LINE : ติดต่อผู้ดูแล

ยินต้อนรับเว็บไซต์ข่าวสารเพจข่าวท้องถิ่นบึงกาฬ

วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2024
ข่าวสังคม-การเมือง

ขอเชิญร่วมบุญเป็นเจ้าภาพสร้างเจดีย์ “ศรีอุดมศีลวัฒน์อนุสรณ์ธรรมสถาน” และร่วมงานมุฑิตาอายุวัฒนมงคล ๙๐ ปื พระครูอุดมศีลวัฒน์(หลวงปู่อุดม ญาณรโต) วัดป่าสถิตย์ธรรมวนาราม ต.ศรีชมพู อ.พระเจริญ จ.บึงกาฬ วันที่ ๑-๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๙

ขอเชิญร่วมบุญเป็นเจ้าภาพสร้างเจดีย์ “ศรีอุดมศีลวัฒน์อนุสรณ์ธรรมสถาน” และร่วมงานมุฑิตาอายุวัฒนมงคล ๙๐ ปื พระครูอุดมศีลวัฒน์(หลวงปู่อุดม ญาณรโต) วัดป่าสถิตย์ธรรมวนาราม ต.ศรีชมพู อ.พระเจริญ จ.บึงกาฬ วันที่ ๑-๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๙

12512747_477427685781392_6971638091425777752_n

ud1[16695] ud2[16696]

12973314_477427745781386_4086678562493014237_o

DSC4166[16697]

 

ชีวประวัติหลวงปู่อุดม ญาณรโต วัดป่าสถิตย์ธรรมวนาราม อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ

ชาติภูมิ หลวงปู่อุดม ญาณรโต

หลวงปู่อุดม ญาณรโต ท่านเกิดในตระกูลชาวนา บิดาและมารดาท่านเป็นชาวนา ที่บ้านดงเฒ่าเก่า ต.นาแก อ.นาแก จ.นครพนม อยู่ในสกุล เชื้อขาวพิมพ์ รูปร่างสันทัด สีผิวดำแดง โดยมีโยมบิดาชื่อ นายแว่น เชื้อขาวพิมพ์ และมารดาชื่อนางบับ เชื้อขาวพิมพ์ และมีพี่น้องร่วมสายเลือดทั้งหมด 4 คน รวมหลวงปู่

ชีวิตในสมัยเด็ก ท่านก็เหมือนเด็กชาวนาทั่วไปบิดามารดาทำนา ท่านก็ไปช่วยทำนา ท่านชอบในเพศบรรพชิตมาก ท่านเห็นพระภิกษุสงฆ์เดินผ่านมาท่านเกิดความเลื่อมใสขึ้นมาเองตั้งแต่วัยเด็ก นี่ก็เนื่องมาจาก โยมบิดามารดาของท่านได้พาปฏิบัติศาสนกิจต่อพ่อแม่ครูอาจารย์ในพุทธศาสนา เช่น ครูบาอาจารย์ในสมัยท่านพระอาจารย์มั่น บิดามารดาท่านมักพาไปปฏิบัติศาสนกิจมาโดยตลอด เช่น หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม วัดป่า สาลวัน หลวงปู่มหาปิ่น ซึ่งเป็นน้องชายของหลวงปู่สิงห์ เป็นต้น ท่านเล่าต่อว่าโยมบิดาท่านเคยได้บวชเณรอยู่ และสึกออกมามีครอบครัว ส่วนมารดาของท่านก็เข้าวัดทำบุญอยู่เป็นปกตินิสัย จึงทำให้ท่านมีความสนิทสนมและใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนามาโดยตลอดนั่นเอง

บรรพชา หลวงปู่อุดม ญาณรโต

เนื่อง จากในวัยเด็ก ท่านเห็นพระภิกษุสงฆ์แล้ว เกิดความปีติเลื่อมใสในสมณะสงฆ์ (มีความสุขเมื่อได้เห็นพระสงฆ์) ท่านคงมีความคิดที่อยากออกบวชอยู่ภายในใจมาโดยตลอด จากนั้นเมื่อท่านเริ่มโตเป็นหนุ่มท่านเคยได้อ่านหนังสือสวดมนต์และปฏิบัติ สมาธิภาวนา ของหลวงปู่สิงห์ ขัตยาคโม และพระอาจารย์มหาปิ่น ซึ่งทำให้ท่านจับจิตจับใจ มีจิตใจเข็มแข็งเด็ดเดี่ยว และมั่นใจในการที่จะได้บวชถือคลองเพศสมณะ ท่านได้ช่วยบิดามารดาทำนา หาปูหาปลาตามประสาชาวโลก ท่านเล่าว่าปูปลาสมัยก่อนหาง่ายมาก ตัวก็ใหญ่โตทั้งนั้น ท่านเคยดำน้ำเพื่อหาปลา น้ำลึกมากๆหลายเมตรอยู่ ทำให้ท่านเลือดไหลออกมาจากหู (หูหนวก) ท่านมีอาการหูหนวกอยู่แรมเดื่อนกว่าจะหายเหมือนเดิม ท่านบอกว่าชีวิตฆราวาสนั้นเป็นทุกข์ ต้องทำบาป สร้างกรรมเวรอยู่โดยตลอด จนในที่สุดเมื่อท่านมีอายุครบ ๒๓ ปี ท่านจึงได้ขอบิดามารดาของท่าน เข้าบรรพชาอุปสมบท ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ซึ่งเป็นปีที่หลวงปู่มัน ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส มรณะภาพนั่นเอง โดยมีพระอุปัชฌาย์คือ พระครูอรุณสังฆกิจ (มหาเถื่อน อุชุกโร) วัดกุดเรือคำ ต.กุดเรือคำ อ. วานรนิวาส จ. สกลนคร และพระครูพิพิธธรรมสุนทร (พระคำฟอง เขมจาโร) วัดสำราญนิวาส อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และได้ฉายาทางภิกษุว่า ญาณรโต (ซึ่งแปลว่าผู้ทรงไว้ซึ้งญาณ) และในปีนั้นนั่นเอง ท่านได้เดินทางไปร่วมพิธีเผาศพหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร พร้อมทั้งพระอุปัชฌาย์ และพระกรรมวาจาจารย์ของท่านทั้งสองด้วย ท่านบอกว่างานศพหลวงปู่มั่นใหญ่โตมาก มีพระกรรมฐานมากมายเต็มไปหมด โดยสมัยก่อนวัดป่าสุทธาวาสยังคงมีสภาพเป็นป่าดงพงไพรอยู่ มีต้นไม้ใหญ่มากมายไม่เหมือนสมัยปัจจุบันที่เต็มไปด้วยหมู่บ้านเต็มไปหมด
พรรษาที่1-2 (พ.ศ.2492-2493)
ท่านอยู่กับพระอุปัชฌาย์ ที่วัดกุดเรือคำ ต.กุดเรือคำ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร
พรรษาที่3-5(พ.ศ.2494-2497)
ท่านเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆและกลับมา อยู่ที่วัดภูข้าวหลวง อ.สหัสขัน จ.กาฬสินธุ์
พรรษา ที่7-15(พ.ศ.2498-2506)
วัดบ้านนาโสก อ.นาแก ต.บ้านแก้ง จ.นครพนม ซึ่งเป็นบ้านญาติของท่านและเป็นบ้านเกิดของท่านเองต่อจากนั้นท่านได้ไปพัก อาศัยอยู่กับหลวงปู่ลี ฐิตธัมโม ตอนนั้นหลวงปู่ลี ท่านอยู่วัดศรีชมพู ต.โคกสี
อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
พรรษาที่ 20 (พ.ศ.2507-2515)
ท่านธุดงค์ไปอยู่ทางภาคเหนือบ้าง เช่น สุโขทัย แพร่ น่าน ลำปาง อุตรดิตถ์ พิจิตร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ เลื่อยมา โดยท่านได้ไปพบกับ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง หลวงปูตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอาจารย์ตื้อ จ.เชียงใหม่ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่ หลวงปู่แว่น ธนปาโล วัดถ้ำพระสบาย จ.ลำปาง หลวงปู่หลวง กตปุญโญ วัดคีรีสุบรรพต ต.พระบาท จ.ลำปาง โดย
ช่วงระยะเวลาที่ธุดงค์ในแถบภาคเหนือ ตั้งแต่จังหวัดเพชรบูรณ์นั้น ท่านมีสหธรรมมิกที่ร่วมเดินทางไป
ด้วยกัน คือ หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล วัดอนาลโย จ.พะเยา และหลังจากที่ท่านไปธุดงค์ที่เชียงใหม่
กลับมาท่านจึงได้มาอยู่ที่วัดป่า สถิตย์ธรรมวนาราม ต.ศรีชมภู อ.พรเจริญ จ.หนองคาย จนกาละสมัย
ปัจจุบันนี้ (นี้เป็นเพียงประวัติย่อๆเท่านั้น)
ครูบาอาจารย์ที่หลวง ปู่ได้ไปพำนักอาศัย และฟังธรรม
ครูบาอาจารย์เท่าที่หลวงปู่จำได้และเล่าให้ฟังมานั้น ในอดีตที่ผ่านมาแล้วทั้งหลาย ในบางคราวท่านก็ลืมไปบ้าง ซึ่งอาจจะไม่ละเอียดมากนัก เท่าที่ท่านพอจะจำได้นั้น มี ดังนี้
1. หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
2. หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอาจารตื้อ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
3. หลวงปู่สิม พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
4. หลวง ปู่แว่น ธนปาโล วัดถ้ำพระสบาย จ.เชียงใหม่
5. หลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์
5. หลวงปู่ลี ฐิตธัมโม วัดเหวลึก ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
6. เจ้า คุณแดง วัดป่าประชานิยม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์
7. หลวงปู่เอี่ยม วัดภูข้าวหลวง อ.สหัสขัน จ.กาฬสินธุ์

การ เดินธุดงค์ หลวงปู่อุดม ญาณรโต

ท่านเล่าว่าตั้งแต่โยมบิดาของท่านเสีย ชีวิตด้วยโรคชรา ตอนอายุ ได้ 73 ปี ก่อนท่านออกเดินธุดงค์ และมารดาท่านก็เสียชีวิตด้วยโรคชราเช่นกัน เมื่อตอนอายุได้ 79 ปี หลังจากที่ท่านธุดงค์กลับมาจากจ.เชียงใหม่ ท่านเล่าว่าตอนที่ท่านได้ไปพำนักอยู่ เพื่อฟังธรรมกับหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ที่วัดดอยแม่ปั๋งนั้น ท่านเกิดความประทับใจมาก ท่านเล่าว่าหลวงปู่แหวนท่านเทศแบบง่ายๆ สั้นๆ แต่มีคุณภาพมากๆ คำพูดของท่านลึกซึ้งกว้างขวางมากนัก น่าเลื่อมใสมากๆ ซึ่งในเวลานั้นหลวงปู่ลี วัดเหวลึก ท่านก็ได้ไปร่วมฟังธรรมกับหลวงปู่แหวน กับท่านด้วย ท่านอยู่ฟังธรรมกัน ประมาณ๒-๓ คืน
จากนั้นท่านได้เดินทางไปจังหวัดลำปาง และเพชรบูรณ์ โดยเดินเท้าไป บางทีฆราวาสเห็นก็อาสาพาไปส่งเป็นบ้าง ท่านใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 เดือนเศษ โดยท่านเดินทางผ่านจังหวัด สุโขทัย แพร่ น่าน ลำปาง อุตรดิถต์ พิจิตร และเพชรบูรณ์ และใช้เวลาเดินทางจากเพชรบูรณ์ไปเชียงใหม่ ใช้เวลาเดินทางประมาณอีก 2 เดือน ท่านเล่าว่าตอนเดินทางผ่าน จ.สุโขทัย ได้พบฆราวาสที่กินเจ มักใส่ขนมปัง และน้ำตาลอ้อย โดยบางครั้งเขาจะนำขนมกับข้าวสุกใส่ให้เต็มบาตรเลย ไม่มีกับข้าวคาวเลย ท่านฉันทีแรกๆก็อร่อยดี แต่หลายวันเข้ามันชักไม่อร่อย โดยในตอนนั้นท่านได้เดินเท้าธุดงค์ร่วมกับพระอาจารย์ไพบูรณ์ สุมังคโล วัดอนาลโย จ.พะเยา ซึ่งท่านทั้งสอง สนิทสนมมักคุ้นกันอยู่

การปฏิบัติธรรม หลวงปู่อุดม ญาณรโต

โดยปกติหลวงปู่อุดมท่านชอบเดินจงกรม และนั่งสมาธิภาวนาเพื่อปฏิบัติทางจิตของท่านอยู่โดยตลอด ท่านบอกว่าถ้าวันไหนไม่ได้เดินจงกรมแล้วหล่ะก็ เดือดร้อนไม่ได้เลยนะ จิตจะเศร้าหมองทันที สมัยที่ท่านอยู่ที่เชียงใหม่ ท่านปฏิบัติธรรมอยู่นั้น จิตของท่านเกิดความสว่าง มีความสุขมาก จิตตกถึงฐานของจิต เข้าสู่พื้นเดิม ท่านเปรียบเหมือนการสักผ้า ถ้าผ้ามันลาย พื้นเดิมของจิตมันก็ลาย ถ้าผ้ามันดำ จิตพื้นเดิมมันก็ดำ (สำนวนของหลวงปู่อุดม) ท่านบอกว่ามันถึงฐานของมัน มีความสุขมากไม่มีอะไรจะมีความสุขเท่า มันมีความปีติอิ่มอกอิ่มใจมาก ท่านจึงเอาตรงนี้มาเป็นอารมณ์ และค้นหาเข้าไปในจิตต่อจนถึงที่สุดของใจ ท่านเล่าว่ามันมีปัญญามากมายหลายอย่างเกิดขึ้นมา ท่านบอกว่าท่านอดนอน อดอาหารเพื่อทำความเพียรภาวนา อยู่ ๕ วัน ๕ คืน ท่านบอกว่า อดนอนนี่ทุกข์ยิ่งกว่าอดอาหารอีก แต่เพราะว่ามีปีติอยู่ ท่านจึงสามารถทำได้ ภายหลังจาก ๕ วันผ่านไป จิตของท่าน ก็เบาสบายได้กำลังใจ และกำลังกายยังแข็งแรงดีอยู่ เวลาธรรมเกิดขึ้นมา ๑๐๐ % ท่านนั่งสมาธิไปได้จนถึงแจ้งเลย(เช้าเลย) การปฏิบัติของท่านในเวลา ๖ โมงเย็น จนถึง ๕ ทุ่ม ท่านมักจะเดินจงกรม และในเวลา ๕ ทุ่มขึ้นไป ท่านจะนั่งสมาธิภาวนาไปเรื่อยจนบางทีถึงสว่างก็มี ในคราวที่ใจของท่านรวมลงจนถึงสภาวะเดิมของจิต ท่านเล่าว่ามีความสุขมากๆ ธรรมะของพระพุทธเจ้าที่เกิดขึ้นนั้น เหมือนกับอยู่ตรงหน้า สามารถยื่นมือแทบจะจับได้ต่อหน้านี้เลยทีเดียว จิตมันไม่ท้อไม่ถอย กระจ่างหมดทุกอย่าง มันหาใจ แก้ใจตัวเองได้หมดทุกอย่าง ในเวลาฟังธรรมพ่อแม่ครูบาอาจารย์ เพียงนิดหน๋อยเท่านั้นจิตท่านก็สว่างโพรงเลย ท่านบอกว่าจิตท่านเห็นธรรมที่วัดป่าอาจารย์ตื้อ จ.เชียงใหม่ ซึ่งขณะนั้นท่านพำนักอาศัยอยู่กับ หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโมนั่นเอง ท่านยังเล่าต่ออีกว่า หลวงปู่ตื้อนั้น ท่านจะเป็นพระที่เทศตรงไปตรงมามาก จนในบางครั้งดูแล้วอาจจะไม่ไพเราะ แต่ท่านก็บอกว่า ผู้มีปัญญาก็ต้องเลือกฟังให้ถูกกับจิตของตนเอง อันไหนดีก็นำมาปฏิบัติให้ถูกกับจิตของตน ในยามที่ท่านเข้าไปนวดแขน นวดขาให้กับหลวงปู่ตื้อนั้น หลวงปู่ตื้อท่านจะเทศให้หลวงปู่อุดมฟัง หลวงปู่อุดมท่านเล่าว่าจับจิตจับใจมาก เลยทีเดียว ทำให้เกิดความเลื่อมใสในองค์ของหลวงปู่ตื้อมากมายยิ่งขึ้นเลยทีเดียว องค์หลวงปู่ตื้อนั้น ท่านขุดดิน ฟันต้นไม้ ต้นกล้วยได้ ซึ่งจริงๆแล้ว สำหรับพระต้องปรับเป็นอาบัติ ส่วนองค์หลวงปู่ตื้อนั้นท่านคงอยู่เหนือสมมุติไปแล้ว เพราะในคราหนึ่งหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง ท่านห้ามหลวงปู่ตื้อไม่ให้ทำเช่นนี้ แต่หลวงปู่ตื้อกลับหันมากล่าวกับหลวงปู่แหวนว่า ไม่ต้องมาสอนหรอกน่า เราพ้นแล้ว(จิตท่านหลุดพ้นไปแล้วนั่นเอง)

 

 ‘>

ข่าวสังคม-การเมือง ล่าสุด

อัพเดทล่าสุด