LINE : ติดต่อผู้ดูแล

ยินต้อนรับเว็บไซต์ข่าวสารเพจข่าวท้องถิ่นบึงกาฬ

วันอังคารที่ 3 ธันวาคม 2024
ข่าวสังคม-การเมือง

พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จ.บึงกาฬ เปิดตลาดชุมชน พร้อมสานเสวนาการท่องเที่ยว หมู่บ้านพญานาคร่วมสมัย สู่ชุมชนยั่งยืน

ที่พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต บ้านขี้เหล็กใหญ่ ต.หนองพันทา อ.โซ่พิสัยจ.บึงกาฬ นายสุทธิพงษ์ สุริยะ ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต ร่วมกับทุกภาคส่วน จัดกิจกรรมสานเสวนา ในหัวข้อ “จากความเชื่อพญานาค ต่อยอดสู่งานศิลปะ สร้างชุมชนยั่งยืน” โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเป็นพื้นที่แห่งการสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาต่อยอดการท่องเที่ยวชุมชน โดยการนำเรื่องราวอัตลักษณ์ท้องถิ่นและความศรัทธาที่มีต่อพญานาคของผู้คนริมฝั่งแม่น้ำโขง มาผสมผสานเข้ากับความเป็นชุมชน ให้กลายเป็นสถานที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว สร้างรายได้เข้าสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน

โดยกิจกรรมประกอบไปด้วย พิธีบวงสรวงพญานาค 3 เศียร สีเขียวมรกต นามว่า พญาทะนะมูลนาคราช, การเปิดเวทีเสวนาการท่องเที่ยว หมู่บ้านพญานาคร่วมสมัย โดยมีผู้ร่วมเสวนามากมายจากทุกภาคส่วน หลากหลายแวดวง ได้แก่ หม่อมราชวงศ์วไลวัฒนา สวัสดิ์-ชูโต (เชื้อพระวงศ์ไทย), เจ้าดวงจิต พิชเยนทรโยธิน (เชื้อพระวงศ์ลาว), นายศักดิ์สิทธิ์ บัวคำ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, นายวัชรากรณ์ ขันธจีระวัฒน์ CEO&CO-Founder บริษัท ดี มี สุข (ไม่) จำกัด, คุณนันทินี พิธานสมบัติ แฟนคลับพิพิธภัณฑ์ฯ, คุณหทัยรัชต์ มุสิกบุญเลิศ แฟนคลับพิพิธภัณฑ์ฯ, นายธีรยุทธ ดวงมณี ผอ.สวท.บึงกาฬ, นายพิพัฒน์ อัฒพุธ นักสื่อสารมวลชน สวท.บึงกาฬ และนายสุทธิพงษ์ สุริยะ ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต นอกจากนั้น ยังมีการเปิดพื้นที่พิพิธภัณฑ์ให้เป็นตลาดชุมชนที่มีผลิตภัณฑ์ 2 รูปแบบ คือ สินค้าจากชุมชนในพื้นที่ และสินค้าชุมชนที่ผ่านการดีไซน์จากต่างพื้นที่ รวมถึงยังมีการเปิดนิทรรศการภาพวาดวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอีสาน โดยศิลปินท้องถิ่น จากสาขาทัศนศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

สำหรับพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิตเกิดขึ้นจากความตั้งใจของนายสุทธิพงษ์ สุริยะ ฟู้ดสไตลิสต์ชื่อดัง ที่นำเรือนไทยอีสานดั้งเดิมของครอบครัวมาสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ โดยเชื่อมโยงศิลปะเข้ากับความเชื่อเรื่องพญานาคของคนในพื้นที่ นำสู่การพัฒนาชุมชนตามแนวทางที่ยั่งยืน รวมทั้งยังเป็นการแปลงโฉมชุมชนที่มีคนอยู่จริงๆ ให้เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ ด้วยภาพกราฟฟิตี้พญานาคกว่า 200 ตน ที่บริเวณอาคารบ้านเรือนของประชาชนในพื้นที่ ดังนั้น พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิตแห่งนี้ จึงกลายเป็นอีกจุดหมายหนึ่งของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจังหวัดบึงกาฬต้องมาเยือนให้ได้

‘>

ข่าวสังคม-การเมือง ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด