“พวนบ้านพันลำ”กับตำนานเชื้อสายราชวงศ์”พวน”
สายใยสุดท้าย…ไทพวนสยาม -เมืองเชียงขวาง
“ราชวงศ์พวน”ในเมืองไทยมีความเป็นมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าตากสิน
บ้านเมืองใดเมื่อพ่ายศึกจะถูกกวาดต้อนวงศ์กษัตริย์มาเป็นตัวประกัน
พระราชวงศ์จะถูกจัดให้อยู่ในเมืองหลวง เป็นหลัก
ส่วนที่เป็นเชื้อสายบางส่วน ที่อพยพมาที่หลังก็แยกย้ายกันไป
1.ราชวงศ์พวน ชุดแรกอาศัยอยู่ใน กรุงเทพมหานคร
2.เชื้อราชวงศ์พวนยุค”เจ้าน้อย เมืองพวน” อพยพมาอยู่สิงห์บุรี
3.เชื้อราชวงศ์พวนยุค”เจ้าสานเจ้าสะ เจ้าสาลี”อพยพมาอยู่บึงกาฬ”
4.ยุคสุดท้าย “ราชวงศ์พวนยุคเจ้าขันตี” ที่หายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ของไทย ถูกจองจำที่กรุงเทพ ..
บางส่วนได้อพยพ ไปอยู่ที่ อ. บางปลาม้าสุพรรณบุรี
ไทพวนอพยพเข้าสู่สยาม มาหาแหล่งทำกินตั้งแต่สมัยอยุธยา
หลักฐานปรากฏล่าสุดคือ ปี 2306 ที่บ้านหินปัก ลพบุรี
ต่อจากนั้น ตั้งแต่สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ปี 2322 รัตนโกสินทร์
สิ้นสุดการอพยพกวาดต้อน อย่างเป็นทางการสมัยรัชกาลที่ 5
สงครามปราบฮ่อ
“กาพย์เมืองพวน”วรรณคดี เปรียบเทียบเหมือนอัญมณีล้ำค่า
ของประเทศลาว เป็นบทเรียนสอนใจ ให้เยาวชนลาวได้เรียนรู้
ถึงการแตกความสามัคคี ส่งผลร้ายถึง บ้านเมืองต้องอับจน
แตกสลายจากสงคราม
แต่สำหรับคนพวน “กาพย์เมืองพวน”คือตำนานอันเจ็บปวดลึกล้ำ
ที่บรรพชนคนพวนได้อ่านแล้ว เห็นว่า ยังไม่ถึงเวลาอันเหมาะสม
ที่จะพิมพ์ ผู้ใดสนใจเรื่องราวก็ติดตามอ่านไว้เป็นบทเรียนสอนใจ
“กาพย์เมืองพวน” และตำนานประวัติศาสตร์พวน ระบุชัดเจน ว่า
ใน ปี2377 “สมัยเจ้าสาน” สยามได้กวาดต้อนคนพวนชุดสุดท้าย
จากเมืองเชียงขวางจำนวน 6,000คนมุ่งสู่สยามที่เมืองหนองคาย
“ดินองอย่าอยู่ เข้าสู่สมภาร”นโยบาย ที่โดนใจไทพวน
ของสยามกับ เจ้าหน้าที่ทหารของลาวและพวน
ดินอง….คือ .เวียตนาม
สู่สมภาร….คือ ไทย ใต้พระบรมโพธิสมภาร
แต่มามาถึงสยาม ข้ามมาหนองคาย กาลกลับไม่เป็นดังที่คิด
เปรียบเสมือน “หนีเสือปะจรเข้”คน 6,000คนอยู่ได้ไม่นาน
เสบียงอาหารจะหมด อดอยาก และจะถูกส่งไปกรุงเทพต่อ
จึงได้หาทางหนี”เจ้าสะ เจ้าสาลี”ได้ลักลอบหนีพาคน 3,000 คน
หนีกลับเมืองพวน ด้วยความลำบาก หนทางหนองคาย
ไปเชียงขวาง 400กว่ากิโลเมตร ได้คร่าชีวิตคนพวนไปกว่าครึ่ง
เหลือเพียงหนึ่งในสามส่วน นี่คือตำนานพวนชุดสุดท้ายหนีจากสยาม1,000คน ที่ยังดำรงคงไว้ซึ่ง ความเป็นพวนเมืองเชียงขวาง
“พวนบึงกาฬ”ในปัจจุบันนี้ นั้น ก็คือพวน 3,000คน ที่อพยพมา
ครั้งนั้น แต่มีห่วงผู้เฒ่าเด็กเล็กกลับไม่ไหว พวนบึงกาฬ
เป็นเชื้อสายของราชวงศ์พวน ที่ไม่ได้อพยพกลับไปในครั้งนั้น
เมื่อ 282 ปีก่อน นั้นเอง
เมื่อตอนอายุ 8-9 ขวบ (พ.ศ.2489-2490) แม่เคยได้ไปเยี่ยมหา
คนพวนที่บึงกาฬ แต่จำบ้านไม่ได้แล้ว (ท่านเขียนว่าอ.บึงกาฬ )
แม่เจ้าคำหลวง หน่อคำ”เสียชีวิตปี พ.ศ.2509
นี่คือตำนานที่มา ของไทยพวน”บึงกาฬ”ผ่าน”ชื่อบ้านนามเมือง
” เรื่องราวพวนราชสำนักที่มาปักหลักในสยามบ้านพันลำ บึงกาฬ
ที่ชาวไทยพวนบึงกาฬ จะได้จื่อจำนำไปสู่วิถีไทยพวนอันสุขสงบ
ปัจจุบันไทยพวนบึงกาฬ ได้ร่วมมือประสานใจกับไทยพวนทั่วไทย
จัดตั้งชมไทยพวน โดยมี “อาจารย์ ถาวร เชียงคำ”
เป็น”ประธานชมรมไทยพวนจังหวัดบึงกาฬ”หวังว่าไทยพวนบึงกาฬ
ตำนานพวน ..จิได๊ส่งเรื่องราวข่าวคราว ชาวพวนมาลงเฟชแด่เน้อ
ฟ้อนไทพวน
ชาวพวน เดิมมีถิ่นฐานอยู่ที่เมืองพวน แขวงเมืองเชียงขวาง ประเทศลาว
ทางภาคอีสานเรียกว่า ไทพวน แต่ภาคกลางเรียกชนเผ่านี้ว่า ลาวพวน ชาวพวนได้กระจายตัวอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำงึมของลาว สมัยกรุงธนบุรี เมื่อลาวได้รวมเป็นอาณาจักรพลเมืองฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงได้ถูกกวาดต้อน มาอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ชาวพวนได้ถูกกวาดต้อนมาด้วย และมาอยู่ในจังหวัดอุดรธานี หนองคาย เลย พิจิตร แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย สิงห์บุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี และสระบุรี
ชาวไทพวน ที่อพยพมาตั้งหลักแหล่งที่บ้านบุฮม และบ้านกลาง อำเภอเชียงคาน จ.เลย ถิ่นฐานเดิมอยู่ที่เมืองเตาไห หลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อครั้งที่พวกจีนฮ่อ กุลา เงี้ยว รุกรานเมืองเตาไห ๔ พ่อเฒ่า คือ พ่อเฒ่าก่อม พ่อเฒ่าห่าน พ่อเฒ่าเพียไซ พ่อเฒ่าปู่ตาหลวง เป็นผู้นำชาวพวนกลุ่มหนึ่ง อพยพออกจากหลวงพระบาง ล่องตามแม่น้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านบุฮม ต่อมาผู้คนส่วนหนึ่งได้มาอยู่ที่บ้านกลาง อีกแห่งหนึ่งแล้วเรียกตัวเองว่า “ไทพวน”ชาวไทพวนนั้นมีความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายแบบสังคม ชนบททั่วไป มีอาชีพเกษตรกรรม การทอผ้า การตีเหล็ก ทำเครื่องเงิน เครื่องทอง
ภาษา ชาวพวนใช้ ภาษาตระกูลไทลาว คล้ายกับไทอีสานทั่วไป แต่มีสำเนียงใกล้เคียงไทยภาคกลางกว่าเผ่าอื่นๆ
การแต่งกายของชาวไทพวน ในอดีตผู้หญิง ใช้ผ้าคาดอกแทนการสวมเสื้อ นุ่งซิ่นตีนจก หรือ สีพื้นแทรกลายขวาง บางท้องถิ่นนิยมนุ่งซิ่นมัดหมี่ ผู้ชายนุ่งกางเกงขาก๊วยสีดำใส่เสื้อสีดำ และผ้านุ่งจูงกระเบน ผ้าขาวม้าพาดบ่า หรือคาดเอว ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่น ผ้าขาวม้ารัดนม เรียกว่า แห้งตู้ ทั้งชายหญิงไม่สวมเสื้อ แต่เวลาไปไร่นาต้องสวมเสื้อสีดำ หรือสีคราม หญิงสวมเสื้อรัดตัวแขนยาวถึงข้อมือกระดุมเสื้อใช้เงินกลมติดเรียงลงมาตั้งแต่คอถึงเอว เด็กผู้ชายก็จะใส่กำไลเท้า เด็กผู้หญิงใส่ทั้งกำไลมือกำไลเท้า
ปัจจุบันผู้หญิงนิยมสวมเสื้อตามสมัยนิยม ส่วนคนสูงอายุมักสวมเสื้อคอกระเช้า ผู้ชายยังแต่งเหมือนเดิม ยังมีบางท้องถิ่นแต่งแบบไทย-ลาว เช่น จังหวัดลพบุรี ชัยนาท หนองคาย อุดรธานี
ฟ้อนไทพวน ประดิษฐ์และออกแบบโดยชมรมนาฏศิลป์หนองคาย จากนั้น วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬศิลป์ ได้นำไปเผยแพร่ต่อ
การแต่งกาย เป็นแบบประยุกต์ด้วยชุดที่ได้รับอิทธิพลแบบไทลื้อ โดยมีเสื้อที่ดัดแปลงมาจากชุดไทลื้อ นุ่งซิ่นมุกต่อตีนจกแบบไทพวนแท้ๆ ใช้ผ้าขิดลายขาว-ดำ พันศีรษะ
เพลงไทพวน
โอ้น้อ..มื้อนี้แม้ เลิศล้ำ มื้อประเสริฐ ดีงาม เฮาจึงมีเวลาพบกัน คราวนี้ โอกาสดีนางได้ เดินทางมาต้านกล่าว ถามข่าวคราวพี่น้องทางพี้ผู้สู่คน พี่น้องเอย
โอ้น้อ..ยามเมื่อมาพบพ้อ แสนชื่นสมใจ พี่น้องเอย พอสร้างไขวาจาสิ่งใดมาเว้า เฮียมขอเอามือน้อมประนมกรละต้านต่อ ขอขอบใจพี่น้องทางพี้ผู้สู่คน พี่น้องเอย
โอ้นอ..เฮานี่แม่นชาติเชื้อซาวเผ่าไทพวน พี่น้องเอย เนาอยู่เมืองเชียงขวางประเทศลาว ทางพุ้น กับทางพงศ์พันธุ์เซื้อ วงศ์วานคณาญาติ พากันเนาสืบสร้างทางพู้นคู่สู่คน พี่น้องเอย
โอ้น้อ..เฮานี่แม่นชาติเชื้อสายเลือดเดียวกัน พี่น้องเอย มีหลายอันคือกันบ่ต่างกันพอน้อย คอยหล่ำแล สีหน้าอาภรณ์ ทุกสิ่งอย่าง ทุกท่าทาง ปากเว้าเสมอด้ามดั้งเดียว กันนั่นแหล่ว
โอ้น้อ..ที่มีกาลฮับต้อน อย่างสมเกียรติจบงาม การอยู่กินไปมาสะดวกดี ทันด้าน สมว่าเป็นเมืองบ้าน เฮือนเคียงของน้องพี่ เฮียมได้เนาที่นี่เสมอบ้านแคมตน พี่น้องเอย
โอ้น้อ..มาถึงตอนท้ายนี้ เฮียมขอกล่าวอวยพร ขอวิงวอนคุณพุทธ พระธรรมองค์เจ้า ขอให้มานำเข้า บันดาลและหยู้ส่ง ขอให้พงศ์พี่น้อง อายุมั่นหมื่นปี เว้ามาฮอดบ่อนนี้เฮียมขอกล่าวลาลง ขอขอบใจพงศ์สาย โง้ ลุง อาว ป้า ที่ได้อดสาเยี้ยนฟังเฮา น้อต้านกล่าว หวังว่าคราวหน้าพุ้นคงสิได้พบกัน พี่น้องเอย ลา..ลงท้อนี้..แหล่ว ๆ
ถิ่นฐานเดิมของชาวไทยพวน ตามประวัติศาสตร์ย่อมเป็นที่ทราบกันดีว่า ชนชาติไทยเรานั้นมีถิ่นฐานเดิมอยู่ในตอนใต้ของประเทศจีน แล้วได้ถอยร่นลงมาเป็นลำดับตามเหตุการณ์ต่าง ๆ จนกระทั่งได้มาตั้งอยู่ ณ ที่ปัจจุบันนี้ ชาวไทยพวนก็เป็นคนไทยสาขาหนึ่ง ดังข้อความในหนังสืออักขรานุกรมภูมิศาสตร์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 1 หน้า 295 ซึ่งคุณถวิล เกษรราช นำมาลงไว้ในหนังสือประวัติผู้ไทยตอนหนึ่งมีข้อความว่า “ชนชาติต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบันนี้ นอกจากชาวไทยแล้ว ยังมีคนไทยสาขาอื่น ๆ อีกหลายสาขาเช่น ผู้ไทย พวน และโซ่ง ซึ่งเป็นคนไทย สาขาหนึ่ง เดิม ผู้ไทย พวน และโซ่ง มีถิ่นฐานอยู่ทางฝั่งแม่น้ำโขงในประเทศลาว ทางแขวงซำเหนือ และแขวงเซียงขวาง พวกผู้ไทยมีอยู่ทางอีสาน มีจังหวัดสกลนคร และนครพนม เป็นต้น ส่วนพวกพวนและพวกโซ่งมีอยู่กระจัดกระจายเป็นแห่ง ๆ ทางภาคกลางมีจังหวัดสุโขทัย จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดกาญจนบุรีเป็นต้น ไทยทั้ง 3 พวกนี้มีลักษณะทางภาษาใกล้เคียงกันมาก แทบจะกล่าวได้อย่างกว้าง ๆ ว่าเป็นภาษาไทยสาขาเดียวกัน แม้ ชาวไทยพวนเอง เรียกพวกบ้านเดียวกันหรือต่างบ้าน ก็จะมีคำว่า “ไทย” กำกับด้วยเสมอ คล้ายกับประเทศพวกตนเองว่าเป็นคนไทยเช่น ไทยบ้านเหนือ ไทยบ้านกลาง ไทยบ้านใต้ ไทยบ้านหาดสูง ไทยบ้านใหม่ ไทยบ้านแม่ราก และเรียกคนต่างถิ่นว่าเป็นคนไทยด้วย เช่น ถ้าพบคนต่างถิ่น เมื่อต้องการทราบว่าเป็นคนบ้านไหนก็จะถามว่าท่านเป็นคนบ้านไหน (ภาษาไทยพวนว่า เจ้าเป็นไทยบ้านเลอ) ดังนั้น จึงเข้าใจว่าชาวไทยพวนคงจะมีถิ่นฐานรวมอยู่ ณ ที่แห่งเดียวกันด้วย “พวน” ซึ่งเป็นคำเรียกชื่อชาวไทยสาขาหนึ่ง มีถิ่นฐานอยู่ที่เมืองพวน แขวงเมืองเชียงขวาง ในประเทศลาว มีความหมายว่ากระไร เหตุไรจึงเรียกชื่อว่า “พวน” การค้นคว้าได้ตั้งคำถามที่จะค้นคว้าไว้คือ “พวน , คนพวน , ชาวพวน, ไทยพวน, ลาวพวน ” หนังสือที่จะค้นคือ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน อัขรานุกรมภูมิศาสตร์ ปทานุกรม กระทรวงธรรมการซึ่งเลิกใช้แล้วแต่ก็ต้องผิดหวังเพราะไม่มีคำว่าพวน ซึ่งให้ความหมายเป็นชื่อเรียกคนเลย มีแต่ เชือกเกลียว, แนว, รวงข้าวที่นวดแล้ว หรืออ้อยซึ่งหีบครั้งที่สอง ” เมื่อความหมายไม่ตรงกับที่ผู้เรียบเรียงต้องการ สมัยกรุงธนบุรี เมื่อประเทศลาวได้รวมเป็นอาณาจักรเดียวกันกับประเทศไทยจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แผ่นดินรัชกาลที่ 3 พลเมืองทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงได้ถูกกวาดต้อนมาอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงหลายท้องถิ่นด้วยกัน ทั้งภาคอีสาน และ ภาคกลาง คนไทยพวนได้ถูกกวาดต้อนมาด้วย และได้กระจัดกระจายไปอยู่ในที่ต่าง ๆ ทั้ง 2 ภาค ภาคอีสาน เช่น ที่อำเภอผือ จังหวัดอุดรธานี ภาคกลางเช่น จังหวัดพิชิต จังหวัดสุโขทัย ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา และอื่น ๆ ภาษาของไทยพวน ใช้ภาษาไทยแท้เสียงวรรณยุกต์ใกล้เคียงกับภาษาภาคกลางมากกว่า เสียงของชาวภาคอีสานส่วนมากเช่น แม่ก็ออกเสียงว่า แม่ ตรงกับภาษาภาคกลางไม่ใช่แหม่ น้ำก็ออกเสียงว่า น้ำ ไม่ใช่ น่าม เมื่อเทียบเคียงกับภาษาไทยสาขาอื่น เห็นว่าใกล้เคียงกับภาษาผู้ไทย หรือ ไทยภู และภาษาย้อ คือ ออกเสียงสระไอไม้ม้วนเป็นเสียงสระเออ เช่น ใต้ ออกเสียงเป็น เต้อ ให้ ออกเสียงเป็น เห้อ เป็นต้น ขนบธรรมเนียมประเพณีก็คล้ายคลึงกัน นับถือพระพุทธศาสนามั่นคงเช่นเดียวกัน สรุปว่า “พวน” เป็นชื่อเรียกคนไทยสาขาหนึ่ง ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่เมืองพวนแขวงเมืองเชียงขวาง ในประเทศลาว ที่เรียกชื่อว่า เมืองพวนเพราะตั้งอยู่ใกล้ภูเขาชื่อว่าภูพวน จึงได้ตั้งชื่อเมืองว่า เมืองพวน แล้วเอาชื่อเมืองมาเรียก เป็นชื่อคนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองนั้นว่าคนพวนหรือชาวพวน เพื่อแก้ความข้องใจของคนบางคนซึ่งอาจมีขึ้นได้ว่าก็เมื่อภูเขาชื่อว่า ภูพวน เหตุไรจึงไม่ตั้งชื่อเมืองภูพวน เรียกชื่อคนว่าคนภูพวน หรือชาวภูพวนเล่าจึงขอชี้แจงเพิ่มเติมไว้สักเล็กน้อยคือ เพิ่มเติมทีเดียวอาจเป็นไปไม่ได้ ต่อมาคำว่าภูก็ลบเลือนหายไปเรียกกันแต่เพียงว่าเมืองพวน อีกอย่างหนึ่ง คำว่าภูเขาชาวพวนกับชาวอีสาน ดูเหมือนจะใช้ตรงกันคือ คำสองคำนี้มีความหมายอย่างเดียวกัน คือ ภูก็คือเขา เขาก็คือภู เวลาจะใช้ภูเขาก็ใช้แต่เพียงคำเดียวคือ คำว่าภูหรือเขา คำใดคำหนึ่ง ไม่ใช้สองคำรวมกัน เช่น ภูกระดึง ภูเขีย เขาพนมเพลิง เขาพลิ้ง เขาใหญ่ ถ้าเรียกตามภาษาภาคกลางก็เรียกว่า ภูเขากระดึง ภูเขาเขียว ภูเขาพนมเพลิง ภูเขาพลิ้ง ภูเขาใหญ่ ดังนั้น จึงสันนิษฐานว่าการตั้งชื่อเมืองพวน ท่านอาจไม่เอาคำว่าภูหรือเขาตั้งด้วย เอาแต่เพียงชื่อภูเขามาตั้งก็เป็นได้ มีตัวอย่างที่ชาวไทยพวนได้ตั้งกันมาแล้วเช่น บ้านหมี่ อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เมื่อชาวไทยพวนอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในตอนแรก ก็ได้ตั้งชื่อว่า บ้านสนามแจง เพราะตั้งอยู่ใกล้ภูเขาชื่อว่าสนามแจง ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของสถานีรถไฟบ้านหมี่ ทั้งนี้ได้ทราบจากผู้เฒ่าผู้แก่ชาวบ้านหาดเสี้ยวซึ่งมาเยี่ยมญาติบ้านสนามแจงเล่าให้ฟังว่า การตั้งชื่อบ้านก็เอาชื่อภูเขามาตั้งไม่ได้เอาภูหรือเขามาตั้งด้วย จึงเรียกแต่เพียงว่า “บ้านสนามแจง” ต่อมาจึงเรียกว่า บ้านหมี่
|
|