ในปีพุทธศักราช ๒๔๖๙ ประมาณวันอังคารที่ ๒ เดือน พ.ค. ปีขาล ได้มีเด็กทารกเพศชายร่างกายแข็งแรง ผิวสีดําแดง มาเกิดในตระกูลชาวนา จ.นครพนม
ในครอบครัวของนายแว่น นางบับ เชื้อขาวพิมพ์ โดยไม่มีผู้ใดทราบถึงอนาคตของเด็กน้อยผู้นั้นว่าจะเป็นที่พึ่งของเหล่าพุทธบริษัท และเป็นการเกิดครั้งสุดท้ายของเด็กน้อยผู้นี้อีกแล้ว ด้วยความปีติยินดีในลูกคนที่สอง และเป็นบุตรชายคนแรกของครอบครัว บิดาและมารดาจึงตั้งชื่อ ให้ว่า “อุดม”
พออายุได้ ๔ ขวบ โยมบิดาได้พาท่านโยกย้ายครอบครัวด้วยเกวียนไป อ.พรเจริญ จ.หนองคาย (ปัจจุบันคือ จ.บึงกาฬ)
ครอบครัวของหลวงปู่อุดม เป็นตระกูลชาวนา ในวัยเด็กของท่านเลย ต้องช่วยพ่อแม่เลี้ยงควาย ทํานา หาปู ปลามากินกันในครอบครัว หลวงปู่ท่านเล่าว่า ในสมัยก่อนนั้น ไม่ต้องซื้อหา จับมาได้ก็เอา มาปันกันกิน ท่านสําเร็จการศึกษาในทางโลกชั้นสูงสุดคือ ประถมศึกษาปีที่ ๒ และด้วยเหตุที่บิดาของท่านนั้น เคยบวชเรียนมาก่อน อีกทั้งโยมมารดาของหลวงปู่ก็มีอุปนิสัยชอบทําบุญ สุนทาน เข้าวัดฟังธรรม ทําให้อุปนิสัยเหล่านี้มีอิทธิพลกับ หลวงปู่ในวัยเด็กด้วย
เมื่อท่านโตเข้าสู่วัยหนุ่มในวัยอายุ ๑๙ ปี อุปนิสัยที่มีเดิมอยู่นั้นทําให้ท่านไม่เหมือนกับคนหนุ่มทั่วไป คือ ท่านไม่ ดื่มเหล้า ไม่ชอบเที่ยว โดยเฉพาะเรื่องผู้หญิงแล้ว ท่านไม่ยุ่งเป็นเด็ดขาด เนื่องจากหลวงปู่ท่านให้เหตุผลว่า เดี๋ยวจะเกิดปัญหา เกิดเรื่องขึ้นมาในภายหลัง อีกทั้งท่านยังชอบอ่านหนังสือ ไตรสรณคมน์ ที่แต่งโดย หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม และ หลวงปู่มหาปิ่น ปัญญาพโล
นอกจากนั้นแล้ว โยมบิดา โยมมารดาของท่านยังได้พาท่านไปปฏิบัติธรรมภาวนา และทําบุญกับหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม และ หลวงปู่มหาปิ่น ปัญญาพโล แล้วท่านก็ได้ลองประพฤติตาม คําสอนของครูบาอาจารย์ โดยยึดหลักจากหนังสือของหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม ที่มอบให้ท่านมาลองฝึกนั่งสมาธิจนเกิดปีติใน ดวงใจ ทําให้ท่านมีใจใฝ่ไปในทางศีลทางธรรมมากขึ้นทวี
หลังจากหลวงปู่ได้ศึกษาตามหลักของหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม แล้วนั้น ทําให้หลวงปู่ท่านมีความมั่นอกมั่นใจในการประพฤติ ปฏิบัติ และมั่นในหัวใจตนเองว่าจะต้องได้บวชในบวรพระพุทธศาสนาเป็นที่แน่นอน
จนกระทั่งเมื่อหลวงปู่ท่านมีอายุย่างเข้า ๒๓ ปี ท่านจึงได้ตัดสินใจขออนุญาตบิดา มารดาเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ในอุปสมบท วัดกุดเรือคํา ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๒ โดยมีพระอุปัชฌาย์ คือ พระครูอดุลสังฆกิจ (หลวงปู่มหาเถื่อน อุชุกโร) วัดกุดเรือคํา ต.กุดเรือคํา อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร และ พระครูพิพิธธรรมสุนทร (หลวงปู่คําฟอง เขมจาโร) วัดสําราญนิวาส อ.วานร นิวาส จ.สกลนคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และได้ฉายาทางภิกษุ ว่า ญาณรโต แปลว่า ผู้ทรงไว้ซึ่งญาณ
เมื่อหลวงปู่ท่านบวชได้ครบ ๑ พรรษา หลวงปู่มหาเถื่อน และหลวงปู่คําฟอง ได้พาท่านไปร่วมงานถวายเพลิงสรีระสังขาร หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร การไปถวายเพลิงสรีระสังขารหลวงปู่มั่นในครั้งนั้น ทําให้หลวงปู่อุดมได้พบ ครูบาอาจารย์มากมายที่มาร่วมในงาน และในงานนั้นเองทําให้ หลวงปู่ได้รู้จักหลวงปู่ลี ฐิตธัมโม วัดเหวลึก อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ด้วย
ในพรรษาแรกนั้น หลวงปู่อุดมได้อยู่กับหลวงปู่มหาเถื่อน พระอุปัชฌาย์ โดยหลวงปู่มหาเถื่อนท่านได้อบรมสั่งสอนทั้งใน ด้านพระปริยัติจนได้นักธรรมโท และด้านปฏิบัติ สมาธิภาวนา
เมื่อหลวงปู่ได้รับคําแนะนําจากครูบาอาจารย์แล้ว ท่านก็ได้นํามาประพฤติปฏิบัติตามคําสั่งสอนของครูบาอาจารย์ เมื่อท่านได้ เข้าสู่สมาธิ จิตของท่านก็รวมเข้าเป็นหนึ่ง รวมลงไปที่ฐานจิต เป็นเหตุทําให้ท่านเร่งความเพียรมากยิ่งขึ้น เพราะอยากจะพันทุกข์ หลุดจากการเกิดในวัฏฏะที่ไม่พ้นนี้เสียที ไปในพรรษาต้นๆ นี้ ท่านได้ประพฤติตามครูบาอาจารย์แนะนํา โดยในบางครั้งท่านก็ได้เห็นในนิมิต จนกระทั่งหลวงปู่แน่ใจจึง ออกธุดงค์ตามวงศ์พระอริยะที่ถือเอาป่าเขาลําเนาไพรเป็นที่พึ่ง พิง เอาความเงียบสงัดในป่าช้าเป็นเพื่อน เป็นมิตร เอาอสุภะอัน ไม่เป็นที่ยินดีของชนทั้งหลายมาพิจารณาถึงคุณถึงโทษแห่ง ร่างกายนี้
การออกธุดงค์นี้เองทําให้หลวงปู่ท่านได้พบครูบาอาจารย์ที่ ท่านได้เข้ามาในนิมิต ทั้งครูบาอาจารย์ที่ท่านไม่คิดว่าจะได้เจอ หรือไม่เคยรู้จัก ก็ได้พบเป็นที่อัศจรรย์เป็นอย่างมาก ในที่นี้ที่ หลวงปู่ท่านเคยกล่าวไว้ก็คือ หลวงปู่เอี่ยม วัดภูข้าวหลวง อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ ที่หลวงปู่ท่านเคยได้พบในนิมิต แต่ท่านไม่รู้จักนี้เอง ในปีนั้นเองท่านได้ชักชวนหลวงปู่ลี ฐิตธัมโม วัดเหวลึก มาจําพรรษาอยู่กับหลวงปู่เอี่ยม ณ ที่นี้ด้วย
เมื่อล่วงเข้าปี ๒๕๐๐ ท่านได้เข้าพักในป่าช้าเก่าที่บ้านของท่าน แล้วภายหลังได้สร้างเป็นวัด ชื่อว่า วัดสุวรรณาราม เมื่อ ท่านได้อยู่ที่วัดสุวรรณารามนี้เพื่อโปรดโยมบิดา โยมมารดา จนกระทั่งโยมบิดาของท่านได้สิ้นแล้ว ท่านจึงได้เดินทางไปอยู่กับ หลวงปู่ลี ฐิตธัมโม ซึ่งตอนนั้นท่านได้จําพรรษาอยู่ที่วัดสีชมภู และได้พบกับหลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร ซึ่งหลวงปู่อ่อนศรีเพิ่งเดิน ทางกลับมาจากการจาริกธรรมใน จ.เชียงใหม่ ด้วยเหตุนี้ทําให้ ท่านออกเดินทางธุดงค์เข้าสู่ จ.เชียงใหม่ โดยเริ่มจาก อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ ไป เมื่อท่านได้เดินทางมาถึง จ.เชียงใหม่ แล้วได้เข้าพักที่วัด เจดีย์หลวง โดยครั้งนั้นท่านมีอาการริดสีดวงทวาร หลวงปู่จันทร์ กุสโล เลยให้ท่านไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลสวนดอก (ปัจจุบันคือ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่) โดยมีสามเณรเจริญ ตาคํา คอยช่วยอุปัฏฐากดูแลท่านในขณะนั้น เมื่อหลวงปู่ท่านแข็งแรงดีแล้ว ท่านก็เดินทางเข้าสู่บ้านป่าเมี่ยง อ.พร้าว ในบ้านป่าเมี่ยงนี้เอง อดีตเคยเป็นที่ภาวนาของครูบาอาจารย์หลายรูปรวมถึง บูรพาจารย์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ก็ได้พาชาวเขาชาวดอยหา พุทโธ ณ ที่บริเวณใกล้กับบ้านป่าเมี่ยงนี้ ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนหลวงปู่ท่านดุใครทําผิดอะไรไม่ได้ ท่านจะดุเอาทันทีไม่ มีใครกล้า กลัวในองค์ท่านกัน
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อท่านกลับมาเชียงใหม่ทุกครั้งก็จะมีชาว บ้านชาวเขามากราบท่านด้วยความเมตตาของท่าน บางคนเป็นข้าราชการ บางคนทํางานในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ล้วนเป็นลูกศิษย์หลวงปู่จากบ้านป่าเมี่ยงนั่นเอง เนื่องด้วยในวัยเด็กของพวกเขามีพระที่มาจากอีสาน ธุดงค์มาโมกขธรรมยังไม่พอยังได้ เมตตาสอนหนังสือหนังหาแก่พวกเขาในวัยเด็ก บางคนมากราบ ถึงเท้าหลวงปู่แล้วบอกว่า หลวงปู่จําผมได้ไหม ที่หลวงปู่เคยสอนหนังสือที่บ้านป่าเมี่ยง เมื่อไล่ลําดับพ่อแม่ ตายายแล้วท่านก็จําได้ทุกคน ท่านอยู่บ้านป่าเมียง เมืองพร้าวมาหลายปี จนมีความคุ้น เคยกับชาวบ้าน
ทุกครั้งที่ท่านมาเชียงใหม่ ท่านจะขึ้นไปเยี่ยมชาวบ้านบ้านป่าเมี่ยงเสมอ แม้จะวัยเข้าสู่ปีที่ ๙๔ พรรษาที่ ๗๑ (พ.ศ ๒๕๖๓) แล้วก็ตาม หรือแม้ทางไป บ้านป่าเมี่ยงแสนที่จะทุรกันดาร ต้องนั่งรถขับเคลื่อนสี่ล้อไปเท่านั้น ท่านก็เมตตาไปเสมอ หลวงปู่ท่านบอกว่า อาศัยข้าวเขากิน ตอนเป็นพระหนุ่ม ตอนนี้ไปคืนเขาบ้าง
ด้วยความเมตตาของหลวงปู่นี้เอง ทําให้ชาวบ้านล้วนเคารพรักท่านเหมือนญาติผู้ใหญ่ที่ไม่ได้เจอมานาน มาคอยอุปัฏฐากให้ การต้อนรับ ส่งอาหารมาในเมืองเพื่อถวายท่าน เมื่อท่านเดินทาง ย้อนกลับมาเชียงใหม่ และองค์ท่านได้จาริกธรรมทางภาคเหนือ จนเวลาสมควรแล้ว ท่านจึงได้เดินทางจาริกกลับไปโปรดญาติ โยมที่ จ.บึงกาฬ (เดิมคือ จ.หนองคาย) ที่วัดป่าสถิตย์ธรรมวนาราม อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ จวบจนปัจจุบัน
พระครูอุดมศีลวัฒน์ (หลวงปู่อุดม ญาณรโต) วัดป่าสถิตย์ธรรมวนาราม
หลวงปู่อุดม ญาณรโต วัดป่าสถิตย์ธรรมวนาราม
ปัจจุบัน พระเดชพระคุณพระครูอุดมศีลวัฒน์ (หลวงปู่อุดม ญาณรโต) แห่งวัดป่าสถิตย์ธรรมาราม ต.ศรีชมภู อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ
สิริอายุได้ ๙๔ ปี พรรษาที่ ๗๑ (พ.ศ.๒๕๖๓)’>