท่าโข่งล่องถึงบ้านท่าบ่อ ตรงที่เราจอดรถทิ้งไว้ 14 กม. ใช้เวลาประมาณ 3 ชม.ส่วนอุณหภูมิในวันนี้ช่างจะเป็นใจซะนักหนา อยู่ใน 21 ํ ไม่ร้อนไม่หนาวอากาศพอดี๊พอดี การล่องเรือตลอดเส้นทางจึงมากด้วยอรรถรส เรือกีบ 3 ลำ แล่นออกจากฝั่งมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำอธิบายขยายความอย่างดี

จุดแรกที่ได้สัมผัสคือ “วังแม่มาน” เป็นสถานที่”ห้ามจับปลาโดยเด็ดขาด” อนุรักษ์บริเวณนี้เป็นเขตขยายพันธุ์สัตว์น้ำ ซึ่งกลุ่มชาวบ้านมีส่วนร่วมในการกำหนดอาณาเขตกันเอง ความยาวประมาณ 300 เมตร มีทุ่นลอยน้ำกั้นเป็นเขตหวงห้าม คำว่า”แม่มาน” มาจากภาษาถิ่นหมายถึง “หญิงตั้งครรภ์” กล่าวกันว่าเธอถูกต้นตะเคียนบริเวณนั้นโค่นล้มทับจนเสียชีวิต จึงเรียกพื้นที่ตรงนี้เป็น”วังแม่มาน” เขยิ๊บไปอีกนิดชิดไปอีกหน่อย พบ”นกยางเปีย”สีขาวดุจดั่งหิมะ เกาะตามกิ่งไม้ริมท่า นกพวกนี้อพยพหนีหนาวมาจากจีนและไซบีเรีย ดูแล้วเจริญตาเจริญใจยิ่งนัก

 

35296_1450862383_1_th

เรือกีบแล่นเอื่อยแหวกสายน้ำ แสงแดดสาดกระทบคลื่นงามระยิบระยับ ราวแสงแฟลซในงานแคทวอล์ค แหมธรรมชาติช่างเสกสรรปั้นแต่งจริงๆ ไม่นานเรือมาจอดนิ่ง ณ ตรงที่เรียกกันว่า “สะดือแม่น้ำสงคราม” อยู่เขตที่ชาวบ้านตั้งชื่อว่า”วังตอ” ซึ่งเป็นบริเวณที่ลึกที่สุดของแม่น้ำสายนี้ ฤดูแล้งวัดได้ 7-8 เมตร ถึงฤดูน้ำหลากบวกเพิ่มอีก 4-5 เมตร สะดืดนี้ยาวประมาณ 1 กม.

ริม 2 ฟากฝั่งอุดมไปด้วย”ป่าบุ่งป่าทาม” เป็นต้นไผ่ประจำถิ่นมีขนาดเล็ก ชาวบ้านเรียก”ไผ่กะซะ” นอกจากจะเป็นบังเกอร์ของสัตว์น้ำแล้ว ใต้ร่มเงาของไผ่กะซะยังมีพืชผักต่างๆทั้งหน่อไม้+เห็ดฯลฯ ให้ธาตุอาหารสำคัญต่อมนุษย์มากมาย ไผ่กะซะยังเหมือนกำแพงเหล็ก 7 ชั้น ป้องกันตลิ่งพังโดยธรรมชาติอีกด้วย

แล้วเรือก็นำพวกเรามาถึง “ห้วยซิง” ส่วนแยกชองแม่น้ำสงคราม คล้ายๆเวิ้งน้ำที่กว้างใหญ่และอุดมสมบูรณ์พูนสุขของบรรดาฝูงปลา ปี 2555 มีชาวประมงสามารถจับ “ปลาบึก” สัตว์นำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก นำหนัก 230 กก. ได้ในห้วยน้ำซิงแห่งนี้ จึงมีการปกป้องห้วยแห่งนี้เป็นที่เพาะพันธุ์ปลาจากธรรมชาติไว้เฉพาะ ห้ามผู้ใดเข้ามาจับสัตว์น้ำในฤดูวางไข่เด็ดขาด สุดท้ายเรือลำน้อยก็พาเราเข้าหาฝั่ง แสดงว่าถึงจุดหมายปลายทางโดยสวัสดิภาพ

ริมชายฝั่งกลุ่มแม่บ้านท่าบ่อเตรียมหุงหาอาหารมื้อเที่ยงพร้อมเสริฟ มี ต้มยำปลาช่อนตัวเขื่อง ปลารากกล้วยทอดกรอบ ปลาส้มทอด ซึ่งเป็นสินค้าเลื่องชื่อของถิ่นนี้ ขาดเสียมิได้ด้วยประการทั้งปวงต้องมี “ส้มตำ”รสแซ่บ เคียงคู่มากับข้าวเหนียวร้อนๆ

ระหว่างโซ้ยข้าวเที่ยง คุณยรรยงบรรยายสรุปปิดท้ายรายการ ด้วยความห่วงใยต่อสัตว์น้ำในลุ่มน้ำสงคราม ที่อาจจะถูกความเจริญกระชากความบริสุทธิ์จากไป รวมทั้งการบุกรุกแถบชายตลิ่งจากน้ำมือชาวบ้าน ทำให้ระบบนิเวศน์แปรเปลี่ยน ปลาน้อยใหญ่ก็พลอยจะอันตธานสาบสูญไปพร้อมๆกัน อนาคตลูกหลานจะต้องเรียนรู้ สัตว์น้ำจากรูปภาพเท่านั้น ผู้บุกรุกส่วนมากเป็น”กลุ่มการเมือง+ผู้มีอิทธิพล”ในพื้นที่ ที่ว่าจ้างชาวบ้านแพ้วถางจนเตียนโล่ง

ในเวลานี้ “แม่น้ำสงคราม” เป็นบ้านหลังสุดท้ายที่เหลืออยู่ หากหมดจากตรงนี้ สัตว์นำที่ใช้ดำรงชีพจะต้องสูญพันธุ์แน่นอนครับ..คุณยรรยง กล่าวปิดงาน

 

 ‘>

ข่าวเด่นบึงกาฬ ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด