ช่วงโควิด ชาวบ้าน อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ กว่า60คน ร่วมแรงร่วมในสามัคคีสร้างกุฎิให้หลวงปู่ขุน ด้วยพลังศรัทธา และความสามัคคีของชาวบ้าน โดยใช้แรงงานศรัทธา ไม่ต้องจ้าง
เมื่อวันที่ (2 กุมภาพันธ์ 2564) ได้มีชาวบ้านในชุมชนบ้านโคกสำราญ ประกอบด้วย บ้านโคกสำราญ หมู่ที่ 6 บ้านโคกสำราญสามัคคี หมู่ที่ 8 และบ้านโคกสำราญรุ่งเรือง หมู่ที่ 13 จำนวนมากถึง 61 คน นำโดยนายสุระชัย ไสยะลา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8 และผู้นำชุมชน ร่วมใจกันก่อสร้างกุฏิถวายหลวงปู่ขุน สุขกาโม (พระครูเกษมปัญญาภรณ์) ประธานสงฆ์วัดเวฬุวัน ตำบลชุมภูพร อำเภอศรีวิไล จ.บึงกาฬ ซึ่งกุฏิหลังเดิมเป็นกุฏิ2ชั้นยากในการขึ้นลง ซึ่งหลวงปู่ชราภาพมาก ชาวบ้านจึงร่วมแรงร่วมใจสรา้งกุฏิชั้นเดียวและให้ไกล้กับศาลาเพื่อความสะดวกในการทำกิจวัตรของสงฆ์ ชาวบ้านกว่า4หมู่บ้าน ร่วมกันถวายปัจจัยเพื่อซื้ออุปกรณ์สรา้งกุฎิส่วนแรงงานชาวบ้านรวมตัวกันช่วยแรงกันเป็นภาพที่มีพลังทั้งมีความสามัคคีกันในชุมชน และพลังศรัทธาในพระพุทธศาสนาของเราต่อไป
ชมคลิปแนะนำจากยูทูป
หากเอ่ยถึง วัดเวฬุวัน หมู่ ๘ ต.ชุมภูพร อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬหลาย ๆ คนอาจไม่คุ้นเคย แต่หากทราบประวัติความเป็นมาของวัดแห่งนี้แล้วจะพบว่าน่าสนใจไม่น้อยไปกว่าวัดอื่น ๆ ในประเทศไทยเลย
วัดเวฬุวัน เป็นวัดสายพระป่าอีกแห่งหนึ่ง สืบสานการวิปัสสนากรรมฐานสายตรงจาก พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ปรมาจารย์ผู้สร้างตำนานของ “พระป่า” และ “กองทัพธรรม” อันลือลั่น ซึ่งมีพื้นที่กว้างขวางประมาณ ๘๐ ไร่เศษ ตั้งอยู่ไม่ไกลจากชุมชนมากนัก
วัดแห่งนี้มีประวัติการก่อสร้างมายาวนาน ตั้งแต่มีการตั้งชุมชน (ประมาณ พ.ศ. ๒๓๕๑) โดยผู้นำชุมชนผู้สืบเชื้อสายมาจาก พระยาหงสาวดี (ท้าวหม้อ) แห่งเมืองไชยสุทธิ์อุตตมบุรี และผู้สืบเชื้อสายจาก พระศรีวรราช (ท้าวปทุม) เจ้าเมืองท่าอุเทน และผู้สืบเชื้อสายจาก พระศรีวรราช (พระยาก่า) แห่งเมืองวัง ได้ร่วมกันสร้างวัด และเห็นว่าพื้นที่โดยรอบมีป่าไผ่จำนวนมาก จึงเรียกนามวัดนี้ว่า “วัดเวฬุวัน” จากนั้นมา
วัดเวฬุวัน เป็นวัดราษฎร์ สังกัดธรรมยุติก นิกาย มักมีพระภิกษุเดินทางจากที่ห่างไกลมาจำพรรษาและศึกษาเล่าเรียนพระธรรมและวิปัสสนากรรมฐานไม่ได้ขาด ดังปรากฏตามหลักฐานตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๒ เป็นต้นมา
ความสำคัญของวัดเวฬุวัน ประการแรก เป็นวัดที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้สร้างปูชนียวัตถุสำคัญ (พระบรมรูป ร.๕) ประดิษฐานไว้ ได้รับพระราชทานพระราชูปถัมภ์ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯไปทรงทอดผ้าพระกฐิน และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงรับไว้ในพระสังฆราชูปถัมภ์
ประการที่สอง เป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์การตั้งชุมชนในพื้นที่อำเภอศรีวิไลและพื้นที่ใกล้เคียง และเป็นศูนย์กลางของชุมชน ดังคำขวัญของอำเภอศรีวิไลที่ว่า “ภูทอกแดนมหัศจรรย์ วัดเวฬุวันเรืองชื่อ อดีตเล่าลือบ้านนาทราย” และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดหนองคาย
ประการที่สาม เป็นวัดที่เป็นศูนย์กลางด้านการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนก ธรรม-บาลี และสามัญศึกษา และเป็นศูนย์กลางในการเข้าไปปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชนทั่วไป
เมื่อคราวเจ้าประคุณ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ยังมีพระพลานามัยแข็งแรง (ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๕- ๒๕๒๓) เคยเสด็จไปศึกษาและค้นคว้าด้านวิปัสสนากรรมฐานหรือวิปัสสนาธุระบ่อยครั้งที่วัดเวฬุวัน เป็นเวลา ๑๕ วันบ้าง ๑ เดือนบ้าง บางครั้ง ก็เสด็จไปทรงศึกษาพระกรรมฐานจาก หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล หลวงปู่ดุลย์ อตุโล หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง พระอาจารย์ จวน กุลเชฏโฐ ที่วัดเจตยาคีรีวิหาร (ภูทอก) โดยรับสั่งว่า “ที่จริงแล้วฉันไม่ได้ตั้งใจจะเป็นพระในเมือง อยากเป็นพระกรรมฐานหรือพระป่ามากกว่า แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่ได้ไป”
สมเด็จพระญาณสังวรฯ ทรงรับวัดเวฬุวัน ไว้ในพระสังฆราชูปถัมภ์ และประทานปัจจัยทุนทรัพย์และทรงวางศิลาฤกษ์ในการก่อสร้างเสนาสนะ กุฏิ อาคารเรียน แหล่งน้ำใช้อุปโภคบริโภค ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นมา ซึ่งทางวัดได้รับการพัฒนาเป็นศูนย์กลางการศึกษาของพระพุทธศาสนา มีการเปิดสอนแผนกธรรม แผนกบาลี และแผนกสามัญศึกษา เพื่อให้พระภิกษุและสามเณรศึกษาเล่าเรียน มีความรู้ มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในพระธรรมวินัย อันเป็นการสืบสานพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองในภายภาคหน้า
พระภิกษุสามเณรส่วนใหญ่มักได้รับพระเมตตาจากสมเด็จพระญาณสังวรฯ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์บรรพชาอุปสมบทกุลบุตรที่วัดบวรนิเวศวิหารแล้วค่อยส่งไปจำพรรษาที่วัดเวฬุวัน เพื่อศึกษาพระธรรมและวิปัสสนาธุระ ทำให้ความเจริญด้านพระพุทธศาสนารุ่งเรืองก้าวหน้ารวดเร็ว ซึ่งในการสอบนักธรรมแต่ละปี พระภิกษุสามเณรวัดเวฬุวันมักสอบนักธรรมบาลีเพิ่มขึ้นทุกปี สูงสุดเคยสอบได้มากเป็นอันดับ ๖ ของประเทศไทย
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะองค์อุปนายิกาสภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำเนินไปทรงทอดผ้าพระกฐิน และในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ประดิษฐานในพลับพลาทรงไทยจัตุรมุข ภายในวัดเวฬุวัน
ปัจจุบันวัดเวฬุวัน กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาและปฏิบัติธรรมในภาคอีสาน จึงมีการก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ ให้เป็นที่เคารพสักการะแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป รวมทั้งอาคารฝึกอบรมปฏิบัติธรรมหลังใหม่ ทางวัดจึงแจ้งไปยังสำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราชฯ เพื่อนำความกราบทูล
ครั้นความทราบถึงสมเด็จพระสังฆราชฯ ได้ประทานความเห็นชอบให้สร้างเป็น “พุทธวิหาร” ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๕ เมตร และประทานนามว่า “พระพุทธอุดมมงคลเวฬุวัน” และให้เรียกวิหารนี้ว่า “วิหารพระพุทธอุดมมงคลเวฬุวัน”
เนื่องจากการก่อสร้างต้องใช้ทุนทรัพย์เป็นจำนวนมาก วัดเวฬุวันในพระสังฆราชูปถัมภ์ จึงขอประทานรูปแบบของ “พระสมเด็จสะทานเพชร” ที่สมเด็จพระสังฆราชฯประทานพระอนุญาต ให้จัดสร้างให้ประชาชนเช่าบูชาในช่วงส่งท้ายปีเก่า พ.ศ. ๒๕๕๒ ต้อนรับปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๓ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ครอบครัวและชีวิต มาจัดสร้าง “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์สะทานเพชร” และขอประทานพระนามย่อ “ญสส.” จารึกที่องค์พระ ซึ่งได้รับประทานพระอนุญาตตามประสงค์ พร้อมประทานแผ่นโลหะมงคล ผงศักดิ์สิทธิ์ เช่น ผงดอกมณฑาทิพย์ ผงเก่าพระสมเด็จบางขุนพรหม ผงศักดิ์สิทธิ์จากวัดถ้ำตะโกพุทธโสภา และชนวนศักดิ์สิทธิ์จากเกจิอาจารย์ชื่อดังมากมายมาผสมและบรรจุในพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์รุ่นนี้
วันนี้การจัดสร้าง พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์สะทานเพชร ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ได้ประกอบ พิธีเททองตั้งแต่วันที่ ๑๘ ม.ค. ๒๕๕๓ เวลา ๑๔.๕๙ น. ณ สนามวัดบวรนิเวศวิหาร โดยสมเด็จ พระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราชฯ เป็นประธานในพิธี และกำหนดพิธีพุทธาภิเษกรวม ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ ทำพิธีพุทธาภิเษกในวันที่ ๑๕ เม.ย. ๒๕๕๓ ณ วัดถ้ำตะโกพุทธโสภา ต.เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังร่วมอธิษฐานจิตมากมาย ได้แก่
1. พระครูวิมลสมณวัตร (หลวงพ่อเพี้ยน อัคคธัมโม) ประธานพิธี จุดเทียนชัย
2. พระครูประโชติธรรมวิจิตร (หลวงพ่อเพิ่ม) ประธานพิธีดับเทียนชัย วัดป้อมแก้ว อยุธยา
3. พระครูสิริภัทรกิจ (หลวงพ่อสมศรี) ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอเฉลิมมาศ วัดหน้าพระลาน สระบุรี
4. พระครูจันทสิริธร (หลวงพ่อสารันต์) วัดดงน้อย ลพบุรี
5. พระครูวิมล ญาณอุดม (หลวงพ่อติ๋ว) วัดมณีชลขัณฑ์ ลพบุรี
ทั้งนี้ ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และ เว็บไซท์พุทธะดอทคอม โดยคุณประชุม มาลีนนท์ ยังได้ฝากปัจจัยในการทำบุญเพื่อสานต่อพระพุทธศาสนาในครั้งนี้ ซึ่งได้เดินทางไปนมัสการพระเกจิอาจารย์ สายพระป่า
วิปัสนากรรมฐาน ซึ่งมีรายนามพระเกจิอาจารย์ ดังนี้
ในวัดเวฬุวันนี้ยังมีสถานที่ เก็บรูปปั้นจักรพรรดิ์จีน
สถานที่เก็บหุ่นทั้งหมด อยู่ที่วัด เวฬุวัน ต.ชมภูพร อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ
… สำหรับการเข้ามาอยู่ที่วัดเวฬุวันนี้ ได้รับการบอกเล่าจากพระภิกษุรูปหนึ่งที่ทราบประวัติความเป็นมาดี .. เล่าให้คณะทีมปั่นของเราว่า ….. เมื่อปีพ.ศ. 2536 ได้มีกลุ่มพ่อค้าชาวจีนจะนำมาจัดนิทรรศการที่ประเทศไทย โดยนำมาทางทะเล .. แต่การนำเข้ามาไม่ถูกต้องตามกระบวนการทางกฏหมายศุลกากรไทย จึงได้ทำการยึดไว้ก่อน และแจ้งให้ผู้นำเข้ามา มาเสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับ แต่ก็ไม่มีใครมาติดต่อจัดการให้ถูกต้อง .. เมื่อพ้นกำหนดจึงยึดไว้เป็นของกลาง และได้นำถวายสมเด็จพระสังฆราช เลขาพระสังฆราชได้ให้นำมาเก็บไว้ที่วัดเวฬุวัน .. กว่าจะทำที่เก็บเรียบร้อย ก็ต้องตากแดดตากฝนอยู่เป็นปี ฉะนั้นหุ่นบางตัวก็มีสีหลุดล่อนไปบ้าง ……..
อัลบั้มรูปวัดเวฬุวันในปัจจุบัน ถ่ายเมื่อวันที่ 9/11/58 โดยคุณ มะลิ ลำทอง ส่งภาพมาให้ทางแอดมิน bungkan.net
(วิธีการรับชมภาพคลิกที่ภาพได้เลยครับสำหรับมือถือคลิกที่ภาพแล้วเเตะภาพได้เลย)
เรียบเรียงโดย แอดมิน bungkan.net นายไพรัตน์ ชินโคตร’>