LINE : ติดต่อผู้ดูแล

ยินต้อนรับเว็บไซต์ข่าวสารเพจข่าวท้องถิ่นบึงกาฬ

วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2024
ข่าวสังคม-การเมือง

เปิดงานวันยางพาราบึงกาฬและงานกาชาด 2559 วันแรก เกษตรกรและประชาชนแห่ชมงานอย่างเนื่องแน่น

เปิดงานวันยางพาราบึงกาฬและงานกาชาด 2559 วันแรก เกษตรกรและประชาชนแห่ชมงานอย่างเนื่องแน่น โดยเฉพาะเวทีเสวนาทางวิชาการที่พูดคุยเกี่ยวกับ แนวทางแก้ไขปัญหายางพาราในหัวข้อ “ สถานการณ์ ราคายางในปัจจุบัน เกษตรกรจะอยู่รอดได้อย่างไร ” โดย นายไกรสร นนทเกษม หัวหน้าสำนักผู้อำนวยการ การยางแห่งประเทศไทย ( กยท. )
ภาพรวมสถานการณ์ยางพาราในปัจจุบัน
ไทยเป็นผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลก มีพื้นที่ปลูกยาง 22 ล้านไร่ จังหวัดตรัง นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา มีพื้นที่ปลูกยางพาราจังหวัดละ 1 ล้าน “บึงกาฬ” เกิดทีหลังแต่ดังกว่า ช่วงที่เป็นแค่อำเภอบึงกาฬ ยังมีพื้นที่ปลูกยาง เกือบ 1 ล้านไร่ ปลูกยางมาก ย่อมมีปัญหามากตามไปด้วยเกษตรกรชาวสวนยางจะต้องเร่งปรับตัวให้อยู่รอดกับปัญหา
นับย้อนกลับไปเมื่อปี 2555 -2556 เป็นโอกาสทองของเกษตรกรในการทำกำไรจากการขายยาง ในราคาก.ก.ละ 100-120 บาท ยามนี้ก็เป็นโอกาสทองของพ่อค้ายางด้วยเช่นกัน ภาวะราคายางพาราขึ้นลงตามเศรษฐกิจโลก ขณะนี้ผู้ซื้อยางรายใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกายังไม่ฟิ้นตัวหลังเจอวิฤกตแฮมเบอร์เกอร์ กลุ่มสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีนต่างประสบปัญหาชะลอตัวทางเศรษฐกิจเช่นกัน ทำให้กำลังซื้อยางในตลาดโลกลดลง
จีนมีความต้องการใช้ยางพาราปีละ 3 ล้านตัน หากซื้อจากไทยรายเดียวก็ได้ แต่จีนไม่ซื้อเพราะต้องการช่วยเหลือประเทศอื่นด้วย ตอนนี้เป็นโอกาสทองของจีนในการช้อนซื้อ ยางพาราราคาถูก เพื่อเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมยางรถยนต์
มาตรการช่วยเหลือชาวสวนยางของภาครัฐ
ที่ผ่านมา เกษตรกรเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยพยุงราคายางให้สูงขึ้นเพื่อให้เกษตรกรมีโอกาสได้รับเงินเท่ากัน แต่รัฐบาลไม่สามารถทำได้เนื่องจากผิดสัญญาข้อตกลงองค์การค้าโลก (ดับบลิวทีโอ ) หากฝ่าฝืนข้อตกลง ไทยจะถูกแซงซั่นทางการค้าในเวทีตลาดโลก เรียกว่า ได้ไม่คุ้มเสีย
รัฐบาลได้มอบหมายให้ การยางแห่งประเทศไทย ช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางมีรายได้เพิ่มขึ้นเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต ใน 2 รูปแบบ คือ 1. โครงการสร้างความเข้มแข็งให้พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง โดยจ่ายเงินชดเชยให้เกษตรกรรายละ 1,500 บาท
2.โครงการส่งเสริมการใช้ยางภายในประเทศ ผ่าน 8 หน่วยงาน โดย กยท. เป็นผู้รับซื้อยาง จำนวน 100,000 ตันจากเกษตรกร โดยจะเริ่มต้นคิ๊กออฟโครงการตั้งแต่ 25 ม.ค.นี้ โดยรับซื้อยางแผ่น ชั้น 3 ในราคา 45 บาทต่อก.ก. ส่วนยางประเภทอื่น ราคาจะลดหลั่นกันลงไป โดยมีกติกาว่า จะรับซื้อยางจากเกษตรกรรายละไม่เกิน 15 ไร่ เฉลี่ยไร่ละ 10 ก.ก. หากปลูกยาง 15 ไร่จะขายยางได้ 150 ก.ก. หากใครมีพื้นที่ปลูกยางน้อย ก็มีโอกาสขายยางได้หลายครั้งจนครบจำนวน 150 ก.ก. เชื่อว่า ทั้งสองโครงการจะช่วยบรรเทาปัญหาความเดือนร้อนของเกษตรกรได้ใน ช่วงฤดูปิดกรีดยาง
ต้องเร่งปรับตัวเพื่อความอยู่รอด
การแก้ไขปัญหาเพื่อความอยู่รอดก็คือ ต้องเร่งลดต้นทุนการผลิตยาง อย่าปลูกยางเป็นพืชเชิงเดี่ยว ต้องกระจายความเสี่ยงปลูกพืชหลายชนิด ในพื้นที่ เช่น ปลูกพืชเสริม พืชแซมในสวนยาง รวมทั้งเลี้ยงสัตว์เพื่อให้มีรายได้เข้ากระเป๋าหลายทาง โดยภาครัฐสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการลงทุน แก่เกษตรกรครัวเรือนละ 100,000 บาท ไม่เกิน 1 ล้านครัวเรือน ขณะนี้เกษตรกรแจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการยังไม่ครบจำนวนที่กำหนด ยังมีช่องว่างให้เกษตรกรที่สนใจอาชีพเสริมในครัวเรือน สามารถยื่นใบสมัครได้
ต้องยอมรับว่า มาตรการความช่วยเหลือของรัฐ ยังเกาไม่ถูกทีคันเพราะกลุ่มเกษตรกรอยากขายยางได้ราคาสูง แม้จะมีพื้นที่ปลูกยางในป่าสงวนหรือไม่มีเอกสารสิทธิ ทุกคนจะมีโอกาสได้เงินเท่ากัน ตอนนี้รัฐบาลประกาศรับซื้อยางในราคาก.ก.ละ 45 บาท คนที่มีสวนยางในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ จะไม่มีโอกาสได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ
แนวทางการแก้ไขปัญหายางพาราอย่างยั่งยืน คือ รัฐบาลต้องเร่งส่งเสริม การใช้ยางพาราภายในประเทศให้มากที่สุด ไทยมีผลผลิตยาง 4 ล้านกว่าตัน ส่งออกเป็นยางแผ่น ร้อยละ 86 คิดเป็นน้ำหนักยางประมาณ 2-3 ล้านตัน สร้างรายได้ 3 แสนล้านบาท อีกร้อยละ 12 ส่งออกในลักษณะผลิตภัณฑ์ยางแปรรูป แต่สร้างเม็ดเงินเข้าประเทศกว่า 2แสนล้านบาท หากรัฐบาลส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมแปรรูปยางพาราในลักษณะ ยางล้อรถยนต์ ถุงยาง ถุงมือยาง และอื่นๆ เพื่อเพิ่มโอกาสส่งออกยาง และสร้างเม็ดเงินเข้าประเทศมากขึ้นในอนาคต
ช่วงยางราคาก.ก.ละ 40 บาท นำไปแปรรูปเป็นถุงยางได้ 400 ชิ้น/ก.ก. ขายได้ก.ก. 2,000 บาทได้แล้ว เป็นการเพิ่มมูลค่ายางพาราได้อย่างมหาศาล ตอนนี้รัฐบาลก็มีนโยบายแปรรูปยางเป็นพื้นปูถนน ปูพื้นสระ เพื่อกระตุ้นการใช้ยางภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น
แม้ทุกวันนี้ ราคายางจะปรับตัวลดลง แต่ปลูกยาง อย่างไรก็ไม่อดตาย วิกฤตภัยแล้งที่เกิดขึ้นในปีนี้ พืชอื่นๆ ปลูก ก็ไม่โต ไม่มีเงินกิน แต่ต้นยางจะทำเงินได้ ลงทุนปลูกครั้งเดียว เก็บเกี่ยวได้นาน 20 ปี ลงทุนปลูกยาง จะคืนทุนภายใน 10 ปี ยางเป็นพืชวิเศษ ขี้ยางยังขายได้ ยางขายได้ทั้งต้น
อย่าหวังว่า ราคายางจะไต่ระดับที่ก.ก.ละ 100 บาทเหมือนในอดีต เพราะยางพาราเป็นสินค้าที่มีวงจรชีวิต มีเกิด มีดับเหมือนกับพืชอื่นๆ ทางเลือกทางรอดของเกษตรกรชาวสวนยางในยุคนี้ก็คือ ต้องเร่งต้นทุนการผลิต ปลูกพืชหมุนเวียนหลากหลายชนิด ขุดบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงสัตว์ในสวนยาง เพื่อให้มีรายได้เข้ากระเป๋าหลายทาง
แนะผลิตใบยางป้อนตลาดญี่ปุ่น
สำหรับโรงเรียนหลายแห่งที่ปลูกสวนยางพารา เพื่อเป็นแหล่งรายได้หมุนเวียนเข้าสู่สถานศึกษา และเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการปลูก สอนการกรีดยางและขยายพันธุ์ยางให้แก่นักเรียน ท่ามกลางภาวะราคายางตกต่ำ โรงเรียนก็มีรายได้น้อย ควรช่วยเหลือตัวเอง โดยสอนให้เด็กนักเรียนรู้จักการแปรรูปใบยาง เพราะเป็นสินค้าที่ต้องการสูงในตลาดญี่ปุ่น ซึ่งขบวนการแปรรุปใบยางไม่ยุ่งยาก ใช้เงินลงทุนน้อย สร้างบ่อหมักใบยาง และนำไปแปรรูปเป็นดอกไม้จันทน์จากใบยางก็ขายได้เช่นกัน
>>>>

 

12494001_1552865895032800_5282453832679839026_o 12509778_1552865841699472_6857854389782107822_n 12615398_1552865918366131_4607690712237948595_o 12622380_1552865868366136_6443918968761436783_o‘>

ข่าวสังคม-การเมือง ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด